เหรียญ อาฟ แพลตฟอร์มกู้ยืมคริปโตที่ใหญ่ที่สุดในโลก DeFi

เหรียญ อาฟ

เหรียญ อาฟ (AAVE) อีกหนึ่งเหรียญในประเภทของ เหรียญกลุ่ม DeFi ที่สร้างความฮือฮาบนเครือข่ายบล็อกเชน Ethereum มาช่วงหนึ่ง ซึ่งยังมีแพลตฟอร์มบริการทางการเงินแบบไร้ตัวกลางของตัวเอง ที่เอื้อต่อผู้ใช้งานในการใช้บริการทางการเงินต่างๆ ของผู้ใช้ อย่างการกู้ยืม การปล่อยกู้และอื่นๆ อีกมากมายโดยไม่ต้องมีตัวกลางมาคอยควบคุม พร้อมถูกพูดถึงเป็นอย่างมากในวงการตลาดคริปโตปี 2021

ประวัติ AAVE เหรียญประจำแอป DeFi ในช่วงต้นปี 2020

เหรียญที่มีชื่อว่า Lend โดยถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2017  จากผู้ก่อตั้ง Stani Kulechov เป็นเหรียญที่ใช้ในแพลตฟอร์มกู้ยืมเงินของตัวเองที่พัฒนามาพร้อมๆ กัน ซึ่งในปีเดียวกันนั่นเอง เชนหลักของโลก DeFi อย่างอีเธอเรียมเผชิญตลาดขาลงในปี 2017 เหรียญนี้จึงได้รับผลกระทบไปด้วย ก่อนที่จะเร่งปฏิรูประบบใหม่ และเปลี่ยนชื่อเป็น Aave Protocol ในช่วงต้นปี 2018 นั่นเอง

ซึ่งอาฟโปรโตคอลนี้ก็ยังทำงานอยู่บนเครือข่ายของบล็อกเชน Ethereum ผ่านระบบสัญญาอัจฉริยะ เพื่อการดำเนินการทำธุรกรรมต่างๆ โดยเฉพาะการธุรกรรมระหว่างผู้ให้กู้ และผู้ยืม ซึ่งได้รับความนิยมหลังจากนั้นมาถึงจุดสูงสุดอย่างปี 2021 จากการที่ตัดตัวกลางออกไปที่มีการเก็บค่าธรรมเนียมที่สูง และการดำเนินการธุรกรรมที่ช้าเป็นวัน [1]

การทำงานของ เหรียญ อาฟ ที่มีความคล้ายกับธนาคาร

ในส่วนของการทำงานของอาฟที่ว่าเป็นธุรกรรมที่ตัดธนาคารออกไป แต่กลไกของมันก็มีความคล้ายคลึงกับกลไกของธนาคารพอสมควร โดยสิ่งที่เหมือนกันก็คือ การเชิญชวนให้ผู้คนมาฝากเงินในระบบ แลกกับการที่ระบบจะจ่ายดอกเบี้ยให้ และเงินที่รับฝากไว้ ก็จะเอาไปปล่อยกู้ และคิดอัตราดอกเบี้ยมา ซึ่งการที่มันทำงานอยู่บนบล็อกเชน รายละเอียดของการทำงานจึงมีความแตกต่างอยู่ไม่น้อย

  • ทางอาฟจะเปิดรับฝากโทเคนต่างๆ บนบล็อกเชนได้ถึง 7 เครือข่ายโดยแลกกับผลตอบแทนจากมูลค่าที่ฝากไว้ และอาฟก็จะนำโทเคนที่มีผู้คนมาฝากไว้ไปปล่อยกู้ ซึ่งก็จะคิดดอกเบี้ยเพิ่มเติมที่สูงกว่าผลตอบแทนที่จ่ายให้ผู้ฝากนั่นเอง
  • แต่สิ่งที่ทำให้อาฟมีความแตกต่างจาก ธนาคารหรือแพลตฟอร์มกู้ยืมเงินทั่วไปคือ การมีสัญญาการกู้ที่จะไม่ได้มีระยะเวลากำหนดว่าสามารถกู้ยืมได้กี่วัน  ไม่ได้กำหนดการชำระหนี้ว่าจะจ่ายเป็นงวด หรือก้อนเดียว การชำระหนี้จึงสามารถทำได้อย่างยืดหยุ่น
  • และการฝากเงินในธนาคาร เงินของผู้ฝากก็จะอยู่ภายใต้การดูแลของธนาคาร และไม่สามารถทำอะไรกับเงินได้ แต่กับอาฟมีระบบ interest-bearing token ที่จะให้ผู้ใช้เป็นเหรียญที่ขึ้นต้นด้วย A เช่น aETH, aUSDC ซึ่งหากจะถอนมาใช้ก็ทำได้ทุกเมื่อ
  • ในระบบการกู้ของโลก DeFi เป็นการกู้แบบ overcollateralization กล่าวคือผู้ต้องการกู้เงิน จะต้องมีการฝากคริปโตบางอย่างไว้เพื่อเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน และต้องฝากให้มูลค่าที่มากกว่าจำนวนที่ต้องการจะกู้เล็กน้อย จึงหายห่วงในเรื่องการเบี้ยวชำระ

ที่มา: Aave: แบงก์ใหญ่แห่งโลก DeFi [2]

เทคโนโลยี และกลไกต่างๆ ในแพลตฟอร์มของอาฟ 

ปัจจุบันทางแพลตฟอร์มกู้ยืมของอาฟ เปิดให้ใช้บริการในรูปแบบเว็บ โดยในกลไกต่างๆ ที่ช่วยเสริมด้านการทำงานของเหรียญนี้ ให้เป็นตลาดเงินแบบ Decentralize ก็มีการนำเอาเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ในทำงานของ Protocol ซึ่งก็ยังถูกแบ่งรายละเอียดย่อยออกมาอีกด้วย ในกลไก และเทคโนโลยีต่างๆ ที่เข้ามาช่วยทำงานก็มีดังต่อไปนี้

  • High Efficiency Mode กลไกที่มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการจะเพิ่มประสิทธิภาพ ในรายละเอียดของการฝากสินทรัพย์ค้ำประกัน ก่อนจะยืม ระบบนี้ต้องการสร้างความแฟร์ระหว่างให้กับผู้ใช้งานในฝั่งผู้กู้ยืม และฝั่งผู้ปล่อยกู้นั่นเอง
  • Isolation Mode  ระบบการทำงานนี้มีจุดประสงค์ในการป้องกันความเสี่ยงในตัวโทเคนใหม่ที่ถูกเพิ่มเข้ามาในโปรโตคอล เพราะในหลักการของโปรโตคอลนี้ จะมีการจำกัดสิทธิ์สำหรับผู้กู้  อย่างในกรณีที่ทำการใช้โทเคนใหม่นั้นเป็นสินทรัพย์ค้ำ ผู้กู้ก็จะสามารถกู้โทเคนได้แค่บางตัวเท่านั้น
  • Yield and Collateral Swaps  กลไกในการเพิ่มอิสระให้ในทุกการทำธุรกรรมของผู้ใช้งาน ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้กู้ที่สามารถทำรายการเลือกเปลี่ยนโทเคนที่นำมาค้ำประกันได้ตลอดเวลา ซึ่งประโยชน์ของมันก็คือการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ liquidation หรือบังคับให้ Liquidated ที่สินทรัพย์นั้นๆ จะถูกบังคับขายโดยอัตโนมัติมาเป็นเงิน
  • Flash Loans หนึ่งในกลไกที่ถูกพูดเยอะในวงการคริปโต เนื่องจากว่าเป็นรูปแบบเงินกู้ที่ไม่มีหลักประกันรายแรกของกลุ่ม DeFi ทั้งหมด และถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยให้กู้ยืมได้ทันที ไม่ต้องยื่นหลักประกันใดๆ ไม่มีระบบเครดิต เหมือนระบบการทำงานแบบเก่าอย่างธนาคาร

ที่มา: AAVE Coin คืออะไรและดีไหม น่าลงทุนหรือไม่ [3]

ราคา AAVE เหรียญอันดับ 53 ที่มูลค่ากว่า 100 ดอลลาร์

ราคาของเหรียญนี้ในปัจจุบันก็ถือว่ามีราคาต่อเหรียญที่สูงไม่น้อย และตลอด 3 ปีที่ผ่านมาก็ยังมีมูลค่าที่คงที่มาโดยตลอด ซึ่งปัจจุบันราคาของเหรียญนี้ก็อยู่ที่ 107.02 ดอลลาร์ หรือราวๆ 3,829.66 บาทต่อเหรียญเลย อ้างอิงจากเว็บไซต์ coinmarketcap 31 กรกฎาคม 2024 โดยมีมูลค่าตลาดที่สูงกว่า 1 พันดอลลาร์ทำให้เหรียญนี้มาอยู่ในอันดับที่ 53 ของเหรียญทั้งหมด

  • มูลค่าตามราคาตลาด: 1.59 พันล้านดอลลาร์
  • ปริมาณการซื้อขายในหนึ่งวัน: 129.47 ล้านดอลลาร์
  • อุปทานหมุนเวียนของระบบ: 14.88 ล้านเหรียญอาฟ
  • อุปทานสูงสุด: สร้างแล้ว และถูกล็อกไว้ที่ 16 ล้านเหรียญอาฟ

ดูรายละเอียดของเหรียญนี้เพิ่มเติมที่ coinmarketcap

จุดแข็ง จุดอ่อนของอาฟคอยน์ ในเรื่องการใช้งาน

โดยในด้านของจุดเด่นและข้อสังเกตของเหรียญนี้ด้วยความเป็นเหรียญต้นแบบในวงการการกู้ยืมแบบกระจายอำนาจ จึงมีข้อได้เปรียบมากมายที่ระบบที่แข็งแกร่ง และมีจำนวนผู้ใช้งานที่เหนียวแน่น แต่เทคโนโลยีนี้ในโลกก็ยังถือเป็นเรื่องใหม่อยู่มากจึงอาจทำให้ตัวเหรียญนี้มีข้อจำกัดบางประการอยู่ด้วย ซึ่งรายละเอียดของจุดแข็ง-จุดอ่อนก็มีดังนี้

จุดแข็ง

  • อาฟ ด้วยการที่เป็นตลาดเงินรายแรกที่จ่ายดอกเบี้ยให้ในรูปแบบ อัตราการใช้ประโยชน์ ซึ่งหากมีการใช้สินทรัพย์เกือบทั้งหมดในกลุ่ม อัตราดอกเบี้ยจะสูงขึ้นอัตโนมัติ และทำให้ดึงดูดผู้ให้บริการสภาพคล่องให้มีการฝากเงินเพิ่ม และกลับกันหากไม่มีการใช้สินทรัพย์ในกลุ่มใดเลย อัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บจะต่ำลงเพื่อดึงดูดการกู้ยืมให้เพิ่มขึ้น
  • แพลตฟอร์มนี้ก็ยังเป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มกระจายอำนาจ ที่มีสภาพคล่องสูง โดยในระบบยังสามารถทำงาน และรองรับเหรียญดิจิทัลได้หลากหลายสกุลเลย
  • นโยบายที่เอื้อโอกาสให้ผู้ใช้ ซึ่งเปิดให้ผู้ใช้สามารถเลือกทำการสลับกับอัตราผลตอบแทนแบบคงที่ และแบบผันแปรได้ เพื่อให้ผู้ใช้งานได้รับผลตอบแทนที่ดีที่สุดในส่วนของดอกเบี้ย
  • แพลตฟอร์มรุ่นใหม่ในโลก ที่มีความยุติธรรมให้กับสองฝ่ายอย่าง ผู้ใช้งานยืม และปล่อยกู้จากระบบสัญญาอัจฉริยะ พร้อมความปลอดภัยมีความน่าเชื่อถือสูงจากการทำงานในเชนอีเธอเรียม

จุดอ่อน

  • อาฟเป็นระบบทุนที่ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ จากการมีข้อกำหนดให้ผู้ใช้ต่างๆ ต้องมีทุนสำรองอยู่มาก เพื่อขอรับเงินกู้ จึงทำให้ผู้ใช้รายย่อยเข้าถึงได้ยากจึงมีการใช้งานที่น้อย

ที่มา: AAVE Coin คืออะไรและดีไหม น่าลงทุนหรือไม่ [3]

แพลตฟอร์มอื่นๆ ที่ถูกสร้างขึ้นมาโดย Aave

Aavegotchi เกม NFT ที่สร้างขึ้นโดยทีมงาน Aave ร่วมกับสตูดิโอสร้างเกมจากสิงคโปร์ Pixelcraft Studios และเป็นเกมที่เปิดให้เล่นอยู่บนบล็อกเชนของ Ethereum กับ Polygon และเกมนี้ก็ได้แรงบันดาลใจมาจาก Tamagotchi (ทามาก็อต) ที่จะให้ผู้เล่นเลี้ยงสัตว์คอยให้อาหาร อาบน้ำ เลี้ยงดูเจ้าสัตว์เลี้ยงของเราให้มันโตขึ้น เป็นการนำเกมที่ฮิตมากๆ ในช่วงยุค 90 มาสร้างในรูปแบบ NFT

Lens Protocol อีกหนึ่งแพลตฟอร์มจากอาฟ ที่ใช้งานเทคโนโลยีบล็อกเชนของ Polygon เป็นแพลตฟอร์มที่มีลักษณะเป็นกราฟที่แสดงการเชื่อมต่อของบัญชีต่างๆ ในโปรโตคอล และทำงานแบบสื่อออนไลน์อย่าง Facebook หรือ Twitter (X) เพียง Lens จะไม่มีการขอข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานเลย เพียงแค่มีกระเป๋าเงินดิจิทัลอย่าง Metamask ก็สามารถใช้งานได้ทันที [2]

สรุป เหรียญ อาฟ เหรียญแห่งการกู้ยืมยอดนิยม

เหรียญ อาฟ

แพลตฟอร์มปล่อยกู้ขนาดใหญ่ ที่มี TVL อยู่ในอันดับ Top 5 ของบรรดาแพลตฟอร์ม DApp ทั้งหลายในปัจจุบันมีฐานผู้ใช้งานที่เหนียวแน่น พร้อมยังมีการต่อยอด ขยายไปสร้างแพลตฟอร์มรูปแบบอื่นๆ ด้วยซึ่ง 3 ปีที่ผ่านมานี้เหรียญดังกล่าวนี้ ก็มีราคาที่ค่อนข้างคงที่ และสูงกว่า 100 ดอลลาร์เลย

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง