ดีบุก แร่พิเศษชนิดหนึ่ง ที่มีคุณค่าและความสำคัญต่อประเทศไทยมาก สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย และเป็นสินค้าส่งออก ที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทยได้อย่างมหาศาล มักพบเจอได้ทุกภาคในประเทศไทย แต่ที่พบมากสุดจะเป็นแถบภาคใต้
ดีบุก (Tin : Sn) [1] เป็นโลหะชนิดหนึ่ง ที่อยู่ระหว่างธาตุเจอมาเนียม (Germanium : Ge) กับตะกั่ว (Plumbum : Pb) โดยรูปร่างและลักษณะของมัน จะเป็นของแข็ง สีขาวออกเงินๆ
มีความอ่อนตัวที่สูง เกาะติดโลหะได้ดี มักใช้สำหรับในการเคลือบผิวโลหะ หรือผสมกับโลหะชนิดอื่นๆ เพื่อเพิ่มความแข็งแรง ทนทาน ถูกกัดกร่อนได้ยาก ทนต่อสารละลาย พร้อมกับป้องกันการเกิดสนิม อีกทั้ง ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์อื่นๆ ทางด้านอุตสาหกรรมได้อีกมากมาย
เกิดจากสายแร่อุณภูมิสูง ที่แทรกตัวอยู่ในหินแกรนิต [2] หินตะกอน หินในภูเขาไฟ หรือสายแร่อื่นๆ ข้างเคียง จนอาจเกิดเป็นก้อน หรือผลึกเล็กๆ ฝังในหินสการ์น หินเพกมาไทต์ หรือเนื้อชั้นหินแกรนิต ซึ่งในชั้นหินแกรนิตนั้น สามารถแแบ่งออกได้ 2 แบบ คือ
มักพบอยู่ในหินต้นกำเนิดเดิม คงสภาพดังเดิม ไม่ผุพัง หรือหักละเอียด
คือแบบที่ผุพัง พลัดพาจากอีกที่หนึ่ง ไปยังอีกที่หนึ่ง สะสมจนเกิดเป็นแร่ใหม่ เช่น แร่ซัลไฟด์ แร่ควอตซ์ แร่เปกมาไทต์ และอื่นๆ ตามแหล่งใหม่ๆ อย่างเช่นบริเวณเชิงเขา ไหล่เขา ที่ราบ หรือตามแอ่งน้ำต่างๆ เป็นต้น
ดีบุก (Tin) แร่โลหะชนิดพิเศษ ที่มีลักษณะเด่นหลากหลายประการ อาทิเช่น ทนทาน เงางาม ปกป้องการเกิดสนิม ทนต่อสารละลาย การกัดกร่อน พร้อมกับไม่ก่อให้เกิดสารพิษ ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ทำให้ถูกนิยมนำมาใช้ประโยชน์ [3] ดังนี้
ดีบุก (Tin) คือ แร่ที่มีคุณสมบัติเป็นโลหะ ที่มีสีขาวเงิน เนื้ออ่อนนิ่ม มีความเหนียว สามารถใช้ทำประโยชน์ได้หลากหลาย โดยส่วนใหญ่มักจะใช้เคลือบโลหะ เหล็ก ทองแดง และทองเหลือง อีกทั้ง ยังถือเป็นสินแร่โลหะ ที่สามารถสร้างรายได้ ให้กับประเทศไทย ได้อย่างมากมหาศาลอีกด้วย