![คาเคาโอ้](https://pgbiz.org/wp-content/uploads/2024/06/คาเคาโอ้-1-300x169.webp)
สูตร แบ่งบัญชี ให้มีเงินใช้จ่ายตลอดทั้งในยามฉุกเฉินและในอนาคตตอนที่เราอาจหาเงินไม่ได้แล้ว โดยในบทความนี้จะเป็นการพูดถึง การออมเงินสำรอง และการลงทุนที่จะเป็นสัดส่วนแบ่งไว้ให้แล้ว อุปสรรคต่างๆ พร้อมแนะนำการลงทุนในแบบระยะยาว ที่มีสิทธิประโยชน์ด้วย
การออมอีกหนึ่ง เทคนิคการลงทุน ที่จะเป็นเงินที่เก็บไว้ในยามฉุกเฉิน อาจเป็นเงิน 2-3 เท่าของเงินเดือน โดยเมื่อเป็นเงินสำรองจึงอาจต้องเกมไว้ในที่ที่มีสภาพคล่องสูง อย่างในกระปุกหรือในธนาคารก็จะได้ดอกเบี้ยด้วย ถึงมันจะน้อยกว่าเงินเฟ้อก็ตาม เพราะเมื่อถึงเวลาจำเป็นต้องใช้จริงก็จะสามารถกดออกมาใช้ได้เลย อาจเป็นกรณีต้องรักษาตัว อุบัติเหตุ หรือตกงานก็จะสามารถใช้เงินส่วนนี้ได้เลย
โดยเงินส่วนนี้ก็จะแบ่งสัดส่วนเป็น 10% เก็บไว้ทุกเดือน เพื่อวางแผนการเงินไว้เป็นเงินสำรองฉุกเฉิน เผื่อกรณีที่ไม่มีรายได้เข้ามา แต่รายจ่ายก็ยังมีเหมือนเดิมได้ 1-2 เดือนพอตั้งตัวใหม่ได้ โดยการออมก็จะมีหลายแบบ และอาจมาสภาพคล่องต่างกันด้วย
การออมเงินของแต่ละคนแตกต่างกันออกไปอย่างในบทนี้ก็จะเป็นเงินสำรอง ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญมากที่สุด หรืออาจจะเป็นเรื่องรองลงมาอย่าง เงินเที่ยว หรือของจำเป็นที่อยากได้ ในเป้าหมายต่างๆ ก็จะมีประเภทของการออมแตกต่างกันได้ด้วย อย่างเช่นของที่อยากได้ก็อาจเหมาะกับฝากประจำ หากทำเงินครบก็จะถอนออกมาซื้อของได้พร้อมดอกเบี้ยที่สูงกว่า
ที่มา: มนุษย์เงินเดือนต้องรู้! 3 ประเภทบัญชีเงินฝาก ดอกเบี้ยต่างกันอย่างไร [1]
เงินเฟ้อ ก็คือการสังเกตเห็นว่าราคาสินค้า และบริการโดยเฉลี่ย มีการปรับเพิ่มขึ้น หรือแพงกว่าเดิม และที่สำคัญขึ้นแล้วไม่มีลงด้วย และยิ่งเปรียบเทียบกับเมื่อก่อนก็จะยิ่งเห็นความแตกต่างมาก ซึ่งเงินเฟ้อนี้เองที่จะทำให้ทุกๆ ปีเราจะต้องจ่ายเงิน/ใช้เงินเพิ่มขึ้นทีละนิดๆ การเก็บเงินไว้เฉยๆ จึงอาจลดมูลค่าของมันได้ทีละนิดๆ โดยเงินเฟ้อก็จะเฉลี่ย 3-4% ซึ่งอาจต้องหาการลงทุนที่รักษามูลค่าหรือกำไรได้
สาเหตุของเงินเฟ้อ
ที่มา: เงินเฟ้อ (Inflation) คืออะไร? เข้าใจสาเหตุพร้อมผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการลงทุน [2]
หลังจากเห็นปัญหาของเงินเฟ้อไปแล้วก็อาจพอเห็นภาพว่าการออมเงินอย่างเดียวก็อาจไม่ตอบโจทย์มากเท่าที่ควร ในอีกสัดส่วนที่ต้องแบ่งไปลงทุนบ้างก็ควรมาการจัดสรรอย่างดี โดยเราจะให้สัดส่วนจากเงินเดือนมา 40% โดยจะแบ่งระยะการลงทุนออกเป็น 3 ระยะไว้ดังนี้กับการลงทุนที่อาจได้ผลตอบแทนเป็น 5-9% ขึ้นอยู่กับเวลาด้วย และแน่นอนว่ามากกว่าการออมในธนาคาร สู้กับเงินเฟ้อได้สบายๆ
เป็นการแบ่งเงินมาในสัดส่วน 40% ของการออมจากเงินเดือนเต็ม เมื่อหักลบกับเงินเก็บแล้วก็จะเป็น 50% ยกตัวอย่างแบ่งมาได้ 8000 และอีกครึ่งก็เป็นเงินใช้ในชีวิตประจำวันดูแลตัวเองให้ไปถึงเงินอนาคตให้นานที่สุด โดยส่วนของการลงทุนก็จะแบ่งไว้ 3 ระยะดังนี้
ที่มา: สูตรแบ่งเงินเดือน ให้มีเงินเก็บ ควรแบ่งใช้-เก็บยังไงดี? [3]
ซึ่งนอกจากที่ทางเหรียญ CBDC กับคริปโตจะมีความแตกต่างกันแล้วในเรื่องของ การรวมอำนาจ แถมยังมีจุดประสงค์ ข้อดี ข้อเสียอื่นๆ ประกอบด้วย โดยก็เป็นข้อได้เปรียญและเสียเปรียบตามแต่ละสถานการณ์
KFGGRMF
คัดเลือกหุ้นรายตัวผ่านมุมมองของผู้เชี่ยวชาญของอุตสาหกรรมนั้นๆ โดยเฉพาะ โดยรวมหุ้นที่มีพื้นฐานดี และมีโอกาสเติบโตสูงในระยะยาว พร้อมการปรับพอร์ตอัตโนมัติ แบบเรียลไทม์ แถมยังสามารถลดหย่อนภาษีให้ได้ด้วย
B-INNOTECHRMF
ลงทุนกับหุ้นเทคโนโลยีทั่วโลก เป็นบริหารแบบ Active จึงเน้นการปรับพอร์ตการลงทุนเป็นพิเศษ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และอาจมีโอกาสการเติบโตที่ดีภายใต้ความผันผวน และแน่นอนว่าลดหย่อนภาษีได้ ความเสี่ยงมากกว่ากองทุนแรก 1 ระดับ
ดูรายละเอียดหุ้นตัวอื่นเพิ่มเติมได้ที่ Finnomena
การออมอย่างมีประสิทธิภาพ แถมยังเป็นระบบที่ไม่ว่าใครก็สามารถทำได้ เพื่อใช้ชีวิตได้แบบหายห่วงทั้งยามฉุกเฉิน และหลักเกษียณไปแล้ว ซึ่งสิ่งสำคัญอีกอย่างเลยก็คือ ความมีวินัยในการออมด้วย