วัฏจักรการผลิต เป็นส่วนสำคัญ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับ วัฏจักรสินค้า ที่เกิดจากการผลิตขึ้น สิ่งนี้คืออะไร มีผลต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจ และชีวิตประจำวันของผู้บริโภคอย่างเรา ได้อย่างไร บทความนี้จะพาทุกท่านไปไขข้อสงสัยกัน
วัฏจักรการผลิต เป็นช่วงเวลาที่เกิดกิจกรรม การผลิตสินค้าขึ้น วนรอบเป็นวงกลมแบบวัฏจักร โดยแต่ละช่วงเวลาในวัฏจักร จะมีปริมาณการผลิตสินค้า และคุณภาพที่แตกต่างกันออกไป โดยส่วนใหญ่จะแบ่งให้เข้าใจง่ายดังนี้
วัฏจักรการผลิต ทั้ง 3 ช่วงเวลานี้ แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะเหตุใดจึงต้องแยกช่วงเวลาเหล่านี้ขึ้น และช่วงเวลาเหล่านี้คือช่วงไหนบ้าง เราจะทำการแยกหัวข้อให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายขึ้น ดังนี้
ช่วงเวลาที่สามารถผลิตสินค้าได้มาก เพื่อตอบสนองปริมาณความต้องการของผู้บริโภค รวมถึงสินค้าเหล่านี้มีคุณภาพด้วย เกิดมาจากช่วงเวลาที่มีการผลิตนั้น มีวัตถุดิบที่จำเป็นครบถ้วน รวมถึงอยู่ในช่วงเวลาที่สามารถผลิตวัตถุดิบออกมาได้ ตามฤดูกาล
ปกติแล้วในช่วงเวลานี้ จะเกิดความต้องการซื้อสินค้า ที่สามารถผลิตออกมาได้ในระดับหนึ่ง มีมากน้อยแตกต่างกันตามชนิด และสภาพเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ณ เวลานั้น ส่วนใหญ่แล้วราคาสินค้าที่ผลิตออกมา จะเป็นราคาเฉลี่ยของสินค้าชนิดนั้น ตามท้องตลาดทั่วไป
ช่วงเวลาที่ทำให้ผลิตสินค้าได้น้อย หรือมีกระบวนการผลิตที่ยากลำบาก เกิดมาจากความไม่พร้อมในการผลิต รวมถึงการขาดแคลนวัตถุดิบบางประเภท จนทำให้ผู้ผลิตต้องลดการใช้วัตถุดิบ บางชนิดลง ส่งผลให้สินค้าชนิดนั้น มีคุณภาพที่ต่ำ
ช่วงเวลาที่ไม่สามารถหาซื้อ สินค้าที่ผลิตไม่ได้ หรือสินค้าที่ผลิตได้ยาก จะมีความต้องการสูง เนื่องจากมีปริมาณในท้องตลาดน้อย และมีราคาแพง แต่หากสินค้าตัวนั้นมีคุณภาพที่ต่ำมาก ราคาก็จะลดต่ำลงมาด้วยเช่นกัน
เป็นช่วงเวลาที่ ไม่ว่าจะทำยังไง ก็ไม่สามารถผลิตสินค้าชนิดนั้นได้เลยแม้แต่นิดเดียว ส่วนใหญ่จะเกิดมาจากการที่หาวัตถุดิบ ที่ใช้ประกอบการผลิตสินค้าไม่ได้ ซึ่งก็แน่นอนว่าสินค้าที่หาไม่ได้ ย่อมเป็นสินค้าที่หายาก หรือสินค้าที่ไม่ได้อยู่ใน ฤดูกาลเก็บเกี่ยว
เมื่อท้องตลาดไม่มีสินค้าชนิดนั้นเลย จึงไม่มีอุปทานเกิดขึ้น ความต้องการในสินค้าตัวนั้นจึงสูงขึ้นมากตาม
ตัวอย่างสินค้าที่เกี่ยวข้องกับ วัฏจักรการผลิต สามารถผลิตได้แค่บางฤดูกาล มีดังต่อไปนี้
1. ทุเรียน
ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ [1]
ราคาทุเรียน ณ วันที่ 6 เมษายน 2567: ใหญ่ 210 บาท/กิโลกรัม, กลาง 195 บาท/กิโลกรัม, เล็ก 185 บาท/กิโลกรัม [2]
2. ลำไย
ที่มา: CMU [3]
ราคาลำไย ณ วันที่ 20 กรกฎาคม 2566: AA 38 บาทต่อกิโลกรัม, A 30 บาทต่อกิโลกรัม, B 20 บาทต่อกิโลกรัม [4]
3. ผลิตภัณฑ์แปรรูป
ผลิตภัณฑ์แปรรูปที่ใช้วัตถุดิบตามฤดูกาล เช่น ทุเรียนกวน ลำไยอบแห้ง น้ำลำไย จะสามารถผลิตได้เฉพาะช่วงเวลาที่ผลผลิตเหล่านี้ออก ช่วงเวลาหรือฤดูกาลที่นอกเหนือจากนี้ ก็จะไม่สามารถผลิตได้เช่นเดียวกัน
สินค้าใน วัฏจักรการผลิต ที่ต้องเก็บเกี่ยว หรือผลิตเฉพาะในช่วงเวลาหนึ่งนั้น มีความเสี่ยงที่ต่างจากสินค้าทั่วๆไป เพราะสินค้าเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าเกษตร สินค้าปศุสัตว์ และสินค้าประมง โดยความเสี่ยงที่อาจทำให้ผลิตสินค้าเหล่านี้ไม่ได้ มีดังต่อไปนี้
ความเสี่ยงเหล่านี้นอกจากจะเกี่ยวข้องกับผลผลิตแล้ว ยังไปสัมพันธ์กับเรื่อง ลงทุนหุ้นเกษตร เพราะราคาซื้อขาย รวมถึงการเติบโตของหุ้นประเภทนี้ สอดคล้องกับวัฏจักรการผลิตด้านการเกษตรโดยตรง
ประเทศไทย มีผลผลิตด้านการเกษตรในปริมาณที่สูง จึงมีสินค้าที่เกิดตามฤดูกาลหลากหลายประเภท ที่เราบริโภคในประเทศ รวมถึงการส่งออกไปยังต่างประเทศทั่วโลก สินค้าที่โดดเด่นคือ ผลไม้ต่างๆ และข้าว สินค้าที่เหล่านี้มีส่วนช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของไทยในระดับสูง
สินค้าที่ต้องรอช่วงเวลาในการผลิต มีต้นทุนด้านเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง พร้อมกับความเสี่ยงที่ต้องแบกรับ แตกต่างจากสินค้าประเภทอื่นๆ ถือเป็นสินค้าที่มีความเซนซิทีฟ ที่ต้องการความเอาใจใส่ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี และมีคุณภาพ