เหรียญ เซเลสเทีย บล็อกเชนแบบ Modular ที่มีต้นทุนต่ำ

เหรียญ เซเลสเทีย

เหรียญ เซเลสเทีย (Celestia) บล็อกเชนตัวแรกของกลุ่ม เหรียญ สมาร์ทคอนแทกต์ ที่สามารถรองรับเครือข่ายผู้ใช้ได้จำนวนมาก แถมยังมีความปลอดภัย และง่ายต่อการสร้างเชนขึ้นมาได้ ทำให้ใครก็สามารถสร้าง หรือจะพัฒนาบล็อกเชนของตัวเองได้ในราคาที่ไม่แพง ซึ่งบทความนี้จึงเป็นการพูดถึงความสามารถของเชนนี้ และความน่าสนใจของเทคโนโลยีโมดูลาร์บล็อกเชนตัวแรกนี้

ประวัติ Celestia การก่อตั้ง และการเปิดตัวของบล็อกเชนนี้

โดยผู้ร่วมก่อตั้งและ CEO ของแล็บนี้ในปัจจุบันคือ Mustafa Al-Bassam ซึ่งมีการเปิดตัว และแจกเหรียญเป็นรูปแบบของแอร์ดรอป จำนวน 60 ล้านโทเคน คิดเป็น 6% ของอุปทานของเชนนี้ ซึ่งก็มอบให้กับ นักพัฒนา นักวิจัย ผู้เดิมพัน รวมไปถึงผู้ Stake ที่มีการติดตามเหรียญนี้ตลอดเวลาในช่วงนั้น 

สำหรับผู้ก่อตั้งอย่าง Mustafa Al-Bassam ก็เคยเป็นนักวิจัยที่ Chainspace ของทางเฟซบุ๊ก และจบการศึกษาในระดับปริญญาเอกในลอนดอน สาขา Blockchain Scaling และผู้ร่วมก่อตั้งอีกคนอย่าง Ismail Khoffi ก็เคยทำงานในโครงการเกี่ยวกับอุตสาหกรรมระดับอุดมศึกษา ตลอดจนในองค์กรขนาดใหญ่ พร้อมเคยเป็นวิศวกรอาวุโสที่ Tendermint และ Interchain Foundation [1]

ทำความรู้จักเทคโนโลยีเด่นอย่าง Modular Blockchain

Modular Blockchain เป็นเทคโนโลยีของเชนนี้ ที่มาจากแนวคิดการออกแบบบล็อกเชนที่สามารถแยกฟังก์ชันสำคัญๆ ซึ่งมีความต่างจากบล็อกเชนของสกุลเงินดิจิทัลในยุคแรก อย่าง Bitcoin หรือ Ethereum ที่ความสัมพันธ์ของระบบมีความเป็นลำดับและก้อนเดียวกันไม่ว่าจะเป็น ความพร้อมใช้งาน ระบบฉันทามติ และการดำเนินการ ซึ่งก็มีปัญหาตามมาดังนี้

  • การมีพื้นที่จำกัด ไม่สามารถสร้างสิ่งที่ต้องการ เนื่องจากจำเป็นต้องแชร์พื้นที่กับผู้อื่น และทำให้กับแอปนั้นถูกจำกัดความสามารถไป
  • ราคา และค่าธรรมเนียมที่สูง แอปต่างๆ รวมถึงกิจกรรมในเครือข่าย ก็จะมีราคาที่ต้องจ่ายสูงขึ้น เพื่อให้ความเร็วอยู่ในอันดับต้นๆ เพราะค่าธรรมเนียมที่สูงมาก ส่งผลให้แอปไม่สามารถจ่ายได้
  • การเข้าถึง เป็นเชนที่ไม่ได้เปิดกว้างสำหรับทุกคน เนื่องจากการเพิ่มขีดความสามารถของบล็อกเชนทำให้มีคนจำนวนน้อยที่สามารถตรวจสอบการทำงานเครือข่ายได้

ที่มา: Avalanche: Smart Contract Blockchain รูปแบบใหม่? [2]

การเข้ามาช่วยแก้ปัญหาของ เหรียญ เซเลสเทีย

โดยเครือข่ายนี้จะแก้ปัญหาการปรับขนาด โดยใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า data availability sampling หรือที่เรียกว่า DAS จากการทำงานแบบใหม่ ที่แยกธุรกรรมออกได้เป็นชิ้นส่วนเล็กๆ และจะมีการสุ่มตัวอย่างชิ้นมาตรวจสอบ ว่าข้อมูลทั้งหมดมีอยู่หรือไม่ หากโหนดนั้นๆ สามารถตรวจสอบได้ว่าส่วนใหญ่ของชิ้นที่แยกมามีสถานะพร้อมใช้งาน สิ่งนี้จึงช่วยการันตีมั่นใจได้ว่า ข้อมูลธุรกรรมทั้งหมดนั้นมีอยู่จริง

จากการใช้เทคโนโลยี DAS ก็ทำให้โหนดต่างๆ ที่เรียกว่า light nodes ซึ่งไม่สามารถดาวน์โหลดข้อมูลบล็อกเชนทั้งหมดมาได้ จึงสามารถสุ่มตัวอย่างข้อมูลบล็อกเพียงส่วนเล็กๆ ในเชนนี้ได้ เพื่อตรวจสอบว่าบล็อกนั้นๆ ได้รับการเผยแพร่แล้วหรือไม่ [3]

ราคา TIA กับรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับเหรียญ

ในส่วนของราคาของเหรียญนี้ เคยขึ้นไปแตะสูงสุดเป็นประวัติการณ์หรือ All time high คือ 751 ต่อเหรียญเลยทีเดียว ซึ่งปัจจุบันราคาต่อเหรียญที่ 6.51 ดอลลาร์หรือราวๆ 236.72 บาทต่อเหรียญ ราคา ณ วันที่ 21 กรกฎาคม 2024 ซึ่งในด้านของมูลค่าเหรียญนี้ก็อยู่อันดับที่ 67 ของโลก ซึ่งในด้านรายละเอียดอื่นๆ ก็มีดังนี้

  • มูลค่าตามราคาตลาด: 1.29 พันล้านดอลลาร์
  • ปริมาณการซื้อขายภายในหนึ่งวัน: 70.89 ล้านดอลลาร์
  • อุปทานหมุนเวียนของระบบ: 198.69 ล้านโทเค็น
  • อุปทานสูงสุด: ยังไม่มีการจำกัดปริมาณเหรียญ

ดูรายละเอียดของเหรียญนี้เพิ่มเติมที่ coinmarketcap

ระบบฉันทามติที่ใช้ในเครือข่ายของ เซเลสเทีย 

ในส่วนของระบบฉันทามติหรือการตรวจสอบธุรกรรมของเครือข่ายนี้ Celestia ก็เป็นเชนที่ใช้ระบบ proof-of-stake (PoS) ในเชนหลัก ซึ่งผู้ใช้งานเหรียญนี้ก็ยังสามารถนำไปฝากค้ำไว้ เพื่อแลกกับการตรวจสอบธุรกรรมซึ่งจะเรียกว่าการ Stake โดยการเป็นผู้สเตกเหรียญ TIA ก็จะสามารถสร้างรายได้จากรางวัลจากเครือข่ายได้พร้อมกับเหรียญที่นำไปค้ำไว้ตามสัดส่วน 

ในการเป็นผู้ตรวจสอบธุรกรรมได้รับค่าธรรมเนียมจากผู้ใช้เป็นเปอร์เซ็นต์ เพื่อเป็นแรงจูงใจในการรักษาฉันทามติเช่นเดียวกับเครือข่ายอื่นๆจากการที่ผู้ใช้สามารถช่วยรักษาเครือข่ายได้ด้วยการใช้โทเคนนี้ไว้ และรับรางวัลเป็นค่าธรรมเนียมจากการใช้งานในแพลตฟอร์ม แลกกับการตรวจสอบความถูกต้องของเซเลสเทีย [3]

การระดมทุน และจุดเด่นของบล็อกเชน เซเลสเทีย 

ในส่วนของการระดมทุน โปรเจกต์นี้จากการเปิดให้ลงทุนในช่วงแรก ก็เคยได้รับเงินจากการระดมทุนมากกว่า 55 ล้านดอลลาร์จากกิจการชื่อดังหลายเจ้า ไม่ว่าจะเป็น Coinbase, Delphi Digital, Placeholder, Jump Crypto และ Galaxy จากจุดเด่นต่างๆ ที่มีความน่าสนใจ พัฒนาจุดนั้นให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นไปอีก ซึ่งจุดเด่นก็มีดังนี้

  • การเพิ่มศักยภาพในการทำงานบล็อกเชนนี้ จากการออกแบบโครงสร้างให้ระบบมีการแยกกันทำงานได้ ในแต่ละส่วนให้ดีที่สุด ทั้งด้านการกระจายศูนย์ ความสามารถในการขยายเครือข่าย และความปลอดภัย
  • เซเลสเทียเป็นบล็อกเชนประเภทใหม่ ที่การทำงานมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งช่วยลดข้อจำกัดเรื่อง Blockchain Trilemma ทั้งสามอย่าง และตอบโจทย์นักพัฒนาได้
  • เครือข่ายนี้มีการใช้เทคโนโลยี DAS ในการตรวจสอบข้อมูล และการแยกธุรกรรมออกเป็นส่วนเล็กๆ ง่ายต่อการตรวจสอบ แถมผู้ใช้ยังสามารถนำเหรียญไป Staking  พร้อมโอกาสได้รับ Airdrop จากเชนอื่นๆ ในอนาคตได้ด้วย

ที่มา: พารู้จัก Celestia (TIA) เหรียญขวัญใจสมาคมขายหมูแห่งคริปโตประเทศไทย [4]

สรุป เหรียญ เซเลสเทีย ที่แก้ปัญหาหลักๆ 3 ด้านของบล็อกเชน

เหรียญ เซเลสเทีย

อีกเหรียญน้องใหม่ ที่มีการเปิดตัวมาอย่างเป็นทางการเมื่อปีก่อนหน้าหรือ 2023 นี้เอง โดยเป็นเครือข่ายที่ออกมาเพื่อช่วยแก้ปัญหา 3 ด้านที่มีมาอย่างยาวนานในบล็อกเชนแบบเก่าๆ อย่างความเร็ว การเข้าถึงแบบกระจายศูนย์  และความปลอดภัย

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง