เหรียญ ซีแคช บล็อกเชนที่เน้นความเป็นส่วนตัวเป็นอันดับหนึ่ง

เหรียญ ซีแคช

เหรียญ ซีแคช (ZCash) บล็อกเชนที่ขึ้นชื่อในเรื่องของ เหรียญ ส่งต่อมูลค่า ที่ออกแบบการทำธุรกรรมที่ผู้ใช้สามารถเลือกเองได้ว่าจะให้เป็นแบบส่วนตัวโดยไม่ระบุตัวตน หรือจะแสดงข้อมูลแบบสาธารณะแบบโปร่งใสได้ โดยที่ทุกธุรกรรมยังมีการตรวจสอบได้เหมือนเดิมจากโหนดอื่น กว่าหมื่นถึงแสนโหนดกระจายอยู่ทั่วโลก เหรียญนี้จึงได้รับความสนใจ และมีมูลค่าต่อเหรียญที่ค่อนข้างสูงเลยทีเดียว

ประวัติ ZCash ที่ได้รับแรงบันดาลใจจาก Bitcoin

โดยเหรียญ ZEC และบล็อกเชนนีก็เกิดขึ้นในปี 2016 โดยเป็นผลจากความพยายามร่วมกันโดยกลุ่มนักพัฒนา และวิศวกรคอมพิวเตอร์ Zooko Wilcox-O’Hearn ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากความสำเร็จของ Bitcoin เหรียญนี้จึงสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นสกุลเงินดิจิทัลที่มีความคล้ายคลึงกับเหรียญบิตคอยน์ ซึ่งสร้างขึ้นมาภายใต้ชื่อ Zerocoin ก่อนจะมาเปลี่ยนชื่อเป็นซีแคชในที่สุด

โดยมีจุดมุ่งหมาย ในการเป็นเหรียญที่มีการกระจายอำนาจและเป็นโอเพ่นซอร์ส แต่ก็ให้ความสำคัญของข้อกำหนดความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของผู้ใช้งานที่เลือกเองได้ด้วย พร้อมโครงสร้างที่น่าเชื่อถือจากรหัสพื้นฐานของ Bitcoin ด้วย ซึ่งมีการทำงาน และการขุดที่ใช้ระบบเดียวกันอย่าง PoW แบบบิตคอยน์ [1]

การทำงานของ เหรียญ ซีแคช ที่สร้างขึ้นจากฐานรหัส Bitcoin

ซีคอยน์ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า zk-SNARK ที่ช่วยให้โหนดต่างๆ ในเครือข่าย สามารถตรวจสอบธุรกรรมได้ง่ายๆ แถมยังไม่จำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลที่ละเอียดอ่อนอย่างเช่นชื่อผู้ใช้ หรือข้อมูลเกี่ยวกับธุรกรรมนั้นๆ เนื่องจากคริปโตส่วนใหญ่ จะเปิดเผยประวัติการทำธุรกรรมในแบบสาธารณะ และการถือครองทั้งหมดให้กับทุกคนใช้ตรวจสอบ ในขณะที่ซีคอยน์มีความเป็นส่วนตัวโดยสมบูรณ์

  • โดยการทำงานจะเป็นเช่นเดียวกับ Bitcoin ที่ธุรกรรมต่างๆ จะถูกโพสต์ไปยังบล็อกเชนสาธารณะ แต่ซีคอยน์จะให้ผู้ใช้มีทางเลือกในการทำธุรกรรมที่เป็นความลับได้ ช่วยให้สามารถตรวจสอบธุรกรรมได้โดยไม่ต้องเปิดเผยชื่อผู้ส่ง กับผู้รับได้
  • ซึ่งเพื่อการตรวจสอบความถูกต้อง เชนนี้จึงมีฟีเจอร์ที่มีการเปิดเผยข้อมูลเฉพาะภายในเหรียญนี้เท่านั้น โดยจะอนุญาตให้ผู้ใช้แชร์รายละเอียดธุรกรรมบางอย่าง เพื่อวัตถุประสงค์ในการตรวจสอบ
  • โดยในการทำงานอย่างที่บอกไปว่าซีแคชใช้ระบบอัลกอริทึมแบบบิตคอยน์ อย่าง Proof of work แต่ก็อนุญาตให้ผู้ใช้เลือกแบ่งปันที่อยู่ และข้อมูลธุรกรรมสำหรับการตรวจสอบได้หากมีการยินยอม

ที่มา: เหรียญ Zcash (ZEC) คืออะไร? [2]

ข้อดีจากการใช้อัลกอริทึมการขุดแบบ Proof of work 

จากที่ได้อธิบายไปว่าในระบบมีการใช้อัลกอริทึมการขุดแบบ PoW ที่ให้นักขุดต่างๆ จะได้รับมอบหมายหน้าที่ให้แก้สมการที่ซับซ้อน เพื่อสิทธิ์ในการตรวจสอบบล็อกธุรกรรมบล็อกใหม่ที่เข้ามาในระบบ ซึ่งผู้ที่ถอดรหัสเป็นคนแรกสำเร็จจะได้รับสิทธิพิเศษในการเพิ่มบล็อก และได้รับรางวัลการขุดเป็นการตอบแทนนั่นเอง ซึ่งประโยชน์จากกลไกนี้ก็มีข้อดีอีกไม่น้อย

  • ต้นทุนการทำธุรกรรมที่เอื้อมถึง

ข้อได้เปรียบที่สำคัญของเครือข่ายนี้อยู่ที่ความมุ่งมั่นในการรักษาค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมให้ถูกที่สุด โดยเริ่มที่ 0.0001 โทเค็นเท่านั้นนี่จะเป็นข้อเสนอตัวเลือกในการใช้สกุลเงินดิจิทัลที่คุ้มค่าที่สุดตัวหนึ่ง

  • ความที่ปลอดภัย

สิ่งที่โดดเด่นอีกอย่างก็คือการมีคุณสมบัติของการบันทึกช่วยจำที่เข้ารหัสไว้ ซึ่งจะมีช่องบันทึกช่วยจำที่อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถฝังข้อความไว้ได้อย่างปลอดภัย บันทึกดังกล่าวสามารถใช้เพื่อการสื่อสาร ทั้งด้านคำแนะนำ หรือการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติตามข้อกำหนดเฉพาะ

  • ข้อกำหนดสำหรับการควบคุมความโปร่งใส

ผู้ถือก็จะได้รับการป้องกันที่สามารถเปิดเผยข้อมูลเฉพาะของธุรกรรมตามความต้องการด้านกฎระเบียบ ซึ่งการทำธุรกรรมก็สามารถตรวจสอบได้ โดยสามารถเปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับธุรกรรมที่ได้รับและบันทึกที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถแสดงรายละเอียดธุรกรรมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่ได้

ที่มา: ZCash: มันคืออะไร? [1]

ราคา ZEC กับรายละเอียดของเหรียญที่มีความส่วนตัวที่สุด

ราคาของเหรียญนี้นับว่าเป็นอีกหนึ่งเหรียญที่มีมูลค่าต่อเหรียญที่ค่อนข้างสูงโดยราคา ณ ปัจจุบัน หรือวันที่เขียนบทความนี้ก็อยู่ที่ 42.13 ดอลลาร์ หรือประมาณ 1,440.00 บาท ซึ่งในเรื่องของสถิติที่สูงสุดตลอดการ ก็เคยพุ่งขึ้นไปสูงมากๆ ถึง 5,941.80 ดอลลาร์เลยทีเดียว ซึ่งในเรื่องของมูลค่าก็มีรายละเอียดดังนี้

  • มูลค่าตามตลาดรวม: 687.58 ล้านดอลลาร์
  • ปริมาณการซื้อขายใน 24 ชั่วโมง: 78.53 ล้านดอลลาร์
  • Supply หรือจำนวนเหรียญที่หมุนเวียนในระบบ: 16.33 ล้านโทเค็น
  • Max Supply: 21 ล้านโทเค็น

เข้าไปดูรายละเอียดเกี่ยวกับราคาเพิ่มเติมที่ coinmarketcap

รายละเอียดของทีมงานที่กำลังพัฒนาเหรียญ ซีแคช 

ZCash เป็นโปรเจกต์ของ Electric Coin ซึ่งเป็นบริษัทที่เน้นความเป็นส่วนตัว คณะกรรมการในบริษัทที่นำโดยผู้ก่อตั้งอย่าง Zooko Wilcox, Andrew McLaughlin และ Alan Fairless ซึ่งก็ยังมีเสาหลักที่เป็นทีมงาน และที่ปรึกษารวมไปถึงผู้ก่อตั้งจาก Ethereum ก็มีรายชื่อดังนี้ 

  • Alessandro Chiesa – UK Berkeley
  • Christina Garman – John Hopkins University
  • Eli Ben-Sasson – Technion
  • Eran Tromer – Tel Aviv University
  • Ian Miers – John Hopkins University
  • Madars Virza – MIT
  • Matthew Green – John Hopkins University

ที่มา: Zcash คืออะไรและมันทำงานอย่างไร? [3]

ประโยชน์ของหารใช้งาน ZCash มีอะไรบ้างที่น่าสนใจ

ตามกรอบการทำงานของเหรียญนี้ที่เหมือนกับบิตคอยน์ ดังนั้นในเรื่องของประโยชน์ในการใช้งานเหรียญนี้จึงมีอยู่ไม่น้อย นอกจากการรักษาความลับ และข้อได้เปรียบที่เป็นเอกลักษณ์อย่างค่าธรรมเนียมที่น้อยมาก ที่น้อยเพียง 0.00001 โทเค็นเท่านั้น แม้กระทั่งในตอนที่เครือข่ายมีความหนาแน่นไปด้วยธุรกรรม ค่าธรรมเนียมก็ยังคงน้อยว่าดอลลาร์อยู่ดี พร้อมประโยชน์อื่นๆ อีกดังนี้

  • การเซนเซอร์ และการป้องกันการโจมตี เนื่องจากบล็อกเชนที่เป็นรูปแบบของการกระจายอำนาจ เครือข่ายจึงมีการเซนเซอร์และมีการปลอดภัยสูงจากทางอินเทอร์เน็ต แถมการที่ไม่มีผู้มีอำนาจกลางก็ยังทำให้ไม่มีการจ้าง หรือทำการทุจริตใดๆ เพียงคนเดียวได้ 
  • ความเป็นไปได้ในการตรวจสอบบัญชี หากผู้ใช้งานเลือกที่จะเปิดเผยข้อมูลของตนเอง มาสู่บุคคลที่สาม หรือในแบบสาธารณะเพื่อการตรวจสอบบัญชี ก็สามารถทำได้ และยังรักษาความเป็นส่วนตัวในขณะที่มีการตรวจสอบตามระบบด้วย
  • การยอมรับในโลกแห่งความเป็นจริง ZCash ในปัจจุบันก็กลายเป็นสกุลเงินทางเลือกที่ใช้ และได้รับการยอมรับจากร้านค้า หรือผู้ให้บริการ และองค์กรต่างๆ กว่าร้อยแห่งทั่วโลก
  • สามารถเข้าถึงได้ง่าย หนึ่งในคริปโตที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะไม่ว่าใครก็สามารถซื้อ ZEC บนการแลกเปลี่ยนคริปโตหรือตามแพลตฟอร์มการซื้อขายชั้นนำต่างๆ ได้ แถมในด้านมูลค่าก็อยู่ในอันดับที่ 83 ของโลก

ที่มา: Zcash คืออะไรและมันทำงานอย่างไร? [3]

สรุป เหรียญ ซีแคช กับตัวเลือกในการทำธุรกรรมได้อิสระ

เหรียญ ซีแคช

เหรียญท็อป 100 ของบรรดาเหรียญคริปโตทั้งหมดโดยมีมูลค่าต่อเหรียญที่สูงกว่า 1400 บาทต่อเหรียญ ที่ออกแบบการทำธุรกรรมที่ผู้ใช้สามารถเลือกเองได้ว่าจะเลือกแบบปกปิดข้อมูลธุรกรรมเป็นความลับ หรือแบบสาธารณะก็ได้

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง