เหรียญ สมาร์ทคอนแทกต์ ต้นแบบการแลกเปลี่ยนที่แฟร์ๆ

เหรียญ สมาร์ทคอนแทกต์

เหรียญ สมาร์ทคอนแทกต์ (Smart Contract) คือเหรียญที่ถูกออกแบบมา ให้เป็นเครือข่ายบล็อกเชนที่สามารถใช้เขียนโปรแกรมลงไปได้ ซึ่งเหรียญต้นแบบและยังเป็นพื้นฐานตัวสำคัญของหลายๆ คริปโตอย่าง เหรียญ ส่งต่อมูลค่า หรือเหรียญมีมต่างๆ ก็คือ Ethereum ที่พัฒนาระบบนี่เกิดขึ้น ทำให้นักพัฒนาสามารถสร้างแอปพลิเคชันแบบกระจายศูนย์ ที่เรียกว่า dApp รวมถึงแพลตฟอร์ม DeFi ขึ้นบนเครือข่ายอีเธอเรียม

เหรียญ สมาร์ทคอนแทกต์ คืออะไร

สัญญาอัจฉริยะถูกคิดค้นขึ้นครั้งแรกช่วงปี ค.ศ. 1990 ให้มีระบบแบบ P2P (Peer to peer) ที่เป็นต้นแบบให้เกิด เหรียญ ส่งต่อมูลค่า ตามมา ที่มีมานานแล้ว ซึ่งนำมาใช้กับคริปโต ด้วยการเขียนโค้ดเพื่อระบุข้อตกลงระหว่างบุคคล ใกล้เคียงกับสัญญาบนโลกแห่งความเป็นจริง แต่ถูกสร้างเป็นรูปแบบดิจิทัล ที่สะดวกกว่า ปลอดภัย โปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยที่ไม่จำเป็นที่จะต้องพึ่งพาคนกลางแต่อย่างใด [1]

  • สัญญาอัจฉริยะ คือสคริปต์หนึ่งที่ทำให้การดำเนินการเฉพาะเป็นสัญญาระหว่างสองฝ่ายเป็นไปโดยอัตโนมัติหากเงื่อนไขต้องทั้งหมด
  • สัญญาอัจฉริยะไม่มีภาษาทางกฎหมาย หรือข้อกำหนดใดๆ มาผูกมัด มีเพียงการเข้ารหัสที่จะดำเนินการเมื่อตรงตามเงื่อนไขที่ระบุไปแล้วเท่านั้น เปลี่ยนแปลงและปลอมแปลงได้ยากมาก

ระบบนี้จึงเกิดเป็นการเขียนข้อตกลงไว้ก่อนที่แฟร์ๆ ขึ้นมาได้ ตัวอย่างเช่นมีคนทายว่าหาก Luna ราคาตกมาต่ำกว่า 1 ดอลลาร์ก็จะโอนให้ 1 ล้านบาท แต่ถ้าไม่อีกฝ่ายก็จะโอนมาแทน หากเงื่อนไขเกิดขึ้นระบบก็จะโอนทันทีที่เงื่อนไขผ่าน ซึ่งเหรียญตัวอย่างในปัจจุบันก็สามารถทำสัญญาแบบนี้ได้เกือบทั้งหมด แต่เหรียญที่โดดเด่นจริงๆ ก็จะมีดังนี้

เหรียญ อีเธอเรียม ต้นกำเนิดของแอป Defi ต่างๆ

เหรียญ อีเธอเรียม (Ethereum) คือเหรียญดิจิทัลที่มีขนาดใหญ่ และเป็นอันดับสองของโลกที่เปิดตัวในปี 2015 ซึ่งได้มีการออกโทเคนอีเธอร์ (ETH) ขึ้นมา เพื่อใช้บริการบน Ethereum สำหรับผู้พัฒนาแอปต่างๆ ใช้เป็นค่าบริการสำหรับ Transaction ซึ่งปัจจุบันก็มีแอป Defi ต่างๆ เกิดขึ้นมามากมายจากการใช้งานของเชนนี้

  • เดิมทีอีเธอเรียมใช้ระบบฉันทามติแบบ Proof-of-work  แบบเดียวกับบิตคอยน์ ซึ่งภายหลังก็ได้เปลี่ยนไปเป็นแบบ Proof-of-Stake เพื่อการรองรับธุรกรรมที่มากขึ้น และตอบโจทย์ธีมประหยัดพลังงานไปในตัว
  • โปรเจกต์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเชนนี้ จากการใส่เงื่อนไขต่างๆ ลงไปได้หรือ Programable โปรเจกต์ส่วนใหญ่ก็มุ่งเน้นไปที่การกระจายศูนย์ ของระบบการเงิน ซึ่งก็ทำให้คริปโตสามารถให้กู้ ฝากรับดอกเบี้ย และการฝากรับผลตอบแทนต่างๆ ได้อย่าง Borrowing, Earning หรือ Interest โดยที่ไม่ต้องเก็บข้อมูลส่วนบุคคลใดๆ

ที่มา: Ethereum(ETH) คืออะไร? ทุกอย่างที่คุณจำเป็นต้องรู้ [2]

เหรียญ คาร์ดาโน่ จากอดีตผู้ร่วมก่อตั้ง Ethereum 

เหรียญ คาร์ดาโน่ (Cardano) อีกเครือข่ายที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการขุดที่สามารถลดการใช้ไฟฟ้าได้มากถึง 99% โดยมีอีกชื่อหนึ่งว่า ADA ซึ่งมาจาก Ada Lovelace ผู้หญิงที่ถือว่าเป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก และในการดำเนินธุรกรรมหรือรันสมาร์ตคอนแทกต์ก็จะใช้เหรียญนี้ในการชำระค่า Gas ต่างๆ ซึ่งก็มีรายละเอียดดังนี้

  • ทุกขั้นตอนของการพัฒนาเหรียญนี้จะมีการทำ Peer review ในเป็นภาพรวมให้ผู้พัฒนาต่างๆ เข้ามาช่วยกันตรวจสอบให้ประสิทธิภาพของเหรียญมีประสิทธิภาพมากที่สุด
  • โปรเจกต์ที่ถูกพัฒนาในเชนนี้ก็มีทั้งแอปการเงินต่างๆ และ GameFi ด้วย ตัวอย่างเช่นเกม NFT Drunken Dragon Games โดยเป็นตัวขับที่ส่งผลต่อเครือข่าย Cardano ให้เพิ่มสูงขึ้นได้

ที่มา: มาทำความรู้จัก ADA (Cardano) ให้มากขึ้น [3]

เหรียญ โพลกาดอท ระบบที่เป็นดั่งอินเทอร์เน็ตของบล็อกเชน

เหรียญ โพลกาดอท (Polkadot) อีกบล็อกเชนที่มีจุดประสงค์คล้ายกับ Ethereum และ Cardano โดยมีจุดน่าสนใจอย่างการเชื่อมต่อระหว่างเชน และเป็นดั่งศูนย์รวมของบล็อกเชนต่างๆ มากมายอย่าง Bridges และ Parachains ซึ่งโพลกาดอท ก็เรียกเครือข่ายของตัวเองว่าเป็น Internet of Blockchain นั่นเอง

    • บล็อกเชนนี้ เป็นเครือข่ายใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2020 โดยอดีตหนึ่งในทีมผู้สร้าง Ethereum อย่าง Gavin wood โดยมีระบบฉันทามติแบบ Nominated Proof of Stake เปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานสามารถร่วมเป็นผู้ตรวจสอบได้
    • ซึ่งเทคโนโลยีของเหรียญดังกล่าวสามารถพัฒนาความแข็งแกร่งด้านความปลอดภัยได้เรื่อยๆ จากการที่ยิ่งมีคนฝาก เหรียญในระบบที่มีมากขึ้น ก็จะทำให้มีการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างบล็อกเชนนี้ก็จะยิ่งมากขึ้น

    ที่มา: Polkadot (DOT) คืออะไร? [4]

รู้จักการโอนเงินแบบ Peer to Peer แบบไร้ตัวกลาง

ระบบการโอนที่เกิดขึ้นได้ระหว่างสองบุคคล จากเทคโนโลยีที่ถูกคิดค้นมานานตั้งแต่ปี 1979 ที่อยู่ในยุคแรกเริ่มของอินเทอร์เน็ตถือว่า P2P เป็นสิ่งที่ใหม่และน่าสนใจ ซึ่ง P2P จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ลำดับที่หนึ่งก็คือ Pure P2P เครือข่ายที่ไม่ต้องเพิ่งเซิร์ฟเวอร์ Hybrid P2P ที่ควบคุมรายละเอียดด้วยเซิร์ฟเวอร์กลาง และ Super Peer ที่ลดเวลาการโหลดข้อมูล และมีประสิทธิภาพดีที่สุด [5]

ซึ่งภายหลังก็นำมาปรับใช้กับระบบของคริปโต ที่เรียกการทำธุรกรรมแบบใหม่ที่ทำได้ง่าย รวดเร็วโดดไม่ต้องเพิ่งธนาคาร หรือตัวกลางใดๆ แบบการธุรกรรมแบบเดิม โดย Server กลางคอยรับคำสั่งจาก User และก็ทำการตอบสนองโดยเทคโนโลยีของบล็อกเชนที่แต่ละผู้ใช้ได้ทำหน้าที่เป็นทั้งผู้รับ และผู้ส่งข้อมูลในเวลาเดียวกันได้

ระบบของ สมาร์ทคอนแทกต์ ที่ดีกว่าแบบเดิม

สิ่งนี้เปรียบได้อย่างกับการทำสัญญาระหว่างบุคคลที่มีการจัดเก็บสำเนาของแยกเป็นโหนดต่างๆ ของชุดสัญญาไว้ได้ภายในบล็อกเชนที่ประกาศได้อย่างโจ่งแจ้ง ซึ่งไม่ต้องมีการนัดนักกฎหมาย หรือตัวกลางที่มาร่างสัญญาแบบสัญญาปกติ เพราะเป็นเงื่อนไขที่ที่ทั้งสองฝ่ายยินยอมทั้งสองฝ่าย เพียงแค่ต้องตรวจสอบโค้ดให้ดีก็พอ

ข้อดี และข้อเสียของระบบสัญญาอัจฉิริยะ

สำหรับสมาร์ตคอนแทกต์ เรื่องหนึ่งที่สำคัญสำหรับระบบนี้ หรือเหรียญกลุ่มนี้ก็คือ สิ่งที่สามารถสร้างผลลัพธ์หรือการโอน แบบอัตโนมัติที่จะทำงานทันทีหากเงื่อนไขทั้งสองฝ่ายตกลงไว้ ดังที่เราเขียนโค้ดไว้ได้เลย ซึ่งไม่ต้องให้คนมาทำงานหรือส่งเงินแทน ซึ่งเหรียญกลุ่มนี้ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียอยู่หลายข้อเลย

ข้อดี

  • Blockchain เป็นข้อมูลสาธารณะ ระบบนี้ยังสามารถถูกตรวจสอบ และเข้าไปไล่ดูเป็นรายการได้ เนื่องจากมันเป็น บล็อกเชนสาธารณะ ไม่ว่าใครสามารถตรวจสอบดูกระเป๋าของใครก็ได้อย่างโปร่งใส หากมี address กระเป๋าของผู้นั้น
  • ความเป็นส่วนตัว ระบบนี้ยังจะสามารถเก็บข้อมูลของผู้ใช้แต่ละคน ให้มีความเป็นส่วนตัวได้อีกด้วย โดยข้อมูลจะถูกระบุไว้แค่ชื่อกระเป๋า แต่การเข้าถึงกระเป๋าจะไม่ได้ถูกผูกติดกับหลักฐานใดๆ ในชีวิตจริง ทำให้มั่นใจได้ว่าผู้ใช้จะไม่สามารถถูกตรวจสอบตัวจริงได้
  • ตรวจสอบการทำงานได้ เนื่องจากสัญญาอัจฉริยะนั้นก็คือโค้ดที่รันในระบบ มันจึงสามารถดูได้ตั้งแต่วันแรกที่ใช้ Code ซึ่งจะเป็นแบบ Public ให้ทุกคนสามารถเข้ามาดูวิธีการทำงานได้เพื่อเป็นเหมือนพยานยืนยัน

ข้อเสีย

  • การที่ไม่มีตัวกลางในการควบคุมอะไรของระบบนี้ และมันยังอาจจะทำอะไรไม่ได้ เพราะมันคือระบบที่ไม่มีใครสามารถมาแก้โค้ดได้
  • ยังไม่มีกฎหมายรองรับการใช้งานในระบบนี้ แปลว่าหากมีอะไรที่ต้องการให้กฎหมายช่วยเหลือ ก็จะไม่สามารถทำได้ อย่างการถูกโกง หรืออะไรก็ตาม เพียงแค่ต้องระวังตัวเอง
  • ด้วยการดำเนินด้วย Code เป็นหลักทำให้เราต้องมั่นใจใน Developer ว่าโค้ดทุกบรรทัด จะไม่มีการใส่โค้ดแปลกๆ หรือมีบกพร่อง เพราะหากไม่ระวังก็จะไม่สามารถแก้ไขอะไรได้เลย

ที่มา: Smart Contract คืออะไร? [1]

เหรียญ สมาร์ทคอนแทกต์อื่นๆ ที่น่าสนใจ

สรุป เหรียญ สมาร์ทคอนแทกต์ สัญญาที่ win win ทั้งสองฝ่าย

เหรียญ สมาร์ทคอนแทกต์

เหรียญแห่งการทำสัญญาที่เป็นการนำเทคโนโลยีหลายๆ อย่างเข้าด้วยกัน อย่างการกระจายอำนาจ และความโปร่งใสของโลกคริปโต ซึ่งยังเป็นบล็อกเชนที่สามารถใส่เงื่อนไขซับซ้อนต่างๆ ได้ ให้ไม่ต้องพึ่งบุคคลที่สามมา และไม่ต้องใช้เอกสารเกี่ยวกับกฎหมายเลย

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง