เหรียญ เซย์ บล็อกเชนเลเยอร์ 1 ที่ใช้กลไกฉันทามติแบบใหม่

เหรียญ เซย์

เหรียญ เซย์ (Sei) บล็อกเชนของ เหรียญ ส่งต่อมูลค่า ที่ออกแบบมาเพื่อการแลกเปลี่ยน และการซื้อขายโดยเฉพาะ โดยมุ่งเน้นไปที่ความเร็ว และความปลอดภัย โดยเซย์เสนอธุรกรรมที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากกว่าแพลตฟอร์มอื่น ที่สามารถออกการจองคำสั่งซื้อแบบออนไลน์ได้แบบเรียลไทม์ และในอนาคตได้แทน Automated Market Makers ทำให้มีความแตกต่างสุด ในพื้นที่ DeFi

ประวัติ Sei Network ที่ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2021

เครือข่ายนี้ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2021 โดยผู้ก่อตั้งทั้งหมดหลักๆ อยู่ 3 คนอย่าง Jeff Feng, Jayendra Jog และ Dan Edlebeck โดยพวกเขาเป็นผู้มีประสบการณ์ในการพัฒนาซอฟต์แวร์ การบริหารบล็อกเชน และต่างทำงานพัฒนาเชนนี้ในฐานะวิศวกรซอฟต์แวร์ด้านเทคโนโลยีทางการเงิน ซึ่งเชนนี้ในตอนปี 2021 ก็มีการสร้างจากข้อสังเกตว่าบล็อกเชนที่มีอยู่ยังขาดความเร็ว จึงมีการสร้างขึ้นมาอุดรูรั่วนี้

ทีมงาน Sei Network นั้น ประกอบด้วยวิศวกรซอฟต์แวร์ และนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีความเชี่ยวชาญครอบคลุมตั้งแต่เทคโนโลยีบล็อกเชนไปถึง ความสามารถในเรื่องทางการเงิน และเชนนี้ยังได้รับการสนับสนุนจากความทุ่มเทและมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน ซึ่งมีศักยภาพในการปฏิวัติแนวทางในการซื้อขายคริปโตแบบใหม่ [1]

บล็อกเชนหรือ เหรียญ เซย์ มีหลักการทำงานอย่างไร

เชนนี้ถูกสร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยี SDK และเทคโนโลยีของ Cosmos ในการเป็นบล็อกเชนที่เน้นในการใช้งานสำหรับ Decentralized Exchange  ซึ่งค่อนข้างแตกต่างจากบล็อกเชนทั่วไปอย่าง Ethereum หรือ Solana ที่เน้นใช้งานทั่วไป ซึ่งเครือข่ายนี้ใช้กลไกฉันทามติเฉพาะที่มีเป็นแบบใหม่ชื่อว่า Twin-Turbo consensus mechanism ที่โดดเด่นเรื่องความรวดเร็ว

  • โดยการทำงานของกลไกฉันทามติดังกล่าวนี้จะมีระบบที่เรียกว่า Intelligent Block Propagation ซึ่งทำหน้าที่ในการกระจายข้อมูล ไปยังหลายๆ Node ได้อย่างรวดเร็ว เริ่มจาก Full Node ที่รับธุรกรรมมาจากผู้ใช้งาน ให้กระจายต่อไปยัง Node อื่นแบบสุ่มได้เลย 
  • ซึ่งในขั้นตอนของการยืนยันธุรกรรมขั้นสุดท้าย (Transaction Finality) จะใช้กลไกที่ชื่อว่า “Optimistic Block Processing” ที่ Validator Node หรือผู้ตรวจสอบจะส่งข้อมูลลงไปบันทึกของบล็อกเชนในทันทีโดยไม่จำเป็นต้องรอความถูกต้องของธุรกรรมจาก Node รายอื่น 

ที่มา: SEI คืออะไร? บล็อกเชนที่ถูกขนานนามว่ามีความรวดเร็วมากที่สุด [2]

คุณสมบัติที่เหมาะกับการเทรดของ เชนเซย์

โดยในส่วนของคุณสมบัติหลักๆ ของเชนนี้ที่ทำให้เป็นจุดเด่นเลยก็ว่าได้ก็คือ คุณสมบัติในเรื่องของความเร็วจากการที่ Sei Network เป็นหนึ่งในบล็อกเชนที่เร็วที่สุดแล้วสำหรับการซื้อขายที่มีการประมวลผลธุรกรรมนับพันรายการต่อ 1 วินาทีเท่านั้น ซึ่งในคุณสมบัติอื่นๆ ของเครือข่ายแห่งการแลกเปลี่ยนก็มีดังนี้

  • ความสามารถในเรื่อง Scalability: หรือความสามารถในการปรับขนาด ก็เป็นคุณลักษณะที่ยอดเยี่ยม และทำให้เป็นตัวเลือกของ หลายการแลกเปลี่ยน ซึ่งก็ได้รับการออกแบบให้เป็นบล็อกเชนที่ปรับขนาดได้สำหรับการซื้อขายอย่างแท้จริง
  • อีกเครือข่ายที่มีความปลอดภัย: ด้วยการที่เป็นเหรียญที่สร้างขึ้นบน Cosmos SDK และใช้กลไกฉันทามติแบบใหม่ Tendermint BFT สิ่งนี้ทำให้เซย์กลายเป็นอีกหนึ่งบล็อกเชนที่ปลอดภัยที่สุดในโลก
  • คุณสมบัติในการเป็น Engine การจับคู่คำสั่งซื้อในตัว: ในการจับคู่คำสั่งซื้อในตัวเครือข่ายนี้ ก็ได้รับการปรับให้เหมาะสมสำหรับความเร็ว และความสามารถในการขยายขนาด มันจึงช่วยให้การแลกเปลี่ยนสามารถสร้างบน Network ได้โดยไม่ต้องสร้าง หรือพัฒนาเครื่องมือจับคู่คำสั่งซื้อเองขึ้นมา
  • Cross-chain: หนึ่งในความสามารถที่น่าสนใจก็คือการทำงานได้แบบ cross-chain ที่สามารถเข้ากันได้กับ Cosmos หรือ blockchain ตัวอื่นๆ ได้ หมายความว่าสินทรัพย์บนบล็อกเชน Cosmos อื่น ก็จะสามารถซื้อขายบนแพลตฟอร์มของเซย์ได้เช่นกัน

ที่มา: Sei Network คืออะไร และจะซื้อโทเค็น SEI ได้อย่างไร [1]

ราคา SEI กับการเป็นเชนแห่งการแลกเปลี่ยนที่เร็วที่สุด

ราคาของเหรียญนี้ในปัจจุบันก็ไม่ได้โดดเด่นมากนัก โดยประวัติราคาสูงสุดของเหรียญนี้ นับตั้งแต่เปิดตัวมาก็อยู่ที่ 41.34 ดอลลาร์เลย ซึ่งวันที่เขียนบทความนี้ ราคาของเหรียญนี้ก็มีการปรับตัวลงมาที่ 0.2772 ดอลลาร์เท่านั้น หรือประมาณ 9.48 บาทต่อเหรียญ โดยมีข้อมูลอื่นๆ อ้างอิงจากเว็บ coinmarketcap ด้วย

  • มูลค่าตามตลาดรวม: 914.82 ล้านดอลลาร์
  • ปริมาณการซื้อขายใน 24 ชั่วโมง: 64.1 ล้านดอลลาร์
  • Supply หรือจำนวนเหรียญที่หมุนเวียนในระบบ: 3.3 พันล้านโทเคน
  • Max Supply: ผลิตมาแล้ว 10 พันล้านโทเคน

เข้าไปดูรายละเอียดเกี่ยวกับราคาเพิ่มเติมที่ coinmarketcap

สาเหตุของการขึ้นราคาไปกว่า 3,000% ของเชนเซย์

Labs ของเซย์เป็นบริษัทเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการพัฒนา และวิจัยบล็อกเชน ซึ่งมีการอ้างว่า ตัวบริษัทนี้เองเป็น บล็อกเชน Layer 1 ที่มีความรวดเร็วมากที่สุด ซึ่งในช่วงระยะทดสอบ เชนนี้ก็สามารถทำธุรกรรมได้มากกว่า 400 ล้านรายการ แถมยังมีวอเลทของตัวเองได้ในจำนวนกว่า 7.5 ล้านรายการ

โดยหลังจากการเปิดตัวเหรียญของตัวเองได้ไม่นาน ตัวโทเคนก็ได้เข้าไปอยู่ในกระดานเทรดชื่อดัง อย่าง Binance, Bitget และ Coinbase ซึ่งในช่วงปี 2023 ที่ผ่านมา ราคาเหรียญนี้จึงได้พุ่งสูงไปเกือบ 3,100% เลย จากราคาขายที่ 0.064 ดอลลาร์ต่อเหรียญ ขึ้นไปที่ 0.26 ดอลลาร์ ก่อนที่มูลค่าตลาดของเหรียญนี้ จาก 360 ล้านดอลลาร์ก็ได้พุ่งขึ้นเป็น 465 ล้านดอลลาร์และเป็น 914.82 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน [3]

การจัดการของ เหรียญ เซย์ ตั้งแต่เริ่มโครงการ

อย่างที่ระบุไปว่าโทเค็นดังกล่าวนี้ มีขีดจำกัดสูงสุดของปริมาณเหรียญที่ 10 พันล้านโทเค็น โดยส่วนใหญ่จะถูกจัดสรรเพื่อการแจกจ่ายในส่วนของการดูแล และการตรวจสอบระหว่างชุมชน และโครงการต่างๆ ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบนิเวศ ซึ่งสัดส่วนของเหรียญก็มีการกระจายมีดังต่อไปนี้

  • สำรองไว้สำหรับระบบนิเวศ (48%): ที่เป็นการเก็บไว้เป็นรางวัล สำหรับการ Staking โดยให้กับผู้ตรวจสอบ(Validators) ที่ฝากเหรียญนี้ค้ำไว้และตรวจสอบสำเร็จ ซึ่งเป็นการรักษาความปลอดภัย และอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมได้นั่นเอง นอกจากนี้ยังใช้ในส่วนของการสนับสนุนความคิด และการมอบโทเค็นให้กับผู้ร่วมสร้าง และผู้ตรวจสอบ
  • Foundation Treasury (9%): การจัดสรรในส่วนของการดูแลและบริการภาพรวมของเหรียญนี้ เพื่อรองรับการดำเนินงานที่กำลังทำอยู่ของ Foundation
  • ทีม (20%): ทีมพัฒนาก็ยังได้รับการจัดสรรเหรียญไว้ที่ 20% ของอุปทานทั้งหมด เพื่อเป็นรางวัลตอบแทนในการพัฒนา และสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ต่อไป
  • Private Sale Investors (20%): เก็บไว้ให้กับเหล่านักลงทุนเอกชน ที่จะเข้าซื้อโทเคนนี้ก่อน มีการแบ่งไว้ที่ 20% ของทั้งหมด
  • Launchpool (3%): ส่วนที่เหลือที่ได้รับการจัดสรรให้กับ Launchpool หรือโปรเจกต์ DeFi ใหม่ๆ ที่น่าสนใจ

ที่มา: Sei Network คืออะไร และจะซื้อโทเค็น SEI ได้อย่างไร [1]

สรุป เหรียญ เซย์ ที่ออกแบบให้มีความเร็วในการแลกเปลี่ยน

เหรียญ เซย์

เหรียญในอันดับที่ 69 ของโลก มีบทบาทสำคัญในการประมวลผลธุรกรรม การ Staking การเป็นเหรียญที่ผู้ถือร่วมพัฒนาได้ และพัฒนา dApps ต่างๆ โดยมีการเน้นไปที่การเป็นเหรียญแห่งการแลกเปลี่ยนที่รวดเร็วมากที่สุดอีกด้วย

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง