DCA คืออะไร มีข้อดีหรือข้อเสียแบบไหนบ้าง อีกสิ่งที่เป็นแนวคิดในการลงทุนดีๆ ที่ไม่ค่อยแพร่หลายมากเท่าไหร่นัก บทความนี้ก็จะมาบอก และแนะนำวิธีการ พร้อมเปรียบเทียบความโดดเด่น กับความแตกต่างของการลงทุน DCA ในหุ้น และกองทุนต่างๆ
Dollar Cost Average [1] หรือ DCA คือ วิธีการการลงทุนแบบสม่ำเสมอไปในสินทรัพย์ที่เราสนใจ ด้วยทุนที่เท่าๆ กันโดยไม่สนใจมูลค่าของสินทรัพย์ในตอนซื้อ ส่วนมากก็จะตั้งเวลาลงทุนอัตโนมัติในกองทุน หรือหุ้น มีความถี่เป็นรายเดือน ทุกวันจันทร์ และทุกวันก็ได้ แต่ความถี่ที่เห็นมากที่สุดจะเป็นรายเดือน อย่างการลงทุนในกองทุนรวม 1000 ทุกเดือน
การลงทุนแบบนี้อาจรู้จักกันหมดในนักลงทุน และผู้ที่สนใจ แต่เมื่อเทียบจากคนทั้งหมดในประเทศแล้วยังเป็นที่รู้จักกันน้อย จากการดูเทรนการค้นหาคำนี้ในไทย และยอด Search Volume คำว่า “DCA คืออะไร” หรือ “การลงทุน DCA” ก็ยังมีเพียงหลักร้อยเท่านั้น ซึ่งหากเราเข้าใจก่อนในแนวคิดการลงทุนแบบนี้ก็จะเริ่มก่อนใครได้ แถมการลงทุนสม่ำเสมอนี้ ก็ยังมีข้อดีหลายอย่าง
อย่างที่บอกไปว่าการลงทุนแบบนี้มีข้อดีหลายอย่าง ทำให้มันมีความน่าสนใจมาก สำหรับนักลงทุนสายถือยาวๆ บทความนี้จะมาเผยข้อดีกับข้อจำกัดของการลงทุนแบบ DCA และเทียบกับ การลงทุนตรงข้ามที่เรียกว่า Lump Sum เพื่อให้เห็นภาพชัดมากขึ้น ว่าเราจะเป็นนักลงทุนแบบไหน
ที่มา : สไตล์การลงทุน DCA หรือ Lump Sum แบบไหนเหมาะกับเรา? [1]
ถึงการลงทุนในแบบนี้จะน่าสนใจ แต่ถ้าหากสินทรัพย์ที่เราลงไปมีการโตแบบถดถอย เราก็ไม่ได้อะไร แต่มันสามารถชะลอเงินทุนของเราได้ จึงสามารถถอนตัวได้ง่ายกว่าแบบอื่น ดังนั้นการเลือกลงทุนจึงมีความสำคัญอยู่ไม่น้อย ซึ่งควรมองหาสินทรัพย์ที่มีการเติบโตในระยะยาว และ play safe ไว้ก่อนด้วยการกระจายไปหลายๆ ตัวด้วย
ที่มา : DCA คืออะไร? DCA หุ้น หรือ DCA กองทุนดี? [2]
แนวคิดในการลงทุนแบบสม่ำเสมอที่นอกจากจะสร้างวินัยและเพิ่มเงินต้นแบบล้อไปตามกราฟแล้ว ยังเป็นการลงทุนในทุกๆ การเปลี่ยนแปลงเล็กๆ ของแต่ละเดือนด้วย ซึ่งการ ลงทุน DCA นี้ก็สามารถปรับใช้ได้กับทุกการลงทุน ส่วนมากก็จะทำกับ หุ้น และกองทุนกันมากที่สุด บทความนี้ก็ได้นำมาเปรียบเทียบ ถึงความเสี่ยง และข้อดีในแต่ละชนิด เพื่อการตัดสินใจที่ง่ายขึ้น