สินค้ากิฟเฟนกู๊ด (Giffen good) หรือ สินค้ากิฟเฟน ที่ไปขัดต่อ กฎทางเศรษฐศาสตร์ ในเรื่อง อุปสงค์-อุปทาน เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น แล้วสินค้าตัวนี้คืออะไรกันแน่ ในบทความนี้ เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับ สินค้าชนิดนี้กันมากยิ่งขึ้น
สินค้ากิฟเฟนกู๊ด เป็นกลุ่มสินค้าประเภทหนึ่ง ที่ถูกจัดโดยนักเศรษฐศาสตร์ มีลักษณะคล้ายกับสินค้าทั่วๆไป แต่มักทำให้พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภค ไม่เป็นไปตามกฎของอุปสงค์-อุปทาน ที่หากมีราคาสูง จะถูกซื้อน้อยลง และหากมีราคาถูก จะถูกซื้อมากขึ้น [1]
อุปสงค์ และอุปทาน เกี่ยวข้องกับ สินค้ากิฟเฟนกู๊ด โดยตรง ในหัวข้อนี้เราจะกลับมาย้อนถึงเรื่องนี้กันก่อน เพื่อให้เข้าใจถึงที่มาที่ไป และความเชื่อมโยงของทั้ง 2 สิ่งนี้
อุปสงค์ คือ ความต้องการซื้อสินค้าของผู้บริโภค ในช่วงเวลาใด ณ เวลาหนึ่ง [2] มีมากขึ้น หรือน้อยลง ไปตามความต้องการบริโภคสินค้า หรืออำนาจในการบริโภคสินค้า
อุปทาน คือ ความต้องการขายสินค้าของผู้ผลิต ในช่วงเวลาใด ณ เวลาหนึ่ง ตัวอุปทานนี้จะเพิ่มขึ้นเมื่อสามารถขายสินค้าหรือบริการ ที่ได้รับกำไรสูงขึ้น หรือต้นทุนในการผลิต มีตัวเลขที่ลดต่ำลง
สิ่งที่เข้ามาเป็นตัวแปรสำคัญ ที่ไปทำให้ อุปสงค์ และอุปทาน เพิ่มขึ้น หรือลดลง มาจากปัจจัยสำคัญดังนี้
ปัจจัยที่เข้ามาส่งผลต่อ อุปสงค์
ปัจจัยที่เข้ามาส่งผลต่อ อุปทาน
จากกฎของอุปสงค์-อุปทาน ตามที่เราได้กล่าวมา เราได้รู้ว่า ในสภาวะปกติ เมื่อสินค้าราคาแพงขึ้น เราจะซื้อน้อยลง เพราะไม่อยากซื้อของแพง (อุปสงค์จะลดลง) และเมื่อสินค้าราคาถูกลง เราจะซื้อมากขึ้นเพราะของถูก (อุปสงค์จะเพิ่มขึ้น)
กับกฎอีกหนึ่งคือ ในสภาวะปกติ เมื่อรายได้เราเพิ่มขึ้น เราจะซื้อของมากขึ้น (อุปสงค์เพิ่มขึ้น) และเมื่อรายได้เราต่ำลง เราย่อมซื้อของน้อยลง (อุปสงค์ลดลง) ซึ่ง สินค้ากิฟเฟนกู๊ด ที่มีการสวนทางกับกฎเหล่านี้ เราจะยกตัวอย่างให้เห็นภาพ ในหัวข้อถัดไป
ตัวอย่างที่ 1 ปกติเมื่อเราเห็นราคาของสินค้าแพงขึ้น เราก็จะซื้อสินค้าชนิดนั้นน้อยลง หรือหากเราเห็นว่าสินค้านั้นถูกลงจากปกติ เราก็จะซื้อสินค้าชนิดนั้นสูงขึ้น แต่ สินค้ากิฟเฟนกู๊ด ไม่สอดคล้องกับกฎนี้ เราจะซื้อสินค้ากิฟเฟนกู๊ดมากขึ้น ทั้งๆที่มันแพงขึ้น หรือซื้อน้อยลงทั้งๆที่มันถูกลง
ตัวอย่างที่ 2 เมื่อเรามีรายได้มากขึ้น เราจะซื้อสินค้า รวมถึงบริการมากกว่าเดิม เพราะเรามีเงินเยอะ เราย่อมจับจ่ายใช้สอยมากขึ้นไปอีก แต่เรากลับซื้อสินค้ากิฟเฟนกู๊ด น้อยลงเสียอย่างนั้น ทั้งๆที่เงินเยอะ แต่เลิกซื้อไปเลยก็มี เพราะอะไรกันแน่นะ
ตัวอย่างราคาขั้นต่ำของ สินค้ากิฟเฟนกู๊ด
เมื่อท่านเห็นรายชื่อสินค้าแล้ว ท่านคงจะเห็นภาพได้ชัดขึ้น ปกติเมื่อเราไม่ค่อยมีเงิน เรามักจะประหยัดด้วยการกิน บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป หรือสินค้าราคาถูก ที่เก็บไว้ได้นานพวกนี้ ต่อให้ราคามันจะแพงขึ้น หรือลดลง ท่านก็จะซื้อมันอยู่ดี เพราะยังไงมันก็ถูกกว่าอาหารทั่วไป
แต่เมื่อท่านมีเงินมากขึ้น รายได้เพิ่มขึ้น ท่านจะไม่คิดซื้อสินค้าพวกนี้มากตามเงินที่มี หรือบางคนอาจเลิกซื้อไปเลย แล้วไปซื้ออาหารที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นแทน ซึ่งมันสวนทางกับกฎทางเศรษฐศาสตร์ ที่หากมีรายได้เพิ่มขึ้น ก็ควรซื้อเพิ่มขึ้นไม่ใช่เหรอ
สินค้ากิฟเฟนกู๊ด ถูกให้ความสำคัญในช่วงวิกฤต ช่วงเศรษฐกิจไม่ดี รายได้น้อย มากกว่าในภาวะปกติ ถือเป็นสินค้าที่แหวกแนว ฉีกกฎ จนทำให้นักเศรษฐศาสตร์ต้องเอาตัวแปรสินค้าประเภทนี้ ออกจากการคำนวณในสมการอุปสงค์-อุปทาน