ODM อีกหนึ่งธุรกิจที่ผู้ทำแบรนด์ ควรรู้จักและศึกษา

ODM

ODM หากท่าน กำลังคิดจะสร้าง หรือทำแบรนด์สินค้า เป็นของตนเอง ห้ามพลาดความนี้เด็ดขาด เพราะเราจะมาแนะนำ ระบบโรงงานแบบ โอดีเอ็ม ให้ทุกท่านได้ทำความรู้จักกัน เพื่อนำไปปรับใช้ ในการเลือกรูปแบบการผลิตของท่าน ให้ราบรื่นและง่ายขึ้น

ODM หมายถึงอะไร

ODM

ODM มีชื่อเรียกเต็ม ๆ ว่า Original Design Manufactuere [1] ผู้รับจ้างในเรื่องของการ ออกแบบผลิตภัณฑ์ ให้กับผู้ที่ต้องการ เป็นเจ้าของแบรนด์ หรือรับจ้างสร้างผลิตภัณฑ์ ให้กับบริษัทเพื่อนำจำหน่ายในชื่อของตัวเอง โดยรูปแบบนี้จะมีความคล้ายกับรูปแบบ OEM โดยความต่างจะอยู่ที่แบบ โอดีเอ็ม

สามารถพัฒนาสินค้า และนำเสนอขาย ให้กับผู้ที่มีแบรนด์อยู่แล้ว อีกหนึ่งส่วนคือผู้ว่าจ้าง สามารถร่วมออกแบบ และกระจายสินค้า เพื่อจำหน่ายเองได้ นอกจากนี้ ยังสามารถออกแบบ เฉพาะราย หรือ Exclusive จะได้สินค้าที่ไม่ซ้ำใคร และสุดท้ายถ้าอยากให้สิทธิ กับผู้จ้างหลายราย และราคาที่เบาลงสามารถ เลือกเป็นแบบ Non Exclusive ได้

ข้อดีและข้อเสียของรูปแบบ ODM

ข้อดี

  • ไม่ต้องออกแบบผลิตภัณฑ์หรือสินค้าเอง
  • หากอยากได้ความแปลกใหม่ไม่ซ้ำใคร สามารถเลือกเป็นการออกแบบ ที่เป็น Exclusive เฉพาะรายได้เลย
  • ไม่ต้องมีโรงงานเป็นของตัวเอง เหมาะกับผู้ที่ไม่มีทุนหรือพื้นที่ มากพอที่จะทำโรงงานผลิตเอง
  • มีผู้ให้คำปรึกษา และดูแลอย่างใกล้ชิด ง่ายต่อการสื่อสาร

 

ข้อเสีย

  • เนื่องจากรูปแบบนี้ มีการออกแบบสินค้า เพิ่มเข้ามาด้วย จึงมีต้นทุนและค่าใช้จ่าย ในการผลิตที่มากกว่ารูปแบบอื่น
  • มาตรฐานในการผลิต อาจจะไม่สามารถตรวจสอบ ได้อย่างละเอียด

ธุรกิจแบบ ODM เหมาะกับใคร

ธุรกิจรูปแบบนี้ จะเหมาะกับผู้มีแบรนด์ที่มั่นคง และมีพร้อมซึ่งต้นทุน เหมาะกับผู้ที่ต้องการมีความเป็นเอกลักษณ์และไม่ซ้ำใคร แต่สำหรับผู้ที่เป็นมือใหม่ ก็สามารถทำได้นะ หากไม่เกี่ยงเรื่องของต้นทุน

ซึ่งอย่างไรก็ดี ควรเลือกผู้รับจ้าง ที่มีประสิทธิภาพด้วย เพื่อสินค้าที่ได้มาตรฐาน ตัวอย่างการเลือกผู้ผลิตที่ดี ก็เช่น มีเครื่องหมาย อย. มีการทดสอบก่อนวางขาย มีทีมงานผู้เชี่ยวชาญ คอยให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด เป็นต้น

สรุป ODM

เมื่อทำความรู้จัก กันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เราหวังว่าบทความนี้ จะสามารถช่วยให้ผู้ที่อยาก จะมีสินค้าในชื่อของตัวเองได้ ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของ การเลือกรูปแบบ การปรับใช้รูปแบบ ที่ตรงกับความต้องการ

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง