เหรียญ ไลท์คอยน์ เงินแห่งโลกคริปโตที่ทำงานแบบบิตคอยน์

เหรียญ ไลท์คอยน์

เหรียญ ไลท์คอยน์ (Litecoin) อีกหนึ่งเหรียญในประเภทของ เหรียญ กลุ่มรักษามูลค่า ที่เป็นเหรียญที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากมาจากเหรียญอันดับ 1 อย่าง บิตคอยน์ หรือมีการถอดแบบมาจาก บิตคอยน์เป็นส่วนใหญ่เลย ตั้งแต่การทำงาน ระบบการตรวจสอบธุรกรรม และการ Halving ด้วย บทความนี้จะเป็นการนำความโดดเด่น และน่าสนใจอื่นมานำเสนอ

ประวัติ เหรียญ ไลท์คอยน์ และลักษณะการทำงาน

เหรียญนี้เป็นสกุลเงินดิจิทัลในแบบ peer-to-peer แบบเหรียญทั่วไปที่สร้างขึ้นหลังบิตคอยน์ได้ไม่นาน หรือในปี 2011 จาก Charlie Lee โดยใช้ซอร์สโค้ดพื้นฐาน และการทำงานแบบเหรียญต้นตำรับคริปโต โดยออกตัวว่าเป็นคริปโตที่ออกมาเพื่อเป็น Bitcoin ในเวอร์ชันที่เบากว่า ไม่ใช่ฐานะคู่แข่ง จากการออกแบบที่สามารถอำนวยความสะดวกสุด อย่างการทำธุรกรรมที่รวดเร็ว เหมาะการใช้งานรายวัน

โดยในส่วนของ Max supply หรืออุปทานของเหรียญนี้ก็ถูกกำหนดสูงสุดไว้ที่ 84 ล้านเหรียญ พร้อมระบบในการลดจำนวนการผลิตลงแบบบิตคอยน์ หรือการฮาร์ฟวิ่งด้วยเพื่อรักษามูลค่าให้เพิ่มขึ้นได้หากมีความต้องการที่สูงพอ ซึ่งก็เดินตามพี่ใหญ่เกือบทุกฝีก้าว หากจะเปรียบบิตคอยเป็น ทองคำแห่งคริปโต เหรียญไลท์คอยน์นี้ก็จะเปรียบเป็น เงินของวงการคริปโตนั่นเอง [1]

เทียบความแตกต่างระหว่าง Litecoin และ Bitcoin

อย่างที่ระบุไปก่อนหน้านี้ว่าเหรียญนี้มีการใช้ ซอร์สโค้ดพื้นฐาน และหลักการทำงานที่ดำเนินการคล้ายเหรียญ BTC เลย แต่ก็ยังมีข้อแตกต่างอยู่ไม่น้อย อย่างการพัฒนาความเร็วให้ใช้งานสะดวก และยังมีการทำงานในรายละเอียดเชิงลึก ที่มันทำงานง่ายกว่าบิตคอยน์สมชื่อไลท์คอยน์นั่นเอง ซึ่งความแตกต่าง หรือเอกลักษณ์ของเหรียญเบาก็มีดังนี้

  • ไลท์คอยน์มาพร้อมกับการปรับขนาดที่สามารถทำได้ดีกว่าจากการตรวจสอบธุรกรรมที่ง่าย ในทุกๆ 2.5 นาทีเท่านั้น  จึงทำให้การประมวลผลธุรกรรมมีความรวดเร็วมาก ในขณะที่อัตราการประมวลผลของบิตคอยน์อยู่ที่ 10 นาที 
  • เหรียญนี้ใช้อัลกอริทึมที่ต่างจากเหรียญต้นแบบไปเล็กน้อย ซึ่งเรียกว่า Scrypt โดยปรับจากอัลกอริธึม SHA-256 ที่ต้องใช้ฮาร์ดแวร์ที่มีการประมวลผลสูงอย่างการหน้าจอ มาเป็นการใช้แรมที่ง่ายกว่า
  • อุปทานของเหรียญนี้ถูกจำกัดไว้ราว 84 ล้านเหรียญ ซึ่งมากกว่าบิตคอยน์ถึง 4 เท่า เพื่อให้การตรวจสอบธุรกรรมทุกๆ 2.5 นาที มีวัฏจักรในการลดจำนวนการผลิตได้ทุกๆ 4 ปีได้แบบรุ่นพี่อย่างบิตคอยน์

ที่มา: Litecoin คือ รู้จักและเข้าใจก่อนเทรดเหรียญ LTC? [2]

การขุด Litecoin ที่ง่าย ด้วยระบบฉันทามติ Proof of Work

สำหรับรายละเอียดของการขุดไลท์คอยน์ ที่บอกว่าไลท์กว่าบิตคอยน์ไปมากนักก็คือการใช้อัลกอริทึมที่ต่างออกไปเล็กน้อย แต่ให้ผลลัพธ์ที่ง่ายแล้วเร็วกว่ามาก โดยในเรื่องของการทำฉันทามติเหรียญนี้ก็ใช้ Proof of Work แบบเดียวกับ BTC ที่จะเป็นการให้นักขุดเข้ามาแก้สมการอันซับซ้อนด้วยอุปกรณ์ประมวลผล หากใครที่แก้สมการได้และสร้างบล็อกเป็นคนแรกก็จะได้รางวัลเป็นเหรียญนั้นๆ ไป

  • ซึ่งเหรียญไลท์นี้มีเวลาในการสร้างบล็อกที่น้อยกว่า เพียง 2.5 นาทีเท่านั้น การสร้างบล็อกในแต่ละครั้งและการตรวจสอบธุรกรรมหลังสร้างเสร็จจะทำได้เร็ว การโอนชำระสินค้า หรือธุรกิจระหว่างประเทศจึงที่ได้เร็วกว่าถึง 4 เท่า เหมาะกับการเป็นเหรียญที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
  • ด้วยการทำงานโดยอัลกอริทึม Scrypt ทำให้การขุดง่าย ไม่ว่าใครก็เพิ่มแรมเข้าไปขุดและรับรางวัลได้ ซึ่งมีต้นทุนที่ถูกกว่าการซื้อการ์ดจอมาขุดแบบบิตคอยน์มาก และทำให้การขุดไปกระจุกอยู่ที่คนกลุ่มมีทุนทรัพย์ซึ่งดูๆ แล้วก็ไม่กระจายอำนาจอย่างแท้จริง แบบ Scrypt ที่ไม่ว่าใครก็ขุดได้สบายๆ
  • โดยในการขุด จะเป็นบริการเก็บบันทึกธุรกรรมเหรียญนี้ไว้ในบล็อกเชนเพียงอันเดียว เพราะแทนที่จะสร้างใหม่ได้เรื่อยๆ นักขุดจะต้องหารหัสจากการคำนวณจนกว่าจะพบรหัสที่ใช้เข้ารหัสของบล็อกได้

ราคา ไลท์คอยน์ และรายละเอียดเกี่ยวกับเหรียญนี้

สำหรับราคาเหรียญดังกล่าว ก็มีราคาเบากว่าสมชื่อ แต่ก็เป็นเงินไม่น้อยในการซื้อมาเก็บไว้ โดยก็มีราคาที่เพิ่มขึ้นได้เรื่อยๆ อย่างใจเย็น ซึ่งราคา ณ วันที่เขียนบทความนี้ หรือวันที่ 7 กรกฎาคม 2024 ราคาก็อยู่ที่ประมาณ 65.50 ดอลลาร์หรือราว 2,388.26 บาทต่อ 1 เหรียญ พร้อมยังมีรายละเอียดเกี่ยวกับเหรียญดังนี้

  • อันดับของเหรียญด้านมูลค่าตลาด: อันดับ 22 ของคริปโตทั้งหมด
  • มูลค่าตามราคาตลาด: 4.89 พันล้านดอลลาร์
  • ปริมาณการซื้อขายต่อวัน: 253.45 ล้านดอลลาร์
  • อุปทานหมุนเวียนในระบบ: 74.72 ล้าน LTC
  • Max Supply: 84 ล้าน LTC

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ coinmarketcap

การ Halving อีกหนึ่งคุณสมบัติที่ถอดแบบมาจาก Bitcoin

Litecoin Halving อีกหนึ่งคุณสมบัติอันโดดเด่นในการฝั่งเงื่อนไขลงไปในโค้ด ที่จะลดรางวัลการขุดทุกๆ 4 ปีที่ ซึ่งเป็นการถอดแบบมาจาก Bitcoin ได้เป๊ะๆ โดยการทำงานคือ ทุกๆ การขุดครบ 840,000 บล็อก และทุก 1 บล็อกก็ใช้เวลาประมาณ 2.5 นาที ซึ่งก็ใช้เวลาประมาณ 4 ปีเท่าพี่ใหญ่เลย โดยตั้งแต่ปี 2011 มาถึงตอนนี้ก็มีการเกิดขึ้นแล้ว 3 ซึ่งก็ลดทีละครึ่งๆ อย่าง 50 เหลือ 25 และ 25 เหลือ 12.5 เหรียญ

ซึ่งเป็นการรักษาสมดุลระหว่างจำนวนเหรียญ และมูลค่าของมัน จากความต้องการที่ยังมีเท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้น แต่มีอุปทานอย่างจำกัด แถมมีจำนวนการผลิตที่ลดลงเรื่อยๆ ราคาของสิ่งนั้นก็จะปรับตัวสูงขึ้นได้แบบบิตคอยน์เลย ซึ่งด้วยความเป็นเหรียญที่ไม่ได้มีความนิยมสูงเท่าพี่ใหญ่มูลค่าของเหรียญนี้จึงค่อยๆ เพิ่มสูงขึ้นแต่ไม่ได้เร็วเท่าบิตคอยน์ [3]

4 ความเสี่ยง ในการเทรดเหรียญ Litecoin

หัวข้อนี้ก็เป็นการรวมความเสี่ยงในการใช้งานเหรียญนี้ ทั้งเรื่องมูลค่า และการควบคุมเหรียญนี้ โดยในข้อดี ก็มีความเสี่ยงอยู่ด้วย จากการเป็นคริปโตที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งตัวกลางอย่างธนาคาร เป็นการแลกเปลี่ยนระหว่าง 2 บุคคลจึงไม่มีการรองรับจากตัวกลาง หรือเอกสารทางกฎหมายต่างๆ ซึ่งก็มีความเสี่ยงอยู่ 4 ข้อดังนี้

  1. เป็นคริปโตที่ยังไม่มีระบบในการประเมินมูลค่าของเหรียญดิจิตอล หรือการวัดผลที่มีความแน่นอน ในการใช้เหรียญนี้มันจึงทำให้มีความเสี่ยงได้จากหลายปัจจัย
  2. ในนโยบายการเปลี่ยนแปลงการควบคุมเงิน ของประเทศต่างๆ นั้นสามารถลดความต้องการสกุลเงินได้ ยกตัวอย่างเช่นประเทศจีน ที่มีกฎหมายป้องกันการไหลออกของเงิน ดังนั้น เงินหยวนของจีนจึงไม่สามารถถูกแปรเปลี่ยนไปเป็นเหรียญดิจิตอลนี้ได้ แถมยังควบคุมไม่ได้ 
  3. สกุลเงินดิจิตอลที่ไม่ได้มีการควบคุม หรือมีการกระจายอำนาจสูง ซึ่งอาจเป็นข้อดีในการแลกเปลี่ยนที่ถูกและรวดเร็ว แต่ หลายคนก็มองว่า การใช้งานเหรียญนี้ก็มีความเสี่ยงสูง
  4. เหรียญนี้เป็นดั่งสกุลเงินที่คล้ายกับสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับความผันผวนของตลาด อย่างระบบของอุปสงค์ และอุปทาน ซึ่งมีราคาที่ค่อนข้างผันผวนสูง จากการเป็นคริปโตด้วย

ที่มา: Litecoin คือ รู้จักและเข้าใจก่อนเทรดเหรียญ LTC? [2]

สรุป เหรียญ ไลท์คอยน์ หากบิตคอยน์คือทอง เหรียญนี้ก็คือเงิน

เหรียญ ไลท์คอยน์

เหรียญในกลุ่มรักษามูลค่า ที่เดินตามเหรียญบิตคอยเกือบทั้งหมด ทั้งการทำงานหลักๆ การจำกัดปริมาณ และการขุดที่เป็นระบบเดียวกัน แต่จะมีความแตกต่างเล็กน้อย อย่างการเป็นเหรียญที่มีการพัฒนาเรื่องความเร็วของการทำธุรกรรม และยังสามารถขุดเหรียญนี้ได้ง่ายๆ กับเหรียญที่มีมูลค่าตลาดเป็นอันดับ 22 ของโลก

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง