พาไปรู้จัก แบรคิโอซอรัส ไดโนเสาร์คอยาวกินพืชมีโหนกยื่น

แบรคิโอซอรัส

แบรคิโอซอรัส หนึ่งในสายพันธุ์ไดโนเสาร์กินพืช ที่มีลักษณะคอยาว มีขนาดลำตัวเทียบเท่ากับช้างแอฟริกาสิบห้าเชือก พวกมันอาศัยอยู่ในช่วงยุคจูแรสสิก ประมาณ 200-130 ล้านปีก่อน เราจะพาทุกท่านไปดูรายละเอียดข้อมูลการค้นพบ ลักษณะทางกายภาพ และพฤติกรรมการดำรงชีวิตของพวกมัน และการค้นพบซากฟอสซิล

ข้อมูล แบรคิโอซอรัส ไดโนเสาร์สะกุลซอโรพอด | ลักษณะภายนอก

แบรคิโอซอรัส (Brachiosaurus) หนึ่งในสายพันธุ์ซอโรพอตขนาดใหญ่ ซึ่งมีขนาดลำตัว 30 เมตร และมีความสูงจากพื้นดินประมาณ 13-15 เมตร น้ำหนัก 78 ตัน หรือเทียบเท่ากับน้ำหนักของช้างแอฟริกา 15 เชือก พวกมันอาศัยอยู่ในยุคจูแรสซิก 200-130 ล้านปีก่อน โดยมีการขุดพบครั้งแรกที่ประเทศแอฟริกา และแอฟริกาเหนือ

พวกมันเคยเป็นซอโรพอดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ก่อนที่จะมีการขุดพบซุปเปอร์ซอรัส อย่างไดโนเสาร์อาร์เจนติโนซอรัส และซูเปอร์ซอรัส พวกมันมีลักษณะเด่นที่แตกต่างจากชนิดอื่นๆ ตรงที่บริเวณจมูกบนกระหม่อม พวกมันมีโหนกยื่นออกมาจนเห็นได้ชัด เด่นกว่าไดโนเสาร์คามาราซอรัส หางสั้น มีขาหน้าที่ยาวกว่าขาหลัง

และจุดเด่นที่น่าสนใจ จะเป็นลายจุดบนลำตัว ที่มีลวดลายคล้ายกับยีราฟ และส่วนคอของมันจะชี้ตั้งชันสูงกว่า ทำให้สามารถกินใบไม้บนต้นไม้ที่อยู่สูงได้ดีกว่า และลำคอที่ยาวนี้ ทำให้พวกมันสามารถมองเห็นไดโนเสาร์นักล่า หรือสายพันธุ์ที่กินเนื้อได้ไกลกว่าสายพันธุ์อื่นๆ และเป็นเหตุผลที่พวกมัน มักจะรอดจากการถูกล่า [1]

ประวัติการขุดพบซากฟอสซิลของเจ้าคอยาวเดินดิน

เป็นข้อมูลมาจากการขุดพบโครงกระดูกหลังกะโหลกศีรษะบางส่วน ในปี 1900 เขตหุบเขาแม่น้ำโคโลราโด ซึ่งใกล้กับเมืองฟรูตา รัฐโคโรลาโด เป็นตัวอย่างโฮโลไทป์ ที่มาจากชั้นหินในหุบเขา Morrison Formation ซึ่งมาอยุประมาณ 154-153 ล้านปี ในยุคคิมเมอริเจียนตอนปลาย โดยเป็นการค้นพบของนักบรรพชีวินวิทยาชาวอเมริกา

ซึ่งโครงกระดูกแบบโฮโลไทป์ จะประกอบไปด้วยกระดูกต้นแขนด้านขวา กระดูกต้นขาด้านขวา กระดูกเชิงกรานด้านขวา กระดูกคอราคอยด์ด้านขวา กระดูกสันหลัง และกระดูกส่วนอกจำนวน 7 ชิ้น และทีมงานนักสำรวจได้พิมพ์รายงานสั้นๆ เกี่ยวกับการค้นพบสิ่งใหม่นี้ขึ้นในปี 1901 มันมีสัดส่วนเหมือนกับยีราฟ [2]

เมื่อประมาณ 150 ล้านปีก่อน เป็นช่วงยุคที่ไดโนเสาร์คอยาวเหยียบแผ่นดิน ซึ่งในปัจจุบันคือบริเวณรัฐไวโอมิง ซึ่งตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2541 นักบรรพชีวินวิทยาจากมหาลัยแคนซัส ได้ขุดพบกระดูกเท้าขนาด 1 เมตร ของไดโนเสาร์ Brachiosaurus และพบว่ากระดูกเท้ามีขนาดใหญ่เป็นพิเศษ [3]

รีวิว ลักษณะภายนอกของไดโนเสาร์กินพืช แบรคิโอซอรัส

  • ขนาดลำตัว : พวกมันเป็นไดโนเสาร์กินพืชที่มีขนาดใหญ่ คล้ายกับ ซอโรโพไซดอน คาดว่าเมื่อโตเต็มวัย มีความยาวได้ประมาณ 25 เมตร และมีน้ำหนักเฉลี่ย 30-50 ตัน จึงทำให้มันเป็นสายพันธุ์ไดโนเสาร์ที่ใหญ่ที่สุดในช่วงเวลานั้น
  • หัวและคอ : พวกมันมีขนาดของหัวที่เล็ก เมื่อเทียบกับขนาดลำตัว มีฟันที่เหมาะสำหรับการกินพืช ลำคอมีขนาดที่ยาวประมาณ 9-10 เมตร ซึ่งช่วยให้มันสามารถกินใบไม้ที่อยู่บนยอดไม้สูงได้ โดยที่ไม่ต้องยกตัว จมูกของมันค่อนข้างสูง อาจจะช่วยในการหายใจ ในขณะที่เงยหน้าขึ้นสูง
  • ลำตัวและหลัง : ลำตัวของมันมีลักษณะใหญ่และกว้าง เหมาะสำหรับการรองรับน้ำหนักตัวที่มาก และกระดูกสันหลังของมัน มีโครงสร้างที่แข็งแรง ช่วยรองรับในขณะที่พวกมันเคลื่อนไหว กระดูกสันหลังมีลักษณะยาวและใหญ่ โค้งเล็กน้อย
  • ขา : ถือว่าเป็นจุดเด่นของไดโนเสาร์สายพันธุ์นี้ ขาหน้าจะใหญ่และยาวกว่าขาหลัง ขาที่แข็งแรง คล้ายกับเสาของอาคาร เพื่อรองรับน้ำหนักตัวมหาศาล
  • หาง : หางของไดโนเสาร์ตัวนี้ ไม่มีขนาดที่ยาวมากนัก มีลักษณะแคบเรียวยาวไปจนถึงปลายหาง ซึ่งจะช่วยในการทรงตัว และอาจจะช่วยป้องกันศัตรู ด้วยการหวดไปมา หากมันตกเป็นเป้าถูกล่า
  • ผิวหนัง : อาจจะเป็นข้อมูลที่ไม่ชัดเจน ผิวหนังจะมีลักษณะเป็นเกล็ดหยาบ คล้ายกับไดโนเสาร์ชนิดอื่นๆ หรือผิวหนังอาจมีความยืดหยุ่นสูง เพื่อรองรับการเคลื่อนไหว และปกป้องจากการบาดเจ็บ
  • การเคลื่อนไหว : ถึงแม้ว่ามันจะมีขนาดลำตัวที่ใหญ่โต แต่การที่มันมีขาหน้ายาว จะช่วยในการเคลื่อนไหวได้ดีในระดับหนึ่ง

แบรคิโอซอรัส พฤติกรรมของเจ้าคอยาว และวิถีการดำรงชีวิต

แบรคิโอซอรัส

สำหรับข้อมูลในส่วนนี้ ทางเราจาผู้อ่านทุกท่าน ไปส่องดูพฤติกรรม และวิถีการดำรงชีวิตของ แบรคิโอซอรัส ซึ่งเป็นหนึ่งในตระกูลซอโรพอด และยังเป็นไดโนเสาร์ที่มีชื่อเสียง จากการค้นพบครั้งแรกในปี 1900 ในโคโลราโด และได้รับการตั้งชื่อในปี 1903 และมีความเชื่อว่า พวกมันเคยอาศัยในสหรัฐอเมริกา แอฟริกา และยุโรป

ข้อมูล พฤติกรรมของเจ้าคอยาว Brachiosaurus

มีการสังเกตได้ว่า พวกมันจะมีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง และออกหาอาหารเพียงตัวเดียวเป็นบางครั้ง และในบางกรณีที่พวกมันจะแยกออกไปหาอาหารเพียงลำพัง และกลับไปที่ฝูงของมันอีกครั้ง เช่น ฉากในภาพยนตร์เรื่อง Jurassic Park จะพบว่าตัวเมียจะกินพืชเพียงตัวเดียว ในขณะที่สัตว์อื่นๆ จะอยู่รวมกันเป็นฝูงใกล้แหล่งน้ำ

หากตัวลูกถูกแยกออกจากแม่ ตัวลูกจะทำการส่งเสียงร้องเพื่อดึงดูดความสนใจ และกลับไปรวมกับฝูงของมันอีกครั้ง ซึ่งพวกมันมีความพยายามเป็นอย่างมาก เพื่อกลับไปหาฝูงจนสำเร็จ และยังไม่มีหลักฐานการชี้ชัด ว่าพวกมันอาศัยอยู่เพียงลำพังในระยะเวลาอันสั้นจริงหรือไม่ เพราะอาจเสี่ยงต่อการถูกกล่า จากไดโนเสาร์กินเนื้อ [4]

รีวิว วิถีการดำรงชีวิตของ Brachiosaurus

  • การกินอาหาร : ส่วนใหญ่พวกมันจะกินพืช โดยจะใช้ขาหน้าที่ยาว ทำให้มันสามารถเอื้อมไปกินใบไม้ที่อยู่สูง เช่น ใบไม้และยอดต้นไม้ในป่าทึบ
  • การเคลื่อนไหว : พวกมันจะเคลื่อนไหวเพื่อหาสถานที่ที่มีอาหาร โดยจะเป็นการเดินด้วยเท้าที่มั่นคง
  • การใช้ชีวิตในฝูง : คาดเดาว่า พวกมันอาจจะใช้ชีวิตโดยการอยู่รวมเป็นฝูง เพื่อปกป้องจากนักล่า ด้วยขนาดขาที่ใหญ่และยาว ทำให้พวกมันสามารถยืดคอมองเห็นนักล่าที่อยู่ห่างไกลออกไป
  • การป้องกันตัว : นอกจากจะมองเห็นนักล่าที่อยู่ห่างไกลออกไป พวกมันอาจใช้ความสูงในการหลบซ่อน หรือพึ่งพาการอยู่รวมกันเป็นฝูง เพื่อลดโอกาสในการถูกโจมตี
  • การเติบโต : ในช่วงแรกเกิด พวกมันจะมีวิวัฒนาการในการเติบโตที่ค่อนข้างเร็ว เนื่องจากมันมีขนาดที่ใหญ่ จึงทำให้ต้องการปริมาณอาหารมากขึ้น เพื่อรองรับการเจริญเติบโต
  • การสืบพันธุ์ : พวกมันจะสืบพันธุ์คล้ายกับไดโนเสาร์กินพืชชนิดอื่นๆ ซึ่งจะวางไข่ในที่ที่ปลอดภัย หรืออาจจะฝังไข่ลงในหลุมดินที่ขุดขึ้นมา

สรุป แบรคิโอซอรัส

โดยรวม พวกมันถือว่าเป็นไดโนเสาร์กินพืชที่มีขนาดใหญ่ มักอาศัยอยู่ในสถานที่ป่าทึบ พวกมันใช้ประโยชน์จากลำคอที่ยาว เพื่อช่วยให้สามารถเอื้อมถึงใบไม้ที่อยู่สูงขึ้นไปได้ วงจรชีวิตของพวกมัน จะเน้นไปที่การออกหาอาหาร และการหลบหนีจากไดโนเสาร์กินเนื้อ และอาจจะดำรงชีวิตอยู่รวมกันเป็นฝูง

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง