สาเหตุ วิกฤตราคาโกโก้ พุ่งสูง และผลกระทบด้านเศรษฐกิจ

วิกฤตราคาโกโก้

วิกฤตราคาโกโก้ ที่พุ่งสูงขึ้นทั่วโลก ส่งผลต่อคนที่ชื่นชอบ ช็อกโกแลต เพราะอาจต้องซื้อในราคาที่สูงขึ้น สาเหตุที่ทำให้เกิดวิกฤตการณ์นี้ รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น ในแง่เศรษฐกิจ จะเป็นเช่นไร เราจะซื้อช็อกโกแลตตามร้านค้าแพงขึ้นจริงหรือไม่ ในบทความนี้ เราจะพาทุกท่านมาไขข้อสงสัยไปพร้อมกัน

ความสำคัญของ โกโก้

ความสำคัญของ โกโก้

โกโก้ ถือเป็นผลผลิตด้านการเกษตร ใช้สำหรับทำขนมหวาน เค้ก ช็อกโกแลต ที่มีความต้องการสูง โดยมูลค่าตลาดช็อกโกแลตในประเทศไทย มีตัวเลขดังนี้

  • 2019 มูลค่า 6,021 ล้านบาท
  • 2020 มูลค่า 5,513 ล้านบาท
  • 2021 มูลค่า 5,710 ล้านบาท
  • 2022 มูลค่า 7,500 ล้านบาท
  • 2023 มูลค่า 7,850 ล้านบาท

ที่มา : Marketeer [1]

จะเห็นได้ว่าตัวเลขการซื้อขายช็อกโกแลต ในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2020 มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นมาเรื่อยๆจนถึงปี 2023 (จากปี 2019 ถึง 2020 ที่ตัวเลขลดลงเนื่องจากเจอการแพร่ระบาดของ โควิด-19) หมายความว่า ช็อกโกแลต ที่มีโกโก้เป็นส่วนผสมในการผลิตนั้น มีความต้องการมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง นับเป็นอีกสินค้าทางเศรษฐกิจที่มีการเติบโตขนาดใหญ่ ทั้งในไทย และทั่วโลก

สาเหตุที่ทำให้เกิด วิกฤตราคาโกโก้

วิกฤตราคาโกโก้ นั้นเกิดจากความต้องการโกโก้ กับปริมาณการผลิตโกโก้ ไม่สอดคล้องกัน เมื่อความต้องการซื้อโกโก้ในตลาดมากขึ้น (อุปสงค์ต่อโกโก้) แต่ปริมาณโกโก้ที่ผลิตเพื่อขายกลับน้อยลง (อุปทานของโกโก้) ทำให้โกโก้เกิดขาดตลาดขึ้นมา เมื่อสินค้าใดก็ตามเกิดการขาดตลาดแล้ว ราคาสินค้านั้นย่อมเพิ่มสูงขึ้น

ต้นโกโก้เติบโตได้ดีในแอฟริกา จึงมีการปลูกกันมาก โดยเฉพาะประเทศโกตดิวัวร์ และประเทศกานา ผลผลิตโกโก้จากทั้ง 2 ประเทศนี้ คิดเป็นปริมาณโกโก้ทั้งหมดบนโลกถึง 60% นอกจากในทวีปแอฟริกา ทวีปอื่นๆไม่ได้มีความเหมาะสมในการปลูกโกโก้เทียบเท่า ถึงปลูกก็จะได้ผลผลิตที่ช้า และน้อยกว่า นั้นจึงกลายเป็นว่า ทั่วโลกต้องพึ่งพาโกโก้จาก 2 ประเทศนี้เป็นหลัก

เมื่อเกิดวิกฤตในประเทศเหล่านั้น การเจอภัยแล้ง สภาพอากาศแปรปรวน เกิดเอลนีโญ และโรคระบาด [2] ย่อมส่งผลให้ผลผลิตโกโก้น้อยลง สวนทางกับความต้องการโกโก้ ในการบริโภค ที่เพิ่มสูงขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะช่วงก่อนวาเลนไทน์ และช่วงก่อนเทศกาลอีสเตอร์ ปัจจุบันราคาโกโก้อยู่ที่ 10,080 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน (ประมาณ 370,000 บาท) สูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาถึง 129% [3]

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจาก วิกฤตราคาโกโก้

วิกฤตราคาโกโก้

วิกฤตราคาโกโก้ ได้สร้างผลกระทบหลายส่วน ทั้งต่อผู้บริโภค ต่อโรงงานผลิตช็อกโกแลต รวมถึงเศรษฐกิจ โดยผลกระทบทั้งหมดมีดังนี้

  1. โกโก้ขาดตลาด ปริมาณโกโก้ในตลาดน้อยลง ทำให้ซัพพลายเออร์ที่ต้องการใช้โกโก้ สำหรับผลิตเป็นช็อกโกแลต หรือขนมหวานชนิดอื่น จำเป็นต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้น ทำให้มีต้นทุนสูงมากขึ้น
  2. ราคาช็อกโกแลตในท้องตลาดสูงขึ้น สืบเนื่องมาจากผู้ผลิต ที่แบกรับต้นทุนเพิ่มขึ้น ราคาของช็อกโกแลตจึงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตาม
  3. ช็อกโกแลตที่ซื้อ อาจจะปริมาณน้อยลง หรือมีส่วนผสมของโกโก้น้อยลง ผู้ผลิตบางรายอาจไม่เพิ่มราคาของช็อกโกแลต แต่จะลดต้นทุนโดยการลดปริมาณ และคุณภาพของสินค้าลง
  4. ช็อกโกแลต และสินค้าที่ใช้โกโก้ขาดตลาด เราอาจจะได้เห็นบางร้านค้า โดยเฉพาะในช่วงเทศกาล ที่ช็อกโกแลตวางขายน้อย หรือหมด
  5. สินค้าทดแทน อาจมีราคาสูงขึ้นตาม เมื่อช็อกโกแลตขาดตลาด ผู้บริโภคบางคนอาจหันไปซื้อขนมหวานชนิดอื่นแทน เมื่อมีความต้องการขนมหวานประเภทอื่นสูงขึ้นอย่างฉับพลัน อาจส่งผลให้ขนมหวานชนิดอื่นๆมีราคาที่สูงขึ้นตามมา
  6. แรงงานที่เกี่ยวข้องกับ โกโก้ และช็อกโกแลต อาจมีรายได้ที่ลดลง โรงงานผลิตช็อกโกแลต และบริษัทขนส่ง อาจลดพนักงานบางส่วน เพื่อลดต้นทุน เนื่องจากปริมาณโกโก้น้อยลง
  7. การเติบโตทางเศรษฐกิจในขนมหวานที่ใช้ โกโก้ อาจช้าลง ส่งผลต่อภาคเศรษฐกิจทั่วโลก

ในประเทศไทยอาจได้รับผลกระทบดังที่เรากล่าวมา น้อยกว่าบางประเทศที่นิยมบริโภคช็อกโกแลต เช่นในยุโรป ในอเมริกา เป็นต้น ประเทศเหล่านั้นมีการบริโภคช็อกโกแลตที่สูง จึงย่อมได้รับผลกระทบเหล่านี้ที่รุนแรงขึ้นตาม

สรุป วิกฤตราคาโกโก้ ผู้ชื่นชอบช็อกโกแลตไม่ถูกใจสิ่งนี้

วิกฤตราคาโกโก้ ได้ส่งผลเป็นวงกว้าง กระทบต่ออุตสาหกรรม และเศรษฐกิจเป็นโดมิโน่ ราคาของโกโก้ก็ยังมีแนวโน้มสูงขึ้นไปอีก เราคงต้องจับตาดูกันต่อไป ในอนาคตนี้ ว่าผู้ผลิตโกโก้จะหาทางออกอย่างไร และจะส่งผลเช่นไรต่อผู้บริโภคอย่างเราในอนาคต

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง