พาไปรู้จัก ซีโลไฟซิส เจ้าตัวเล็กกินเนื้อแห่งยุคไทรแอสซิก

ซีโลไฟซิส

ซีโลไฟซิส สายพันธุ์ไดโนเสาร์กินเนื้อที่มีขนาดเล็ก แต่มาพร้อมกับความสามารถอันน่าทึ่ง ด้วยความไวในการวิ่งที่รวดเร็ว ออกล่าเหยื่อเป็นฝูง มันเป็นสายพันธุ์ไดโนเสาร์กินเนื้อยุคแรกๆ และดำรงชีวิตอยู่ในช่วงปลายยุคไทรแอสซิก ลักษณะเด่นตรงที่รูปร่างปราดเปรียว ถูกจัดอยู่ในกลุ่มเทอโรพอด เรามีข้อมูลที่น่าสนใจมานำเสนอ

ข้อมูล ซีโลไฟซิส ไดโนเสาร์กินเนื้อยุคแรก | ลักษณะภายนอก

ซีโลไฟซิส (Coelophysis) พวกมันเป็นไดโนเสาร์ที่มีความสามารถในการวิ่งที่เร็ว ซึ่งมาจากพละกำลังของกระดูกที่มีลักษณะกรวง ความยาวประมาณ 3.2 เมตร และอาหารส่วนใหญ่ของพวกมัน จะเป็นซากสัตว์ที่ตายแล้ว ได้แก่ กิ้งก่า หรือแมลงชนิดอื่นๆ แต่บางครั้งห่วงโซ่อาหารก็โหดร้ายกับพวกมัน จึงหันมากินกันเอง [1]

ในยุคไทรแอสซิกตอนปลาย พวกมันไม่ได้ถูกจัดให้อยู่บนสุดของห่วงโซ่อาหาร ของประเภทสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ในยุคแรกๆ จะเป็นไดโนเสาร์ไฟโตซอรัส หรือ ออสโตรแร็พเตอร์ แต่ความคิดของพวกมันนั้นยิ่งใหญ่เกินกำลัง ที่จะทำให้พวกมันเป็นนักล่าที่น่ากลัวที่สุดในยุคนั้นเช่นกัน เพราะความเร็วและความคล่องตัว

การค้นพบซากฟอสซิลกระดูก ของสัตว์ทะเลที่โตเต็มวัย และพบกระดูกของซีโลไฟซิส ที่ยังอายุน้อย อยู่ภายในซี่โครงของพวกมัน ทำให้นักวิทยาศาสตร์คาดเดาว่า เจ้าตัวเล็กกินเนื้อสายพันธุ์นี้ อาจจะเกิดการกินกันเองเมื่อพวกมันมีโอกาส แต่สุดท้ายแล้วการคาดเดานี้ ไม่ใช่กระดูกของมัน แต่เป็นกระดูกของจระเข้ตัวเล็ก [2]

ข้อมูล การค้นพบซากฟอสซิลครั้งแรก และการเปลี่ยนชื่อ

สำหรับการค้นพบเจ้าไดโนเสาร์ตัวเล็กกินเนื้อ ซึ่งเดิมทีมันชื่อว่า Coelurus โดย Drinker Cope ตั้งชื่อ Coelophysis เป็นครั้งแรก ในปี 1889 เพื่อให้สกุลของมันมีความแปลกใหม่ แถมยังสามารถจำแนกประเภทได้ง่ายขึ้น นักสะสมฟอสซิลมือสมัครเล่น David Baldwin เขาทำงานให้กับ Cope และได้พบซากไดโนเสาร์ครั้งแรกในปี 1881

การค้นพบซากฟอสซิลของไดโนเสาร์กินเนื้อตัวนี้ เจอที่ Chinle Formation ทางตะวันตกเฉียงเหนือของนิวเม็กซิโก และในช่วงต้นปี 1887 ทาง Cope ได้ส่งตัวอย่างที่เก็บรวบรวมได้สองสายพันธุ์ใหม่ ก็คือ C. bauri และ C. longicollis ซึ่งมาจากสกุลเดียวกันกับซีโลไฟซิส และได้เปลี่ยนชื่อสกุลเป็น Tanystropheus

ในสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อกลุ่มของไดโนเสาร์ซากฟอสซิลบางส่วน ถูกจัดประเภทไว้เป็นสกุลใหม่ ตัวอย่างการค้นพบของศาสตราจารย์ Mignon Talbot ในปี 1911 วิเคราะห์หัวอย่างที่ประกอบไปด้วยหินทราย ที่หล่อหลอมเป็นรูปหัวหน่าว กระดูกแข้ง กระดูกสันหลัง และซี่โครงสามซี่ มาจากเหมือนหินในมิดเดิลทาวน์ [3]

รีวิว ลักษณะภายนอก หรือรูปร่างของเจ้าซีโลไฟซิส

  • ขนาดตัว : พวกมันมีความยาวประมาณ 2-3 เมตร และมีน้ำหนักประมาณ 15-30 กิโลกรัม ซึ่งถือว่าพวกมันเป็นสายพันธุ์กินเนื้อที่ตัวเล็กมาก
  • โครงสร้างร่างกาย : พวกมันมีโครงสร้างร่างกายที่บางและเบา เพื่อช่วยให้พวกมันสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างรวดเร็ว
  • แขนและขา : ขาหน้ามีขนาดที่เล็ก เมื่อเทียบกับขาหลัง แขนมีสามนิ้ว และขาหลังมีลักษณะที่ยาว แข็งแรง เหมาะแก่การออกวิ่งเพื่อล่าเหยื่อ
  • หัวและฟัน : ส่วนหัวของไดโนเสาร์สายพันธุ์นี้ จะมีลักษณะค่อนข้างยาวและแคบ มีฟันที่แหลมคม ที่เหมาะกับการฉีกเนื้อ และล่าเหยื่อที่มีขนาดเล็ก
  • หาง : ส่วนหางจะมีลักษณะยาวและแข็งแรง ซึ่งจะช่วยในการรักษาสมดุล ในขณะที่พวกมันออกวิ่ง หรือเลี้ยว

ซีโลไฟซิส ทำความรู้จักพฤติกรรม และวิถีการดำรงชีวิต

ซีโลไฟซิส

ซีโลไฟซิส พวกมันเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดเล็ก ซึ่งมีนิสัยในการดำรงชีวิตแบบนักล่า เชื่อกันว่าพวกมันอาจออกล่าเหยื่อเป็นฝูง เพื่อเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จ ในการออกล่าเหยื่อ หรือลดโอกาสในการตกเป็นเป้าหมายของไดโนเสาร์ตัวอื่น ในส่วนนี้ เราจะพาทุกท่านไปดูพฤติกรรม และวิถีการดำรงชีวิตของพวกมัน

ข้อมูล พฤติกรรมของเจ้าตัวเล็กแห่งยุคไทรแอสซิก

  • พฤติกรรมการออกล่า : พวกมันเป็นไดโนเสาร์ที่มีความเร็ว และความคล่องตัวสูง ด้วยพละกำลังของขาหลัง และโครงสร้างร่างกายที่มีน้ำหนักเบา มันสามารถไล่ตามเหยื่อขนาดเล็กได้ดี เช่น สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ หรือสัตว์ขนาดเล็กที่มีชีวิตอยู่ตามแหล่งน้ำ ซึ่งพวกมันจะทำการจู่โจมอย่างรวดเร็ว
  • พฤติกรรมการสืบพันธุ์ : เนื่องจากมันเป็นไดโนเสาร์ยุคแรก ข้อมูลเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ของมันนั้น ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจน แต่พฤติกรรมของไดโนเสาร์สายพันธุ์ใกล้เคียง คาดว่าพวกมันจะวางไข่ และปล่อยให้ลูกเรียนรู้ และเติบโตด้วยตัวเอง โดยที่ตัวผู้หรือตัวเมีย ไม่มีการเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิด
  • พฤติกรรมการป้องกันตัว : ด้วยขนาดร่างกายที่เล็ก ทำให้พวกมันมีความเสี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่อ ของไดโนเสาร์นักล่าที่มีขนาดใหญ่กว่าพวกมัน นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า การใช้ชีวิตเป็นฝูง อาจเป็นวิธีการป้องกันตัวที่ดีอีกหนึ่งวิธี นอกจากนี้มันยังมีความเร็ว ที่ทำให้พวกมันสามารถวิ่งหนีภัยคุกคามได้

รีวิว วิถีการดำรงชีวิตของเจ้าไดโนเสาร์ที่เก่าแก่ที่สุด

นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบโครงกระดูกหลายร้อยชิ้น ซึ่งถือว่าเป็นไดโนเสาร์ที่เก่าแก่ที่สุดในอเมริกาเหนือ โดยมีชีวิตประมาณ 216-203 ล้านปีก่อน ในช่วงยุคไทรแอสซิกตอนปลาย พวกมันเป็นไดโนเสาร์นักล่าที่มีความเร็ว และดูเหมือนว่าพวกมันจะกินอาหารแทบทุกอย่างที่ล่าได้ และมีโครงกระดูกบางส่วนที่พบเจอในนิวเม็กซิโก [4]

วิถีการดำรงชีวิต

  • การดำรงชีวิตแบบฝูง : พวกมันมีแนวโน้มที่จะใช้ชีวิตรวมกันเป็นฝูง เพราะเกิดจากการค้นพบซากฟอสซิลจำนวนมากในพื้นที่เดียวกัน การอยู่รวมกันจะทำให้พวกมันออกล่าเหยื่อได้ดีขึ้น และลดความเสี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่อของสัตว์นักล่าขนาดใหญ่
  • การกิน : แน่นอนว่าพวกมันเป็นไดโนเสาร์ที่กินเนื้อเป็นอาหาร และอาจมีพฤติกรรมที่จะกินเนื้อประเภทเดียวกัน เมื่อต้องการอาหารให้แหล่งที่ขาดแคลน หรืออาหารที่หาได้ยากในช่วงเวลานั้น หลักฐานแนวคิดนี้ เกิดจากซากฟอสซิลที่พบในช่องท้อง
  • การปรับตัว : พวกมันสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ในยุคที่พวกมันอาศัยอยู่ พวกมันใช้ชีวิตในพื้นที่ที่มีพืชพันธุ์ และแหล่งน้ำที่มีอย่างจำกัด ซึ่งเป็นสถานที่ที่ออกล่าเหยื่อ อีกทั้ง พวกมันยังสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงบ่อย

สรุป ซีโลไฟซิส

โดยรวมแล้ว พวกมันถือว่าเป็นไดโนเสาร์ยุคแรกๆ ที่มีโครงสร้างร่างกายที่เล็ก และมีความคล่องตัวที่สูง อาศัยการอยู่รวมเป็นฝูง และปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ที่มีการแข่งขันสูงในช่วงเวลานั้นได้ดีพฤติกรรมที่มีความหลากหลายในการล่าเหยื่อ และการกินเนื้อพวกเดียวกัน ทำให้พวกมันมีความอึด และปรับตัวได้ดี

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง