เหรียญ แมนเทิ่ล เชนเลเยอร์ 2 ที่มีความสามารถด้าน Scaling

เหรียญ แมนเทิ่ล

เหรียญ แมนเทิ่ล (Mantle) โทเคน เหรียญ ส่งต่อมูลค่า จากเทคโนโลยีบล็อกเชน Layer 2 บนเครือข่าย Ethereum ที่สามารถทำงานร่วมกับ Ethereum Virtual Machine ได้ มันจึงมีความปลอดภัยจากการเป็นเหรียญจากเชนหลัก และยังมีความสามารถในการรองรับธุรกรรมได้จำนวนมาก ซึ่งก็จะทำให้ค่าธรรมเนียมถูกลงไปได้ด้วย โดยบทความนี้ก็จะเป็นการพูดถึงความน่าสนใจของโทเคนนี้ และประวัติคร่าวๆ 

ประวัติ Mantle สร้างขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาด้านการปรับขนาด

โดยแมนเทิ่ลเป็นโปรเจกต์ Layer 2 ที่เกิดจากแพลตฟอร์ม DAO เครือข่ายแรกของโลก ซึ่งทางด้านของผู้ก่อตั้งหรือทีมงานก่อตั้งโปรเจกต์นี้ก็ไม่ได้รับการเปิดเผยตัวตนแต่อย่างใด  โดยตัวเหรียญ MNT ก็ได้รับการโหวตจาก Mantle Governance (ผู้ที่ถือเหรียญ) ให้แปลงมาจากโทเคน BIT (BitDAO) ในมูลค่าหนึ่งต่อหนึ่งในการใช้งานหลักๆ สองโปรเจกต์ใหญ่ๆ 

  • โปรเจกต์เกี่ยวกับ Gaming: ด้วยการเป็นบล็อกเชนแบบ Modular ทำให้เชนนี้เหมาะสำหรับการเล่นเกมเป็นอย่างมาก พร้อมความสามารถในการรองรับปริมาณธุรกรรมที่สูง กับค่าธรรมเนียมที่ต่ำ ซึ่งก็เป็นการกระตุ้นให้นักพัฒนาสร้าง DApps หรือเกมต่างๆบนเครือข่าย Mantle ได้สูง
  • โปรเจกต์เกี่ยวกับ DeFi: เชนนี้สามารถช่วยให้โปรโตคอล DeFi ต่างๆ ที่ถูกสร้างขึ้นบนเครือข่าย มีราคาไม่แพงสำหรับการนำไปใช้อย่างแพร่หลาย และก็สามารถกระตุ้นให้นักพัฒนาสร้างผลิตภัณฑ์ การบริการทางการเงิน การยืม รวมไปถึงแอปล็อกเหรียญ และ Swapping Apps

ที่มา: Mantle (MNT) คืออะไร? ระบบเครือข่ายบล็อกเชนแบบใหม่ที่ผสมผสานสุดยอดเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน [1]

การทำงานใน Network ของ เหรียญ แมนเทิ่ล 

โดยการทำงานของเน็ตเวิร์กนี้ เป็นโซลูชันการขยายขนาดที่รันบนระบบบล็อกเชนของเชนหลักอย่างอีเธอเรียม โดยจะมีหนึ่งโหนด หรือผู้ตรวจสอบธุรกรรม (Validator) ที่รวบรวมธุรกรรม บีบอัดเป็นบล็อกมา เพื่อส่งข้อมูลนั้นไปยังเชนของ Ethereum ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระให้เชนหลัก ส่งผลให้มีค่าธรรมเนียมที่ถูกลงมากด้วยนั่นเอง จากการที่ไม่ต้องจ่าย เพื่อเร่งธุรกรรมให้เร็วขึ้น

และนอกจากนี้ ผู้ใช้เชนนี้ยังได้รับประโยชน์จากค่าธรรมเนียม (ค่า Gas) ที่ลดลงไปด้วยอย่างมาก จากเวลาในการทำธุรกรรมที่ลดลง และมีการทำงานแบบของสัญญาอัจฉริยะแบบใหม่หรือ Smart Contract Rollup และความพร้อมของข้อมูลแบบ Modular โดยในระบบของการตรวจสอบความถูกต้องของธุรกรรมก็มีการแบ่งโหนดออกเป็น 4 แบบในเครือข่ายนี้ [2]

โหนดที่แบ่งออกเป็น 4 แบบบนเครือข่าย แมนเทิ่ล 

  • Sequencers โหนดที่ทำหน้าที่รองรับธุรกรรมของผู้ใช้ได้แบบเรียลไทม์ หลังจากนั้นจะมีการสร้างบล็อกบน Layer 2 โดยจะมีการรวบรวมธุรกรรมไว้เป็นชุดข้อมูลที่ยังมี State Root รวมเป็นบล็อกเดียว และส่งข้อมูลบล็อกไปยัง Layer 1 และ Layer 2 
  • Threshold Signature Scheme (TSS) ตัวที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจสอบธุรกรรมที่ Sequencers รวบรวมมาเป็นชุดไว้ ก่อนจะมีการลงนามในธุรกรรมเหล่านั้น จากนั้น TSS ก็จะเผยแพร่ชุดข้อมูลทั้งหมดไปทั่วทั้งเครือข่ายของ Mantle อีกที
  • Rollup Verifiers ดูแลในด้านของการซิงค์ข้อมูลที่รวบรวมเป็นชุดแล้วทั้งหมด เริ่มตั้งแต่การพิสูจน์ความถูกต้อง และทำหน้าที่ตรวจสอบ State Root ของธุรกรรมอีกที่ พร้อมยังมีหน้าที่ทำให้ผู้ใช้ สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ โดยจะถือว่าชุดข้อมูลนั้นถูกต้อง จนกว่าจะมีคนจะมีคนเข้ามาท้วงว่ามันผิดปกติภายใน 7 วัน Rollup จึงจะเริ่มต้นการป้องกัน
  • Data Availability (DA) ทำหน้าที่จัดเก็บสำเนาข้อมูลธุรกรรมเกี่ยวกับเชนของ Mantle ซึ่งเป็นการทำให้ผู้ใช้เข้าถึงข้อมูลได้ทุกยูสเซอร์ DA ยังลงนามในข้อมูลบล็อก เพื่อรองรับการใช้งานของข้อมูลธุรกรรมที่เผยแพร่ออกไป

ที่มา: Mantle (MNT) คืออะไร? ระบบเครือข่ายบล็อกเชนแบบใหม่ที่ผสมผสานสุดยอดเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน [1]

ราคา MNT เหรียญอันดับ 37 ที่มาแรงหลังเปิดตัวไม่นาน

สำหรับในเรื่องของราคาเหรียญนี้ก็มีมูลค่าต่อเหรียญไม่ถึง 1 ดอลลาร์ด้วยซ้ำ โดยสถิติสูงสุดตลอดกาลของโทเคนนี้ก็อยู่ที่ 1.56 ดอลลาร์ต่อเหรียญเท่านั้น ในเดือนเมษายน ที่ผ่านมานี้เอง ซึ่งราคา ณ วันที่เขียนบทความนี้ที่อ้างอิงจากเว็บจัดอันดับคริปโต coinmarketcap ก็อยู่ที่ 0.5938 ดอลลาร์หรือราว 20.44 บาทต่อเหรียญ พร้อมข้อมูลมูลค่าต่างๆ ดังนี้

  • มูลค่าตามตลาดรวม: 1.94 พันล้านดอลลาร์
  • ปริมาณการซื้อขายใน 24 ชั่วโมง: 75.53 ล้านดอลลาร์
  • Supply หรือจำนวนเหรียญที่หมุนเวียนในระบบ: 3.27 พันล้านโทเคน
  • Max Supply: ผลิตมาแล้วที่ 6.22 พันล้านโทเคน โดยจะค่อยๆ ปล่อยเหรียญไปในระบบ

เข้าไปดูรายละเอียดเกี่ยวกับราคาเพิ่มเติมที่ coinmarketcap

คุณสมบัติของ เหรียญ แมนเทิ่ล ในระบบธุรกรรม

ด้วยโปรโตคอล Optimistic Rollup ทำให้เหรียญนี้มีคุณสมบัติอันโดดเด่นในเรื่องของการปรับขนาด และการออกแบบมาเพื่อเพิ่มความเร็วในการทำธุรกรรม พร้อมความเข้ากันได้ของ EVM ยังช่วยให้นักพัฒนาและผู้ใช้สามารถใช้ประโยชน์จากความรู้ เครื่องมือ และสัญญาที่มีอยู่เพื่อพัฒนาเกม และแอปต่างๆ บนแมนเทิ่ลได้ ขณะเดียวกันก็มีคุณสมบัติอื่นๆ ด้วย

  • การออกแบบระบบด้วยสถาปัตยกรรม Modular เพื่อความปลอดภัย และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพให้กับ Network นี้ได้โดยรักษาความสมดุลระหว่างความปลอดภัย และประสิทธิภาพ ช่วยให้เครือข่ายนำเอาความปลอดภัยจาก Ethereum มาใช้ในการจ่าย และการเข้าถึงข้อมูลที่ดีขึ้น
  • โหนด Validator ที่จะรวบรวมธุรกรรม ก่อนจะบีบอัดเป็นบล็อก และส่งไปยังบล็อกเชนหลัก ส่งผลให้ค่าธรรมเนียมลดลงสำหรับผู้ใช้ และเพิ่มปริมาณธุรกรรมโดยรวมให้กับเชนได้ วิธีการนี้ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพด้านความแออัดเมื่อเทียบกับ Layer1 ของอีเธอเรียม
  • ในการ Staking ผู้ถือ MNT มีทางเลือกในการ Staking โทเค็นของตัวเอง ทั้งการมีส่วนช่วยในการรักษาความปลอดภัย และการรับรางวัล จากกลไก Staking นี้กระตุ้นให้มีผู้ฝาก และส่งเสริมสภาพแวดล้อมเครือข่าย

ที่มา: Mantle Network คืออะไร และจะซื้อโทเค็น MNT ได้อย่างไร? [2]

แมนเทิ่ล กับมูลค่าสินทรัพย์กว่า 40 ล้านดอลลาร์หลัง 1 เดือน

เครือข่าย Mantle หลังจากเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ทั้งเครือข่าย และเหรียญนี้ก็ได้รับความนิยมอย่างทันที จากการเป็นเครือข่ายบล็อกเชนเลเยอร์ 2 ในแง่ของ TVL ตามผู้เล่นสายวาฬ อาทิ Arbitrum One, OP Mainnet หรือ Starknet และ Immutable X ก็ทำให้เหรียญนี้มีมูลค่าตลาดถูกหนุนขึ้นอย่างมาก ขณะที่ยังไม่ได้นับรวมรายย่อย

โดยในส่วนคุณสมบัติที่กล่าวไป ก็มีความโดดเด่นอยู่หลายประการ ก็มีส่วนที่ทำให้ TVL ของเครือข่ายนี้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นั่นคือ Agni Finance ตามมูลค่าที่ล็อกเอาไว้ในตลาด ซึ่งหลังจากเปิดตัวมาได้ไม่ถึง 1 เดือนดี แค่มูลค่าเพียงอย่างเดียวก็ทะลุ 23 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีมูลค่าซื้อขายสะสมสูงถึง 53.6 ล้านดอลลาร์เลย [3]

สรุป เหรียญ แมนเทิ่ล ตัวส่งต่อมูลค่า ที่ช่วยแบ่งเบาเชนหลัก

เหรียญ แมนเทิ่ล

โทเคนเลเยอร์ 2 ในตระกูล ERC-20 ซึ่งเป็นสกุลเงินหลักประจำเครือข่าย ซึ่งทำงานร่วมกับเชนที่มีความปลอดภัยสูงอย่างอีเธอเรียม โดยจากความสามารถที่ปรับสเกลและเพิ่มความเร็วได้ บวกกับความสามารถของเชนหลักในเรื่องความปลอดภัย โทเคนนี้จึงมีความน่าสนใจ จนกระทั่งได้รับความนิยมในช่วงแรก และปัจจุบันก็อยู่ในอันดับที่ 32 ในแง่ของมูลค่าตลาด

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง