เหรียญ สแต็ค (Stacks) เครือข่ายหรือ เหรียญกลุ่ม DeFi ที่สร้างมาเพื่อใช้งานตัวบิตคอยน์กลายเป็นสินทรัพย์ที่สามารถตั้งโปรแกรมได้ แต่ไม่มีการเปลี่ยนโครงสร้างเดิม ด้วยการใช้ระบบสมาร์ตคอนแทกต์ทำงานได้ แถมยังสร้าง Dapps ต่างๆ มาใช้กับบิตคอยน์ได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติใดๆ ออกไป ซึ่งก็เป็นเหรียญที่ได้รับความนิยมจนอยู่ในอันดับ 30 ของโลก
โดยเชนนี้เริ่มต้นขึ้นมาจากการเป็นผลงานวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก ของ Muneed Ali ซึ่งเป็นการออกแบบเกี่ยวกับการระบบอินเทอร์เน็ตที่มีลักษณะเป็นเครือข่ายแบบ P2P หรือการไม่จำเป็นต้องมีตัวกลางในการส่งข้อมูล แถมยังปลอดภัยกว่า เชนนี้จึงได้ก่อตั้งในปี 2013 ในชื่อ Blockstack ร่วมกับเพื่อนอีกคนอย่าง Ryan Shea ทั้งคู่ทำหน้าที่เป็น co-CEO ของโปรเจกต์ จนกระทั่งปี 2018 Ryan ก็ลาออกไปทำธุรกิจอื่น
ที่มา: คริปโตสั้นๆ เหรียญ Stacks (STX) คืออะไร? [1]
เหรียญดังกล่าว ใช้ระบบฉันทามติที่ต่างจากเหรียญอื่นๆ ไปเล็กน้อยเพื่อจุดประสงค์บางอย่างในการนำไปใช้งานกับบิตคอยน์ คือการใช้กลไกแบบ Proof-of-Transfer หรือ PoX ที่เป็นระบบคล้ายคลึงกับกลไกยอดนิยมอย่าง Proof-of-Stake อย่างการวางสินทรัพย์เป็นเหรียญประจำเครือข่ายนั้นไปค้ำประกัน เพื่อแลกกับค่าตอบแทนบางอย่าง ซึ่งจะมีผู้มีส่วนร่วมหลักๆ สองส่วน
Miners
Stackers
ด้วยกลไกแบบนี้ สแต็คจึงสามารถเพิ่มคุณสมบัติด้านความปลอดภัยจากกลไกแบบ Proof-of-Work ของ Bitcoin เข้าไปช่วยในส่วนของการยืนยันความถูกต้อง แปลว่าในทุกๆ ธุรกรรมที่เกิดขึ้นบนบล็อกเชนของ Stacks มันก็จะสามารถตรวจสอบได้ในบล็อกเชนของบิตคอยน์ด้วยนั่นเอง
ที่มา:Stacks: Smart Contract บน Bitcoin [2]
โดยในฟีเจอร์ของเหรียญตัวนี้ ที่เป็นตัวกลางที่สามารถเพิ่มฟังก์ชันหนึ่งที่บิตคอยน์ไม่มี นั่นก็คือการตั้งโปรแกรมได้ หรือระบบสัญญาอัจฉริยะ อันนำไปสู่การทำงานในบรรดา Dapps ทั้งหลายได้ ให้เกิดธุรกรรมแบบซับซ้อนได้ อย่างการกู้ยืม การสร้าง NFT และอื่นๆ มากมาย โดย จากคุณสมบัติที่หลากหลายดังนี้
ที่มา: Stacks คืออะไร และจะซื้อโทเค็น STX ได้อย่างไร? [3]
ในส่วนของราคา เหรียญนี้ก็ไม่ได้มีความโดยเด่นมากนัก ในด้านของการรักษามูลค่า หรือเพิ่มมูลค่าเหมือนบิตคอยน์ ซึ่งก็ทำให้ง่ายต่อการเข้าถึง และยังไม่ผันผวนแรงเท่ากับเหรียญอื่นๆ ซึ่งราคาในปัจจุบันอ้างอิงจากเว็บไซต์ Coinmarketcap ก็มีราคาอยู่ที่ 1.42 ดอลลาร์ หรือประมาณ 49.89 บาทต่อเหรียญเท่านั้น โดยรายละเอียดอื่นๆ ก็มีดังนี้
เข้าไปดูรายละเอียดเกี่ยวกับราคาเพิ่มเติมที่ coinmarketcap
บล็อกเชนดังกล่าวนี้ก็เพิ่งมีการอัปเกรดครั้งใหญ่ไป โดยมีการตั้งชื่อเวอร์ชันว่า Stacks 2.1 ซึ่งก็เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการเชื่อมต่อกับบล็อกเชนอื่นๆ ด้วยฟังก์ชัน bridges และเพิ่มการอำนวยความสะดวกในธุรกรรมข้ามบล็อกเชนไปด้วย ซึ่งการอัปเกรดที่น่าสนใจก็จะมีหลักๆ ดังต่อไปนี้
ที่มา:Stacks: Smart Contract บน Bitcoin [2]
โดยปกติของผู้ใช้งาน หรือผู้พัฒนาแอป Defi ต่างๆ ของวงการคริปโตก็ล้วนทราบกันดีว่า Ethereum คือเป็นผู้นำในด้าน ตัวเลือกการทำสัญญาแบบ Smart contract ซึ่งการมาของสแต็คที่สามารถเขียนโปรแกรมอันซับซ้อน หรือทำสัญญาอัจฉริยะลงไปในเหรียญอันดับ 1 อย่างบิตคอยน์ได้ จึงดึงดูดความสนใจของนักพัฒนาได้พอสมควร ในช่วงปี 2021 ที่ผ่านมา
มันจึงส่งผลให้ราคาสแต็คปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นกว่า 195% ไปอยู่ที่ $1.47 ในวันที่กลางปี 2021 ที่มีการออกโปรเจกต์ DeFi บนเครือข่ายบิตคอยน์ได้ และทางเหรียญบิตคอยน์เองในช่วงนั้น ก็เริ่มแสดงโมเมนตัมของขาขึ้น STX จึงขยับตัวเพิ่มขึ้นไปอีกกว่า 10% ซึ่งในอนาคตหลังการอัปเกรดนี้ อาจต้องจับตาดูโปรเจกต์ใหม่ๆ ในเหรียญอื่นๆ ด้วย อาจทำให้มีราคาที่สูงขึ้นอีก [4]
เชนในฐานะเลเยอร์ Bitcoin ที่เข้ามาช่วยในเรื่องของความสามารถในการปรับขนาด ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จากการใช้เทคโนโลยี Smart contract ให้ตัวบิตคอยน์ หรือเหรียญอื่นในเลเยอร์เดียวกัน กลายเป็นสินทรัพย์ที่สามารถตั้งโปรแกรมได้อย่างสมบูรณ์ โดยไม่ต้องเปลี่ยนโครงสร้างเดิมที่แข็งแกร่งอยู่แล้วเลย