ไดโนเสาร์กินเนื้อ จุดเริ่มผู้ล่ายุคดึกดำบรรพ์ หรือเรียกไดโนเสาร์กลุ่มนี้ว่า เทอโรพอด (Theropods) ที่ดำรงชีวิตในยุคไทรแอสสิก เมื่อประมาณ 231 ล้านปีก่อน และมีความเชื่อกันว่า พวกมันเป็นกลุ่มไดโนเสาร์สายพันธุ์แรกๆ ที่ปรากฏขึ้นบนโลกใบนี้ และยังเป็นบรรพบุรุษของนกในยุคปัจจุบัน เรามีข้อมูลที่น่าสนใจมานำเสนอ
ไดโนเสาร์กินเนื้อ สายพันธุ์ไดโนเสาร์นักล่า ซึ่งก่อนที่คุณจะไปดูรายชื่อไดโนเสาร์นักล่าจากยุคดึกดำบรรพ์ มาทำความรู้จักคำว่า ไดโนเสาร์ เป็นสิ่งมีชีวิตที่เคยดำรงชีวิตในระบบนิเวศบนพื้นโลก อยู่ในยุคมีโซไซอิก เป็นระยะเวลาประมาณ 165 ล้านปี ก่อนที่พวกมันจะสูญพันธุ์ไปเมื่อ 65 ล้านปีที่ผ่านมา
ซึ่งคำว่า Dinosaur ถูกตั้งขึ้นโดยนักบรรพชีวินวิทยาชาวอังกฤษ เซอร์ ริชาร์ด โอเวน (Sir Richard Owen) โดยเป็นการผสมคำในภาษากรีก หมายถึงสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ หลายคนยังเข้าใจผิดว่า พวกมันอาศัยอยู่ในมหายุคโซไซอิกทั้งหมด แต่แท้จริงแล้วพวกมันคือสายพันธุ์สัตว์ชนิดหนึ่ง ที่อาศัยอยู่บนโลกเท่านั้น
ไดโนเสาร์เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ ผิวหนังปกคลุมไปด้วยเกล็ดคล้ายงู เต่า หรือจระเข้ กระเพาะอาหารของ ไดโนเสาร์กินเนื้อ สามารถย่อยอาหารได้รวดเร็ว แต่ก็ยังเป็นข้อมูลที่ไม่ชัดเจน เนื่องจากพวกมันสูญพันธุ์ไปหมด เหลือเพียงแค่ซากฟอสซิล ซึ่งนักบรรพชีวินวิทยา จะต้องสันนิษฐานข้อมูลต่างๆ อาจไม่เป็นความจริง [1]
อีกทั้งยังมีไดโนเสาร์กลุ่มเทอโรพอดขนาดเล็ก ที่วิวัฒนาการคล้ายกับนกในปัจจุบัน เช่น ไดโนนีคัส พวกมันสามารถใช้แขนขาเพื่อการเคลื่อนที่คล้ายนก มีขนที่ยาวออกมาคล้ายปีกตรงแขนและขา บางสายพันธุ์สามารถร่อนลงจากที่สูงได้
ที่มา: 10 ไดโนเสาร์กินเนื้อที่อันตรายที่สุดในประวัติศาสตร์ [2]
ไดโนเสาร์กินเนื้อ สายพันธุ์นักล่าที่ดุร้าย ป่าเถื่อน บางชนิดออกล่าเหยื่อเป็นฝูง หรือเป็นกลุ่ม และบางชนิดสามารถออกล่าเหยื่อเพียงลำพัง ด้วยพละกำลังที่ทรงพลัง และขากรรไกรที่แข็งแรง อีกทั้งยังมีฟันที่แหลมคม ทำให้พวกมันอยู่บนจุดสูงสุดของห่วงโซ่อาหาร ยังมีหลักฐานการค้นพบฟอสซิลในประเทศไทย มีข้อมูลดังต่อไปนี้
นอกจากฟอสซิล ภูเวียงโกซอรัส เจ้าคอยาวกินพืชที่ถูกขุดพบในประเทศไทย ในจังหวัดขอนแก่น เป็นข่าวสารการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ และข่าวสารล่าสุด การมีการขุดพบ ไดโนเสาร์กินเนื้อ วายุแรพเตอร์ ที่อุทยานแห่งชาติภูเก้า จังหวัดหนองบัวลำภู และเป็นการขุดพบฟอสซิลไดโนเสาร์ตัวที่ 11 ของประเทศไทย
ชิ้นส่วนฟอสซิลที่ถูกค้นพบ ประกอบไปด้วยกระดูกหน้าแข้ง กระดูกข้อเท้า กระดูกคอราคอยด์ กระดูกซี่โครง นิ้ว และกระดูกหัวหน่าว จากการศึกษารูปร่างทางกายภาพของพวกมัน ไม่มีความคล้ายไดโนเสาร์นักล่าชนิดอื่นๆ ที่ปรากฏขึ้นบนโลก และทำให้พวกมันถูกจัดอยู่ในกลุ่มเบซอลซีลูโรซอร์ [3]
โดยรวมแล้ว พวกมันมีจุดเริ่มต้นในทวีปแพนเจีย โดยเริ่มต้นจากกลุ่มขนาดเล็ก และได้วิวัฒนาการในยุคจูแรสสิก ทำให้เกิดสายพันธุ์ไดโนเสาร์นักล่าขนาดใหญ่ นอกจากนี้ ไดโนเสาร์นักล่าบางกลุ่ม ยังเป็นบรรพบุรุษการวิวัฒนาการของสัตว์ปี หรือนกในปัจจุบัน