เหรียญ ฮีเลียม โทเคนที่มาเขย่าวงการ IoT และการสื่อสาร

เหรียญ ฮีเลียม

เหรียญ ฮีเลียม (Helium) โทเคนที่ถูกขนานนามว่า เครือข่ายประชาชน ซึ่งเป็นการพัฒนาเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานไร้สาย และ IoT เข้าด้วยกันอย่างเป็นอัตลักษณ์ของตัวเอง ซึ่งจะเป็นเชนที่จะมาเปลี่ยนการท่องโลกอินเทอร์เน็ตแบบกระจายอำนาจ พร้อมยังสามารถทำเงินได้จากการขุดเหรียญนี้ด้วย ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ให้บริการอุปกรณ์ iot ทั่วโลกผ่านสัญญาณวิทยุ LongFi ราวกับเมฆ แต่เบาบางกว่าดั่งก๊าซฮีเลียม

ประวัติ Helium เหรียญคริปโตที่เริ่มโปรเจกต์ตั้งแต่ปี 2013

โปรเจกต์นี้เริ่มพัฒนาเมื่อนานมาแล้ว ตั้งแต่ปี 2013 โดยปัจจุบันมีเสาหลักบริหารอยู่ 3 บุคคลหลักๆ อย่าง Shawn Fanning, Sean Carey และ Amir Haleem โดยมี HNT เป็นสกุลเงินดิจิตอลประจำเชนของฮีเลียม ซึ่งมีอุปทานสูงสุดที่ 223 ล้านโทเคนเท่านั้น ปัจจุบันขุดไปแล้วกว่าครึ่งคือ 160 กว่าล้านโทเคน ซึ่งรายละเอียดของผู้บริหารแต่ละคนในปัจจุบันก็มีดังนี้

  • Shawn fanning เขาเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Napster ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มเกี่ยวกับการแบ่งปันเพลงต่างๆ ได้แบบ peer-to-peer ตัวแรก บริหารแบบกระจายอำนาจ โดยมีผู้ใช้มากกว่า 27 ล้านคน ปัจจุบันเขาทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาหลักให้กับเครือข่ายนี้
  • Sean Carey คือวิศวกรด้านระบบที่มากประสบการณ์ โดยเขาดำรงตำแหน่ง CTO ให้กับเชนฮีเลียม แต่ปัจจุบันเสาหลักคนนี้ก็ได้ออกจากเชนนี้ตั้งแต่ปี 2015
  • Amir Haleem เกมเมอร์มืออาชีพ และเขายังเป็นนักออกแบบวิดีโอเกม ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น CEO ให้กับฮีเลียมบล็อกเชน

ที่มา: เหรียญ Helium (HNT) คืออะไร? [1]

การทำงานหลักๆ และระบบฉันทามติของ เหรียญ ฮีเลียม

mainnet ของฮีเลียมถูกออกแบบมาเพื่อ ช่วยให้อุปกรณ์ไร้สายที่ใช้พลังงานต่ำ มีความสามารถในการส่งข้อมูลหากันได้ผ่านเครือข่ายโหนดต่างๆ โดยใช้เทคโนโลยีหลักก็คือ Hotspots ที่แทนโหนดต่างๆ ในระบบ ซึ่งเป็นการบริการอุปกรณ์ iot ทั่วโลกผ่านสัญญาณวิทยุที่เรียกว่า LongFi หรือ Lora สำหรับประเทศไทยจะกำหนดให้อยู่ในช่วงความถี่ 920-925 MHz 

ซึ่งเครือข่ายดังกล่าวนี้ ในส่วนของระบบฉันทามติก็ยังทำงานบนระบบที่ค่อนข้างใหม่ และไม่เหมือนเชนอื่นๆ อย่าง proof-of-coverage เป็นอัลกอริทึมที่ใช้โปรโตคอลที่เรียกว่า HoneyBadger BFT ซึ่งช่วยให้โหนดในเครือข่ายสามารถเข้าถึงฉันทามติจากการเชื่อมต่อที่มีความผันแปรสูง แถมยังใช้พลังงานน้อยมากจากการขุดแบบ PoW แบบบิตคอยน์ [1]

อุปกรณ์ iot ที่ใช้ได้กับเครือข่ายฮีเลียม มีอะไรบ้าง

โดยอุปกรณ์ที่สามารถทำงานร่วมกับเครือข่ายนี้ ก็คืออุปกรณ์ที่ทำงานบนสัญญาณ lora ได้ทุกชนิด ซึ่งปัจจุบันก็มีจำนวนนับหลายล้านตัวบนโลก ซึ่งอุปกรณ์เหล่านั้นเดิมทีจะใช้ผ่านสัญญาณ TTN หรือพวก Chirpstack รวมถึงการใช้งาน Private Server ซึ่งในการข้ามมาใช้ฮีเลียมก็สามารถทำได้ง่าย เพียงแค่ปรับแก้ตั้งค่า EUI ก็สามารถย้ายมาใช้ ฮีเลียมเชนได้แล้ว

  • อุปกรณ์ที่ใช้ได้ก็จะมีตั้งแต่พวก sensor ในโรงงานต่างๆ หรือ sensor ที่ใช้ในการเกษตร ตามแปลงผักต่างๆ หรือที่เรียกกันติดปากว่า Smartfarm
  • รวมไปถึงตัววัดค่าฝุ่นในอากาศ และส่งข้อมูลมาอ่านได้หรือ sensor สำหรับวัดค่าฝุ่น ตามพวกสถานีตรวจอากาศที่ใช้ในเมืองใหญ่ๆ หรือเขตเล็กๆ ที่มีความเสี่ยงด้านสภาพอากาศ เพื่อนำมาวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม หรือมลพิษอีกทีหนึ่ง 
  • และที่ใกล้ตัวเราที่สุดคือระบบ Smarthome ต่างๆ ที่จะมีการใช้ Data Credits และฮีเลียมคอนโซล ก็สามารถควบคุมจัดการค่าใช้จ่ายในการใช้เครือข่ายในบ้านได้

ที่มา: Helium Blockchain คืออะไร? ทำไมมาถึงเขย่าวงการ IoT และการสื่อสารได้ [2]

ราคา HNT เหรียญรักษามูลค่าอันดับ 55 ของโลก

ในเรื่องของราคาเหรียญนี้ ปัจจุบันก็มีราคาที่คงที่อยู่ราวๆ 6-8 ดอลลาร์ ซึ่งในวันที่เขียนบทความ หรือวันที่ 19 สิงหาคมก็มีราคาต่อเหรียญอยู่ที่ 7.42 ดอลลาร์ หรือราว 256.13 บาท อ้างอิงจากเว็บไซต์จัดอันดับ และ Track มูลค่าคริปโต coinmarketcap ซึ่งจุด Peak ของเหรียญนี้ก็เคยพุ่งไปสูงเป็นประวัติการณ์ที่ 48.80 USD เลย สำหรับรายละเอียดอื่นๆ ของโทเคนฮีเลียมก็มีดังนี้ 

  • มูลค่าตามตลาดรวม: 1.19 พันล้านดอลลาร์
  • ปริมาณการซื้อขายใน 24 ชั่วโมง: 18.28 ล้านดอลลาร์
  • Supply หรือจำนวนเหรียญที่หมุนเวียนในระบบ: 160.88 ล้านโทเคน
  • Max Supply: 223 ล้านโทเคน อาจเพิ่มขึ้นได้อีก

เข้าไปดูรายละเอียดเกี่ยวกับราคาเพิ่มเติมที่ coinmarketcap

การขุดแร่ฮีเลียมมีวิธีการ และทำงานอย่างไร

โดยก่อนที่จะมีการถือกำเนิดของฮีเลียม ในการขุดแบบเก่าของสกุลเงินดิจิตอลส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับเครื่องมือการขุดที่มีราคาแพง และยังมีการใช้พลังไฟฟ้าที่สูงด้วย  ดังนั้นการเปิดตัวเครือข่ายฮีเลียมนี้ จึงได้ปฏิวัติกระบวนการขุดแบบเก่าๆ นี้ ให้สามารถขุดโทเค็น HNT ได้ง่ายๆ ผ่านอุปกรณ์ไร้สายที่ใช้ระบบของฮอตสปอตแบบไร้สาย จากการใช้งานระบบ Proof-of-Coverage เพื่อตรวจสอบตำแหน่งของฮอตสปอต และการติดตามข้อมูล

  • ในการขุดฮีเลียม ซึ่งจะไม่พึ่งระบบ CPU หรือ ASIC แบบเดิม เพราะระบบการขุดจะถูกแทนที่ด้วยการใช้งานคลื่นวิทยุ ฮอตสปอตซึ่งติดตั้งเครื่องส่งสัญญาณ LoRaWAN ให้การครอบคลุมแบบไร้สายอย่างกว้างขวาง ช่วยอำนวยความสะดวกในกระบวนการขุด
  • ทว่าการขุดเหรียญดังกล่าว จะต้องใช้อุปกรณ์เฉพาะ เช่นเครื่องส่ง LoRaWAN ซึ่งบางเจ้าก็จะมีราคาที่สูง เป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อรายได้นักขุด และยังมีอุปสรรคคือที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ โดยการซื้อเสาอากาศคุณภาพสูงถือเป็นสิ่งสำคัญในการเพิ่มรางวัลการขุดให้สูงขึ้นได้

ที่มา: Helium (HNT): คืออะไรและทำงานอย่างไร? [3]

ตัวอย่างเครื่องขุด เหรียญ ฮีเลียม ยอดนิยม และข้อดี

ในส่วนของข้อดีของการขุดฮีเลียมก็มีผลประโยชน์ที่น่าสนใจหลายประการอย่าง การสร้างรายได้แบบพาสซีฟ แถมยังเป็นเครือข่ายกระจายอำนาจที่มีความปลอดภัยสูงอีกด้วย รวมไปถึงในการขุดก็ยังมีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยจากการประหยัดพลังงานไฟฟ้า ซึ่งในเรื่องของเครื่องขุดยอดนิยมที่ใช้กันในปัจจุบันของเครือข่ายก็มีดังนี้

  • Helium Hotspot Miner : เครื่องขุดที่ออกแบบมาอย่างเป็นทางการของเครือข่ายฮีเลียมนี้เลย มันจึงเป็นที่รู้จักในด้านของประสิทธิภาพและความเสถียรในการขุดที่สม่ำเสมอ แต่ก็จะแลกมาด้วยราคาที่ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว ซึ่งเครื่องนี้ก็ยังเป็นตัวเลือกสำหรับหลายๆ คนในชุมชนเครือข่ายฮีเลียม
  • Bobcat Miner 300 : อีกหนึ่งเครื่องขุดฮีเลียมที่ได้รับความนิยมในด้านความครอบคลุมที่กว้างขวาง แถมยังติดตั้งง่าย มีการออกแบบที่ใช้งานง่ายสำหรับมือใหม่มากๆ 
  • SenseCAP Miner : เครื่องที่มีการผสานรวมระบบของสัญญาณ LoRa เข้ากับเทคโนโลยีบล็อกเชน เครื่องนี้จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่มีประสิทธิภาพสำหรับการขุด เชื่อถือได้ และได้รับความนิยมสูงสุด
  • Milesight LoRaWAN : เครื่องที่มีจุดขายด้านความทนทาน พร้อมการใช้เทคโนโลยี Long Range (LoRa) เพื่อให้มั่นใจว่าครอบคลุมเครือข่ายได้กว้างขวาง และการขุดที่มีประสิทธิภาพในสภาวะต่างๆ ที่อาจส่งผลต่อสัญญาณ
  • Nebra Rock Pi : เครื่องเล็กพริกขี้หนู ที่มีขนาดจิ๋วแต่ทรงพลังในด้านการขุด จากโปรเซสเซอร์ Rockchip และการเชื่อมต่อระยะไกล (LoRa) มันจึงเป็นที่รู้จักในด้านความเร็ว และประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้มากที่สุด

ที่มา: Helium (HNT): คืออะไรและทำงานอย่างไร? [3]

สรุป เหรียญ ฮีเลียมเชนกระจายอำนาจที่ใช้สัญญาณ LoRa

เหรียญ ฮีเลียม

โทเคนประจำบล็อกเชน ที่ได้สร้างตัวเองให้เป็นเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ที่มีการกระจายอำนาจ พร้อมยังเป็น เหรียญ กลุ่มรักษามูลค่า ที่มีการเชื่อมโยงอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานต่ำ แต่สามารถครอบคลุมได้ในระยะไกลเข้ากับอินเทอร์เน็ต โดยเป็นเหรียญที่ที่มาก่อนการ สร้างตั้งแต่ปี 2013 หลังบิตคอยน์เกิดขึ้นไม่กี่ปี

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง