ระบบขนส่งกับเศรษฐกิจ ของคู่กันที่มีที่มา ตั้งแต่มนุษย์เริ่มรู้จักการขนส่ง ผ่านระบบโลจิสติกส์ กระบวนการขนถ่ายสินค้า ที่ช่วยยกระดับการพัฒนาในมหาภาค เรามาดูบทบาทของ ระบบขนส่ง หรือ การขนส่ง ที่มีพลังขับเคลื่อนโลกใบนี้ไปพร้อมๆกัน
ระบบขนส่ง คือโครงสร้างที่ช่วยให้มีการเคลื่อนย้าย สินค้า บุคคล หรือบริการ จากจุดหนึ่ง ไปยังจุดหมายปลายทางที่กำหนดไว้ [1] โดยการเคลื่อนย้ายนี้กระทำผ่าน พาหนะ เช่น รถจักรยานยนต์ รถยนต์ รถบรรทุก เรือ และเครื่องบิน
การขนส่งเป็นกระบวนการที่มีแบบแผน ในการใช้ทรัพยากรให้น้อยที่สุด เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการขนส่งได้สูงที่สุด หรือที่เรียกกันว่า ระบบโลจิสติกส์ ที่ได้เข้ามาช่วยให้เกิดการ คมนาคม ที่มีประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่าย และทำให้เกิดการพัฒนาใน ระบบขนส่งกับเศรษฐกิจ ควบคู่กัน
ผู้ให้บริการขนส่งในไทย มีหลากหลายบริษัท หลายช่องทางบริการ ที่โด่งดัง และเป็นที่รู้จักกันมากที่สุด คงจะหนีไม่พ้น Thailand Post หรือ ไปรษณีย์ไทย ที่มีส่วนช่วยขับเคลื่อน ระบบขนส่งกับเศรษฐกิจ โดยบริษัทขนส่งนี้ให้บริการขนส่งภายในประเทศไทย รวมถึงขนส่งไปยังต่างประเทศ
อัตราค่าบริการในการขนส่งของ ไปรษณีย์ไทย ก็มีตัวเลขที่แตกต่างกันไปตามพื้นที่ และตามน้ำหนักของสินค้า ซึ่งรายละเอียดของราคามีดังต่อไปนี้
น้ำหนักไม่เกิน 20 กรัม
น้ำหนักตั้งแต่ 20 จนถึง 99 กรัม
น้ำหนักตั้งแต่ 100 จนถึง 249 กรัม
น้ำหนักตั้งแต่ 250 จนถึง 499กรัม
น้ำหนักตั้งแต่ 500 จนถึง 1,000กรัม
ที่มา: Thailand Post [2] ข้อมูล ณ วันที่ 4 เมษายน 2567
หมายเหตุ: ตรวจสอบรายละเอียดราคาเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ Thailand Post
ระบบขนส่งกับเศรษฐกิจ ก็เกิดมาจากกิจกรรมการขนส่ง เป็นตัวช่วยผลักดัน ที่มีอยู่หลายประเภทด้วยกัน แต่ละประเภทนั้นมีจุดเด่น จุดด้อย ที่ต่างกันออกไป ผู้ใช้บริการขนส่งจึงต้องเลือก วิธีการขนส่งให้สอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ของตนให้มากที่สุด โดยรายละเอียดของแต่ละประเภทมีดังนี้
เป็นหัวใจของ ระบบขนส่งกับเศรษฐกิจ เลยก็ว่าได้ เนื่องจากเรามีการใช้บริการขนส่งรูปแบบนี้มากที่สุด การขนส่งทางบกจะใช้พาหนะ ที่วิ่งบนถนน เช่น รถจักรยานยนต์ รถยนต์ รถบรรทุก และพาหนะที่วิ่งบนราง คือรถไฟ
การขนส่งทางบกค่อนข้างมีความยืดหยุ่นสูง สามารถเข้าถึงพื้นที่ได้หลายจุด มีความรวดเร็ว คล่องตัว ในระยะทางสั้น ถึงปานกลาง มีข้อเสียคือ ค่าบริการที่แพงขึ้นตามราคาน้ำมัน สภาพฝนฟ้าอากาศ รวมถึงโอกาสเกิดความเสียหายจากการขนส่ง
การขนส่งทางน้ำ จะผ่านทางเรือเป็นพาหนะหลัก เนื่องจากน้ำนั้นกินพื้นที่ส่วนใหญ่บนโลกนี้ จึงทำให้การเดินเรือ สามารถไปถึงได้เกือบทุกประเทศทั่วโลก ต่างจากการใช้รถ ที่มีขีดจำกัดด้านเส้นทาง และด้านการผ่านแดน
การขนส่งผ่านทางเรือ ขนสินค้าได้ครั้งละมาก แถมยังมีราคาถูกกว่าการขนส่งทางบก แต่ก็มีข้อเสียอย่างการใช้ระยะเวลาที่นาน ในการขนส่งแต่ละครั้ง
การขนส่งผ่านทางอากาศ จะเป็นการใช้พาหนะประเภท เครื่องบิน ที่มีความรวดเร็ว สามารถเดินทางในระยะไกลๆได้โดยใช้เวลาที่น้อยนิด ปกติมักจะนิยมใช้ขนส่งอาหารสด ที่เก็บไว้ได้ไม่นาน และของที่มีมูลค่าสูง ส่วนข้อเสียก็คือ มีค่าใช้จ่ายในการขนส่งที่แพงมาก
ระบบขนส่ง เข้ามาช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ พื้นที่ที่มีถนนตัดเข้าถึง ย่อมเกิดการขนส่งสินค้า ตั้งแต่ปี พ.ศ 2565-2567 บริษัทขนส่งสินค้าทางถนนขยายตัวเฉลี่ย 3-5% ต่อปี [3] ตามความต้องการซื้อสินค้าที่เพิ่มขึ้น เกิดการแลกเปลี่ยน การจ้างงาน ที่ส่งผลต่อภาพรวมในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศตามมา
ตัวอย่างโครงการที่ส่งผลกระทบ ต่อภาคการขนส่ง และเศรษฐกิจของประเทศ คือ รถไฟลาวจีน ที่เป็นการเปิดเส้นทางคมนาคมแห่งใหม่ เส้นทางนี้ช่วยให้ต้นทุนการขนส่งระหว่าง 2 ประเทศถูกลง
ระบบขนส่งกับเศรษฐกิจ เป็นสิ่งที่ถูกพัฒนาไปพร้อมกัน การขยายเส้นทางการค้าของประเทศมหาอำนาจอย่างจีน ที่เป็นตัวกระตุ้นการใช้บริการขนส่ง ย่อมทำให้บริษัทขนส่งเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง และได้เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของหลายๆประเทศในที่สุด