เจาะลึกกลยุทธ์ รองเท้าช้างดาว คู่คนไทยมาเกือบ 70 ปี

รองเท้าช้างดาว

รองเท้าช้างดาว หรือแตะขอบฟ้า หูหนีบ ทรงหนา 1 ในแบรนด์รองเท้าของคนไทย ที่ไม่ว่าจะกี่ปี กี่รุ่น ก็ยังสามารถตีตลาดในไทย และต่างประเทศได้เป็นอย่างดี

รองเท้าช้างดาว คืออะไร

รองเท้าช้างดาว หรือ รองเท้าแตะนันยาง เป็นรองเท้าตราช้างดาว ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2499 [1] 11 ปีให้หลังจากแบรนด์ชาเก่าแก่อย่าง ชาตรามือ ที่มีความสำคัญกับคนไทยเช่นกัน

โดยคุณวิชัย เจ้าของแบรนด์รองเท้าผ้าใบนักเรียนขาว – ดำ และน้ำตาล อย่าง นัน – ยาง ซึ่งรองเท้าแตะช้างดาวนี้ ก็เป็น 1 ในสินค้าขายดีของทางแบรนด์นั่นเอง

จุดเด่นของ รองเท้าช้างดาว

  • เป็นรองเท้าที่ทำจาก ยางพารา 100%
  • มีความแข็งแรง ทนทานต่อทุกสภาพแวดล้อม ทั้งร้อน และหนาว
  • รองเท้ามีความเรียบง่าย ใส่สบาย โทนสีสะอาดตา
  • ราคาถูก คุณภาพเล่นใหญ่

 ที่มา: วิถีแบบ ‘ช้างดาวสไตล์’ อยู่อย่างไรถึงครองใจคนมาแล้ว 60 ปี [2]

รองเท้าช้างดาว คู่ละกี่บาท

  • เด็ก : ราคา 50 – 70 บาท
  • ผู้ใหญ่ : ราคา 100 – 199 บาท

ไขข้อสงสัย รองเท้าช้างดาว ทรงเดิม แต่ทำไมขายดี

เกือบๆ 70 ปี ที่รองเท้าแตะ ตราช้างดาว อยู่คู่คนไทย และมีการผลิตไปแล้วมากกว่า 3 – 4 ล้านคู่ ด้วยทรงเดิม หูหนีบ พื้นหนาตลอดมา แต่กลับขายดี และทำกำไร ได้มากกว่าหลายร้อยล้านตลอดมา

3 กลยุทธ์สำคัญ ที่ทำให้รองเท้าช้างดาว ขายดีตลอดกาล

  • เป็นแบรนด์ที่มีการตื่นตัว และปรับตัว ตามสถานการณ์ ให้ทันต่อโลกยุคสมัยปัจจุบัน อยู่ตลอดเวลา
  • คงความเป็นแบรนด์รองเท้า ที่มีจุดแข็งเดิม ในเรื่องของความถึก และความทนทาน
  • มีการจัดโปรโมชั่น ตามเทรนด์ และกระแสต่างๆ ให้ผู้คนเข้าถึงได้ง่าย

ปรากฏการณ์รองเท้าช้างดาว รุ่นสีชมพู – ดำ

รองเท้าช้างดาว

เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2022 วง BLACKPINK จากประเทศเกาหลีใต้ ได้มีการปล่อยเพลง Pink Venom ออกมา [3] ทางแบรนด์นัน – ยางก็ไม่รอช้า ที่จะผลิตรองเท้าช้างดาว รุ่นสีชมพู – ดำ ออกมา ทำให้สินค้าผลิตไม่ทัน พร้อมกับมียอดขาย และยอดสั่งจองมากกว่าหลาย 100,000 คู่ ในเวลาอันรวดเร็ว

สรุป รองเท้าช้างดาว (Nanyang Changdao Flipflop)

รองเท้าช้างดาว (Nanyang Changdao Flipflop) หรือรองเท้าแตะขอบฟ้า ตราช้างดาว เป็น 1 ในสินค้าคลาสสิครุ่นขายดี ของแบรนด์นันยาง ที่มีจุดแข็ง และกลยุทธ์ทางการตลาดที่ล้ำเลิศ สามารถตีโจทย์ และวางแผนการดำเนินงาน ได้เป็นอย่างดี

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง