เหรียญ ไฟล์คอยน์ โทเคนระบบจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์

เหรียญ ไฟล์คอยน์

เหรียญ ไฟล์คอยน์ (Filecoin) อีกหนึ่งโทเคนใน เหรียญกลุ่ม DeFi โดยมีคุณสมบัติหลักๆ ตามชื่อเลย ก็คือการเป็นไฟล์เก็บข้อมูลที่สามารถจุได้อย่างไม่มีจำกัด แถมข้อมูลยังมีการบริการแบบบล็อกเชนให้มีความปลอดภัย เข้าถึงได้แบบสาธารณะแต่ไม่ระบุตัวตน ไม่มีองค์กรใดมาควบคุมด้วย ให้บุคคลและองค์กรสามารถเช่าพื้นที่เก็บข้อมูลที่ไม่ได้ใช้เพื่อแลกกับสกุลเงินดิจิทัล และใช้งานด้านอื่นๆ

ประวัติ Filecoin เครือข่ายที่จัดเก็บข้อมูลได้ไม่จำกัด

ความเป็นมาของบล็อกเชนนี้ ก่อตั้งขึ้นจากเสาหลัก 1 เดียวอย่าง Juan Benet  วิศวกรคอมพิวเตอร์ชาวอเมริกันที่ได้เป็นผู้สร้างแพลตฟอร์มนี้ขึ้นมาในปี 2014 โดยมีระบบการทำงาน ที่เป็นบล็อกเชนคล้ายกับ Bitcoin แต่ก็จะมีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดมาก คือในเรื่องของ Node บนเครือข่ายนี้ ที่สามารถจัดเก็บข้อมูลได้อย่างไม่จำกัด ซึ่งภายหลังก็ทำให้เหรียญ File ได้รับความสนใจ และมีการพัฒนาโดย Protocol Labs

ซึ่งก่อร่างสร้างขึ้นมาเป็นบริษัทเต็มตัวเมื่อราวปี 2017 โดยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ของการเก็บข้อมูลแบบกระจายอำนาจที่สามารถใช้งานได้โดยทั้งบล็อกเชน และนักพัฒนาแบบดั้งเดิม รวมไปถึงธุรกิจอย่าง Amazon Web Services, Microsoft Azure และ Nextcloud ของ Linux ด้วย กับบริษัทยักษ์ใหญ่อีกมากมาย เพื่อสร้างตลาดพันธมิตรศักยภาพสูง ในเรื่องการจัดเก็บข้อมูล [1]

3 Step การทำงานในระบบของ เหรียญ ไฟล์คอยน์

ไฟล์คอยน์ เป็นโปรเจกต์ที่ทำงานบนโปรโตคอลอื่น ซึ่งทำหน้าที่ในการจัดการกับไฟล์และข้อมูลต่างๆ ในแบบกระจายอำนาจ ไม่มีองค์กรหรือใครมาควบคุม หรือที่เรียกว่า Interplanetary File System ให้ข้อมูลที่ถูกจัดเก็บเรียกขึ้นมาดูได้ตลอด แต่มีความปลอดภัยสูง แถมไม่จำกัดพื้นที่การจัดเก็บข้อมูลราวกับเอาไปปล่อยเคว้งในอวกาศ เครือข่ายนี้ยังสามารถป้องกันข้อมูลต่างๆไม่ให้โดน Hack ได้ง่ายตามระบบของบล็อกเชน

  1. The InterPlanetary File System เป็นโปรโตคอลที่ได้รับการออกแบบโดยผู้สร้างนั่นเอง ที่ส่งเสริมระบบแบบเพียร์ทูเพียร์เพื่อทำให้เว็บเร็วขึ้น ปลอดภัยกว่าแบบเดิม และเปิดกว้างยิ่งขึ้นจากการทำกิจกรรมเพียงสองฝ่าย ซึ่งเป็นการอนุญาตให้มีการจัดเก็บและการเรียกค้นไฟล์จากการเข้ารหัสลับโดยเฉพาะ แทนที่จะเป็นเส้นทางตรงๆ หรือระบุที่อยู่ของไฟล์แบบเดิม
  2. Proof of Replication อีกขั้นตอนที่นำมาใช้เพื่อรับรองความคงทนของข้อมูลในระบบจัดเก็บข้อมูลเครือข่ายนี้ เป็นโปรโตคอลที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อตรวจสอบการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อนในหลายๆ โหนด และยังทำหน้าที่ดึงข้อมูลมาแทนที่ได้อย่างง่ายดายหากมีโหนดที่ล้มเหลว สำหรับการพิสูจน์ความถูกต้องแบบ PoR นั้นจะมีความแตกต่างจากจากแบบ PoS มาก เพราะระบบนี้ให้ความสำคัญในเรื่องของการรับประกันความคงทนของข้อมูลมากกว่า
  3. Proof-of-Space-Time Protocol โปรโตคอลอีกหนึ่งชั้นที่ใช้ทรัพยากรการคำนวณ โดยเฉพาะพื้นที่ดิสก์ ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของโปรโตคอลการพิสูจน์เกี่ยวกับการจัดเก็บ ของผู้ให้บริการพื้นที่จัดเก็บข้อมูล ให้สามารถพิสูจน์ได้ว่าพวกเขาจัดเก็บข้อมูลจำนวนหนึ่งไว้ในช่วงระยะเวลานั้นๆ ได้ 

ที่มา: Filecoin คืออะไร ยังน่าลงทุนหรือไม่ [2]

รู้จักจุดแข็ง และจุดอ่อนของเครือข่าย เหรียญ ไฟล์คอยน์

Filecoin มีความสำคัญต่อการใช้งานในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก แม้ในปัจจุบันนี้อาจจะมองว่าเป็นเรื่องที่เข้าถึงได้ยาก เข้าถึงได้เฉพาะกลุ่ม แต่เชื่อว่าหลายๆ องค์กร ในอนาคตก็จะต้องเลือกใช้บริการนี้จากความต้องการของข้อมูล ยิ่งต้องการมากก็ต้องการที่เก็บมากไปด้วย และแพลตฟอร์มนี้ก็มุ่งเน้นไปยังการจัดข้อมูลแบบดิจิทัลที่มีความปลอดภัยสูง แถมประหยัดเวลามากๆ ซึ่งก็มีข้อดีข้อเสียอยู่ด้วยแน่นอน

ข้อดี

  • เป็นเครือข่ายที่มีเป้าหมายที่แน่ชัดในการพัฒนาระบบแพลตฟอร์ม ที่มีการเติบโตแบบก้าวกระโดด แถมยังเป็นหนึ่งเดียวในเฉพาะตัว ที่ยังโชว์ศักยภาพในการทำโปรเจกต์แล้วประสบความสำเร็จได้เป็นอย่างดี
  • ในแล็บ มีทีมนักพัฒนามีความน่าเชื่อถือมากมาย และยังมีความเชี่ยวชาญในเรื่องเฉพาะทางด้วย
  • เหรียญดังกล่าวถือว่าเป็น ALTCOIN  มันจึงมีความสามารถในการสร้างกำไรได้เป็นระยะๆ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสภาวะตลาด ณ ช่วงนั้นๆ 
  • เป็นโทเคนที่มีการใช้งานในสภาวะแวดล้อมของระบบต่างๆ ได้คุ้มค่าที่สุดเหรียญหนึ่ง
  • แม้จะเป็นเครือข่ายที่มีคู่แข่งเยอะ ทางทีมนักพัฒนาจึงมีการพัฒนาโปรเจกต์น้ำดีออกมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นอีกปัจจัยที่ทำให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นในเหรียญนี้ไม่น้อย
  • ในส่วนของการวิเคราะห์ นักวิชาการส่วนมากก็มีการคาดว่าในอนาคตเหรียญนี้จะมีแนวโน้มที่จะเติบโตได้แบบก้าวกระโดดมากกว่าตอนนี้เป็น 4 เท่า

ข้อเสีย 

  • การมีคู่แข่งขันสูง ในเครือข่ายนี้จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัย ที่ทำให้เหรียญเติบโตได้ช้ากว่าที่ควรที่จะเป็น
  • การมีปริมาณเหรียญที่ไม่มีการจำกัด ทำให้ในอนาคตราคาของเหรียญก็อาจจะไม่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องได้ จากปริมาณเหรียญในระบบที่เฟ้อมากเกิน ทั้งยังมองว่ามูลค่าพื้นฐานของเหรียญนี้ ยังมีราคาที่ต่ำเกินไป

ที่มา: Filecoin คืออะไร ยังน่าลงทุนหรือไม่ [2]

ราคา FIL เหรียญอันดับ 34 ที่ผลิตมาเพียงพันล้านเหรียญเท่านั้น 

อย่างที่บอกไปว่าในส่วนของราคาต่อเหรียญของโทเคนนี้ยังมีราคาที่ต่ำอยู่  และไม่ได้โดดเด่น ซึ่งก็มีราคาเพียง 3.69 ดอลลาร์ หรือราวๆ 129.77 บาทต่อเหรียญ ราคา ณ วันที่ 13 สิงหาคม 2024 จากเว็บ Coinmarketcap แต่ในส่วนของความนิยม หรือมูลค่าตลาดในปัจจุบันก็ทะลุ 2 พันล้านดอลลาร์ ทำให้เหรียญนี้อยู่ในอันดับที่ 34 ของโลกเลย

  • มูลค่าตามตลาดรวม: 2.13 พันล้านดอลลาร์
  • มูลค่าของตลาด 24 ชั่วโมง: 112.7 ล้านดอลลาร์
  • Supply หรือจำนวนเหรียญที่หมุนเวียนในระบบ: 577.33 ล้านโทเคน
  • Max Supply: ผลิตมาแล้วที่ 1.96 พันล้านโทเคน และจะมีการสร้างใหม่ขึ้นได้เรื่อยๆ 

เข้าไปดูรายละเอียดเกี่ยวกับราคาเพิ่มเติมที่ coinmarketcap

ที่มาที่ไปรายได้ และการเรียกใช้งานของโทเคน ไฟล์คอยน์

ในส่วนของรายได้จากการใช้งานนั้น ไฟล์คอยน์มีโครงสร้างที่คล้ายกับ EIP-1559 ของ Ethereum ซึ่งในการใช้งานที่สามารถสร้างกำไรให้กับผู้ใช้ที่ฝากเหรียญ และเชนหลัก ก็ประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักคือ Base fee, Network fee และ Penalty feeโดยมีรายละเอียดดังนี้

ที่มาที่ไปของรายได้

  • Base fees: ก็คือรายการจากการจ่ายค่าแก๊ส นับเป็นค่าธรรมเนียมที่เกิดจากการทำธุรกรรมบนเครือข่ายของ Filecoin ทุกครั้งที่ผู้ใช้งานเปิด Storage deal ก็จะมีรายจ่ายสำหรับค่าธรรมเนียมด้วย
  • Batch fees: เป็นค่าธรรมเนียม ที่ผู้ใช้ต้องจ่าย หากมีความต้องการที่จะเพิ่มความจุของการเก็บข้อมูล
  • Overestimation fees: ค่าธรรมเนียมสำหรับการ Optimize ค่าแก๊สอีกที
  • Penalty fees: ค่าธรรมเนียมที่เก็บจาก Storage provider ที่จะมีการเรียกเก็บในรูปแบบการปรับ ในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตาม Storage deal

โมเดลการใช้งานเหรียญ

  • Exponential decay model จะมีการแบ่งออกเป็น 30% ของจำนวนเหรียญ เพื่อนำมาแจก Block reward ระดับสูงในช่วงเริ่มต้นเพื่อให้เป็นการดึงดูดคนผู้ใช้ที่ถือเหรียญดังกล่าว มาเป็น Storage provider ซึ่งจะมีการลดจำนวนลงเรื่อยๆแบบ Exponential
  • Baseline model ส่วนนี้จะแบ่งสัดส่วนออกเป็น 70% ของจำนวนเหรียญ เพื่อปล่อยออกมาเป็น Block reward ขึ้นกับ Storage capacity ที่จะใช้งานเมื่อมีการใช้พื้นที่ Storage ที่มาก เหรียญ FIL ก็จะถูกออกมาจ่ายเป็น Block reward นั่นเอง

ที่มา: ทำความรู้จักกับ Filecoin พร้อมเจาะลึกโอกาสในการเติบโตของ Decentralized data storage ในอนาคต [3]

ความเป็นไปได้ ในการทำงานร่วมกับเทคโนโลยีอื่นในโลกคริปโต

โทเคนนี้เป็นเครือข่ายที่รองรับภาษา Solidity ซึ่งเป็นภาษาหลักๆ ที่ใช้ในการเขียน Smart contracts บนเชนของอีเธอเรียม ทำให้นักพัฒนาสามารถย้าย DApps ที่มีอยู่ใน Ethereum ไปรันในเครือข่าย Filecoin ได้เลย ดังนั้น DApps ที่สร้างบน Filecoin มันจึงจะสามารถเข้าถึงบริการ และข้อมูลเกี่ยวกับ Data storage ไปในตัวได้ นอกจากนี้การมี Smart contracts ยังทำให้เกิด Use case ที่น่าสนใจมากมายดังนี้

  • Collateralized lending และอื่นๆ คือการใช้รายได้ของ Storage provider มาเป็นสินทรัพย์ค้ำประกันให้ในการกู้ยืมคริปโตต่างๆ ได้ จากโปรเจกต์ที่ชื่อว่า Glif เปิดให้บริการนี้อยู่ ผู้ใช้งานสามารถนำเหรียญไปปล่อยกู้ และรับส่วนแบ่งรายได้จาก Storage provider
  • Data DAO โปรเจกต์ที่สามารถนำไปต่อยอดในการสร้างรายได้ให้กับแพลตฟอร์ม DAO รายได้ที่เกิดขึ้นจะนำไปแจกจ่ายให้กับสมาชิกภายใน DAO ได้ อย่างบริษัทที่ต้องการข้อมูลที่จะใช้ในการพัฒนาวัคซีนหรือยารักษาโรค ก็สามารถนำ Data ที่มีไปขายให้กับบริษัทนั้นๆได้ 
  • NFTs จากจุดอ่อนต่างๆ ของ NFT อย่างในเรื่องการเก็บข้อมูลในแบบ Centralized การมีไฟล์คอยน์จึงช่วยให้โปรเจกต์สามารถสร้าง (Mint), การซื้อขายแลกเปลี่ยน และเก็บข้อมูล Meta data แบบกระจายอำนาจในที่เดียวได้ 
  • FIL Liquid Staking protocol ในอนาคตอาจมีการสร้างแพลตฟอร์ม Liquid staking คล้ายกับของ Lido แต่สำหรับเหรียญ FIL ก็สามารถกดรับรายได้จากโปรโตคอลหลายๆ แหล่งได้พร้อมกัน โดยไม่ได้จำกัดแค่รายได้จาก Storage provider เท่านั้น

ที่มา: ทำความรู้จักกับ Filecoin พร้อมเจาะลึกโอกาสในการเติบโตของ Decentralized data storage ในอนาคต [3]

สรุป เหรียญ ไฟล์คอยน์ คลังจัดเก็บข้อมูลในโลกของคริปโตเคอเรนซี

เหรียญ ไฟล์คอยน์

เครือข่ายที่ทำงานในเชนอื่น แต่ก็มีนวัตกรรม ที่เข้ามาช่วยในเรื่องของการจัดเก็บของมูลที่มีพื้นที่ไม่มีสิ้นสุดแบบอวกาศ แถมยังสามารถรักษาความปลอดภัย และความสามารถในการไม่ระบุตัวตน และเรียกใช้งานได้เสมอ จากการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน และนำไปใช้งานในแอป DeFi ต่างๆ ได้มากมาย 

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง