เหรียญ อีเธอเรียม (Ethereum) ซึ่งเมื่อพูดถึงสกุลเงินดิจิทัล สิ่งแรกที่หลายคนนึกถึงก็อาจจะเป็น Bitcoin โดยอีเธอเรียมก็เป็นอีกเหรียญที่ได้รับความสนใจไม่น้อย ทั้งในกลุ่มของนักลงทุน และนักพัฒนาต่างๆ ซึ่งเหรียญนี้เป็นต้นแบบของ เหรียญ สมาร์ทคอนแทกต์ แถมเป็นเหรียญที่มีมูลค่าเป็นรองจากบิตคอยน์ ถึงแม้จะเทียบไม่ได้กับอันดับ 1 แต่นี่ก็เป็นบล็อกเชนที่เป็นจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่หลายรายการ
คริปโตที่มีการทำงานด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน โดยเป็นเครือข่ายของตนเอง ที่ธุรกรรมต่างๆ ไม่มีตัวกลางมาควบคุมในแบบอื่นๆ ซึ่งเป็นการทำงานผ่านโหนด ที่สามารถตรวจสอบได้อย่างโปร่งใส และมีสกุลเงินที่สร้างขึ้นมาเป็น ETH หรือ Ether เพื่อใช้เรียกเก็บเงิน เป็นค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมผ่านระบบนี้ ซึ่งความเร็วและราคาในแต่ละครั้งก็ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้ใช้งานบนเครือข่าย
โดยเหรียญนี้ ถูกสร้างขึ้นมาเมื่อปี 2015 โดยนาย Vitalik Buterin ซึ่งมีจุดเด่นเป็นการใช้ฟีเจอร์สมาร์ทคอนแทกต์ ที่เป็นชุดคำสั่งที่ถูกโปรแกรมไว้ หรือเขียนลงไปในโค้ด และสามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเองเมื่อครบเงื่อนไขที่ตกลงกัน ซึ่งการมาของเหรียญนี้ ก็ทำให้เกิดแอปต่างๆ เกี่ยวกับคริปโตมากมาย อย่าง แพลตฟอร์มแลกเปลี่ยน การกู้ยืม ไปจนถึงการสร้างแอปพลิเคชัน [1]
สำหรับเหรียญนี้ก็มีการเปลี่ยนแปลงอยู่มากมาย ตั้งแต่การเปลี่ยนระบบการขุด หรือการตรวจสอบธุรกรรม จากการที่เป็นเครือข่ายที่มีบริษัทและผู้ดูแลชัดเจนจึงถูกร้องเรียนได้ เกี่ยวกับการขุดที่ใช้พลังงานสูง ก็เปลี่ยนรูปแบบใหม่ และการเปลี่ยนเรื่องของการประขนาดใหม่ ซึ่งการเปลี่ยนรื้อระบบใหม่ มาเป็น 2.0 ก็แก้ไขปัญหาได้หลายประการดังนี้
ที่มา: Ethereum คืออะไร? รู้จักต้นกำเนิดเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่ในโลกคริปโตฯ [2]
สิ่งที่เป็นจุดเด่นสำคัญสำหรับเครือข่ายนี้ ก็คือการเป็นเครือข่ายที่มีจำนวนผู้ใช้งานมากที่สุด จากฟังก์ชันสุดแฟร์และน่าสนใจอย่าง การเป็นต้นแบบสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) และการเป็น Open Source ในการเปิดให้สร้างแอปพลิเคชันกระจายศูนย์ (dApps) ได้อย่างอิสระมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ซึ่งก็มีจำนวน dApps ที่ถูกสร้างบน ecosystem ไปมากกว่า 3,500 ตัวแล้ว
และอีกหนึ่งความสามารถคือความยืดหยุ่นของระบบ ที่ผู้พัฒนาต่างๆ สามารถเขียน Code ที่ซับซ้อน จึงทำให้การพัฒนาแอปฯ ทั้งหลายบนพื้นฐานของบล็อกเชนนี้ ทำได้ง่ายที่สุด แถมด้วยการเป็นเทคโนโลยีบล็อกเชนก็ทำให้ยากต่อการถูกโจมตี และแทรกแซงได้ เนื่องจากไม่ได้มีเซิร์ฟเวอร์ตั้งอยู่แค่ที่เดียว แต่มันกระจายแบบสาธารณะอยู่ทั่วโลก [2]
ในปัจจุบันราคาของเหรียญที่เป็นอันดับ 2 ของโลก ซึ่งก็มีราคาอยู่ที่ 2,921.88 ดอลลาร์ หรือราว 106,476.23 บาทต่อเหรียญ ซึ่งเป็นราคาของวันที่เขียนบทความ หรือวันที่ 8 กรกฎาคม 2024 โดยเหรียญนี้เคยพุ่งไปเกือบ 5000 ดอลลาร์เลยทีเดียว ซึ่งเหรียญนี้ก็อยู่ที่อันดับ 2 ของโลกมาโดยตลอด พร้อมมีรายละเอียดที่สำคัญต่างๆ ดังนี้
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ coinmarketcap
หัวข้อนี้ก็เป็นการเปรียบเทียบความแตกต่างของสองเหรียญอันดับ 1 และ 2 ซึ่งสิ่งที่ทำให้เห็นความแตกต่างระหว่างอีเธอเรียมกับบิตคอยน์เริ่มตั้งแต่ โดยจุดมุ่งหมายของเหรียญทั้งสองก็มีความแตกต่างกัน ของบิตคอยน์จะเป็นระบบที่มุ่งเน้นการรักษา และการส่งต่อมูลค่า แต่กับอีเธอเรียมจะมุ่งเน้นไปที่เชนต้นแบบในการพัฒนา และสร้างแอปพลิเคชันด้วย Smart Contract
โดยฟังก์ชันสัญญาอัจฉริยะบน Ethereum นั้นมีประสิทธิภาพการทำงาน และอิสระที่มากกว่าทาง Bitcoin และแม้ว่าบิตคอยน์จะสามารถสร้างสัญญาอัจฉริยะได้ที่ลำบากกว่า แถมยังมีค่าธรรมเนียมที่สูงกว่ามาก พร้อมภาษาในการใช้งานบิตคอยน์ ที่ไม่เหมาะต่อการสร้างสัญญาอัจฉริยะเหมือนอีเธอเรียม [3]
เนื่องจากว่าการใช้ระบบ POW แบบเก่านั้น สามารถรับจำนวนธุรกรรมได้ราวๆ 1,500 ธุรกรรมต่อ 10 นาที โดย 1 วันก็จะรองรับได้ 1 ล้าน ธุรกรรม และหากจะต้องการใช้งานก็จะต้องใส่ค่า Gas เข้าไปเพิ่ม ซึ่งก็จะให้ผลตอบแทนที่ไม่คุ้มกับรายย่อยเท่าไหร่ ซึ่งยิ่งโตเท่าไหร่ มันก็จะดีต่อกลุ่มวาฬ หรือแค่กับรายใหญ่อย่างเดียว
ที่มา: Ethereum(ETH) คืออะไร? ทุกอย่างที่คุณจำเป็นต้องรู้ [4]
เหรียญที่ใช้จ่ายค่าธรรมเนียมในเชนหลัก ที่มีมูลค่ามากเป็นอันดับ 2 ของโลก แถมเชนหลักนี้ยังเป็นพื้นฐานของ เชนอื่นๆ และ dApp ทั้งหลาย เป็นบ่อเกิดธุรกิจใหม่ๆ เกี่ยวกับโลกการเงินแบบกระจายอำนาจ และไร้ตัวกลาง จากการเป็นบล็อกเชน Open source ที่สามารถกำหนดเงื่อนไขต่างๆ หรือ Programable ได้อย่างอิสระ