พาไปรู้จัก ซอโรโพไซดอน ไดโนเสาร์คอยาวกินพืชขนาดใหญ่

ซอโรโพไซดอน

ซอโรโพไซดอน ผู้อ่านหลายท่านคงรู้จักในนาม ไดโนเสาร์คอยาวกินพืชขนาดใหญ่ ที่มักจะพบเห็นผ่านทางสารคดี และภาพยนตร์ชื่อดังหลายเรื่อง ด้วยชื่อของมันที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งหมายถึงเทพกรีกในตำนาน และสายพันธุ์ที่มาจากสกุลเดียวกันกับซอโรพอตขนาดใหญ่ ทำให้มันได้รับความสนใจ จนมีการพบในประเทศไทย

ข้อมูล ซอโรโพไซดอน เจ้าคอยาวกินพืชแห่งยุคครีเตเซียส

ซอโรโพไซดอน (Sauroposeidon) ชื่อของมันมาจากชื่อของเทพกรีก เทพโพไซดอน มันเป็นสายพันธุ์ในตระกูลซอโรพอตขนาดใหญ่ มีการขุดพบในทวีปอเมริกาเหนือ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐโอคลาโฮมา ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งถูกขุดพบในปี ค.ศ. 1994 พวกมันอาศัยในยุคครีเตเซียส เมื่อประมาณ 110 ล้านปีก่อน

จากการค้นพบไดโนเสาร์ตัวนี้ ปี 1999 จากสื่อต่างประเทศ มันเป็นไดโนเสาร์ที่มนุษย์รู้จักกันมากที่สุด กระดูกสันหลังที่ยาวมาก แถมยังมีกระดูกชิ้นใหญ่ที่สุด มีความยาวประมาณ 1.4 เมตร (4.6 ฟุต) ทำให้พวกมันเป็นซอโรพอตที่มีกระดูกคอยาวที่สุด ภายในกระดูกคอเต็มไปด้วย honeycombed ซึ่งเป็นเซลล์อากาศขนาดเล็ก [1]

รีวิว ที่มาของชื่อสายพันธุ์ไดโนเสาร์คอยาว

สำหรับการค้นพบและการตั้งชื่อ ถูกค้นพบครั้งแรกในปี 1994 เมื่อทีมสำรวจฟอสซิล พบชิ้นส่วนกระดูกสันหลังขนาดใหญ่ของพวกมัน ในรัฐโอคลาโฮมา ต่อมานักบรรพชีวินวิทยา ได้ทำการศึกษาลักษณะเฉพาะของกระดูก และพบว่ากระดูกพวกนี้ มีความแตกต่างจากไดโนเสาร์ซอโรพอตสายพันธุ์อื่นๆ ที่มีการค้นพบก่อนหน้านี้

สำหรับชื่อ Sauroposeidon มาจากคำภาษากรีก ได้แก่ Sauros หมายถึงสัตว์เลื้อยคลาน และคำว่า Poseidon หมายถึงชื่อของเทพโพไซดอน เทพเจ้าแห่งท้องทะเลในตำนานกรีก เพราะมันมีกระดูกที่ใหญ่ และแข็งแรง ทรงพลังเหมือนเทพเจ้าแห่งท้องทะเลนั่นเอง

สำหรับตระกูลซอโรพอต ถือว่าพวกมันเป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และเป็นกลุ่มสัตว์ที่มีขอบเขตกว้างขวาง พวกมันปรากฏครั้งแรกในยุคจูราสสิก และแพร่กระจายไปทั่วโลกในเวลาต่อมา เมื่อถึงยุคจูราสสิกตอนปลาย ทวีปอเมริกาเหนือและแอฟริกา ก็ได้มีไดโนเสาร์ดิพลอโดซิด และบราคิโอซอริด อาศัยเป็นจำนวนมาก [2]

รู้จัก ลักษณะทางกายภาพของ ซอโรโพไซดอน

  • ขนาดและความสูง : พวกเป็นมีขนาดลำตัวที่ใหญ่ โดยเฉพาะในส่วนของลำคอ ที่มีความยาวเป็นพิเศษ ทำให้พวกมันสามารถกินพืชที่อยู่สูง คาดว่าจะมีความสูงประมาณ 17-18 เมตร และมีความยาวรวมตั้งแต่หัวไปจนถึงปลายหาง ประมาณ 30-34 เมตร
  • กระดูกสันหลัง : ซึ่งกระดูกสันหลังของพวกมันมีความแข็งแรง และมีขนาดใหญ่ โดยเฉพาะกระดูกสันหลังส่วนคอ ซึ่งมีความยาวกว่า 1.2 เมตรต่อตัว กระดูกเหล่านี้มีน้ำหนักที่เบา เนื่องจากมันมีโพรงอากาศ ซึ่งทำหน้าที่รับน้ำหนัก
  • หัวและขากรรไกร : ส่วนหัวของไดโนเสาร์กินพืชตัวนี้ จะมีขนาดค่อนข้างเล็ก เมื่อเทียบกับขนาดของลำตัว พวกมันมีฟันที่ใช้บดเคี้ยวใบไม้ และพืชพรรณอ่อนๆ ที่อยู่สูงไปในระดับที่คอของสายพันธุ์อื่นๆ ไม่สามารถยืดถึงได้
  • ขาและลำตัว : เป็นไดโนเสาร์ที่มีขาที่ยาว และแข็งแรง ซึ่งสามารถรองรับน้ำหนักตัวที่ใหญ่ได้เป็นอย่างดี โดยขาหน้าจะมีความยาว และทรงพลัง เหมาะแก่การยกหรือพยุงลำตัวลำคอที่ยาวของพวกมัน

ซอโรโพไซดอน วิถีการดำรงชีวิต และการค้นพบในปัจจุบัน

ซอโรโพไซดอน

สำหรับเจ้าคอยาว ซอโรโพไซดอน จะมีวิถีการดำรงชีวิต พฤติกรรมต่างๆ และความสำคัญทางวิทยาศาสตร์ ที่ทำให้พวกมันมีชีวิตรอด และทางผู้เขียนจะพาไปดูประวัติการค้นพบตามสื่อต่างๆ รวมไปถึงการมีอยู่ของพวกมันในประเทศไทย ซึ่งจะมีข้อมูลที่น่าสนใจอะไรบ้างนั้น ตามมาดูในส่วนเนื้อหาถัดไปได้เลย

ข้อมูล วิถีชีวิต พฤติกรรม และความสำคัญทางวิทยาศาสตร์

ไดโนเสาร์สายพันธุ์นี้ เป็นไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่ คอยาวคล้ายกับ ดิพโพลโดคัส ที่ใช้คอในการกินใบไม้ และยอดไม้บนต้นไม้ที่สูง นอกจากนี้ยังมีการคาดเดาไว้ว่า พวกมันมีพฤติกรรมบางอย่าง ที่ทำให้พวกมันสามารถดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสม ตามสภาพแวดล้อม

  • การกินอาหาร : พวกมันมีคอที่ยาว ที่จะช่วยในการกินยอดไม้ หรือใบไม้ที่สูง ซึ่งอาจทำให้พวกมันสามารถกินอาหาร โดยที่ไม่ต้องแข่งขันกับไดโนเสาร์ตัวอื่นๆ
  • ถิ่นที่อยู่อาศัย : พวกมันอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีพืชพรรณหนาแน่น และมีต้นไม้สูง หรืออาจจะอยู่ใกล้แหล่งน้ำ เพื่อให้พวกมันสามารถดื่มน้ำได้ตลอดเวลา และสภาพแวดล้อมเหล่านี้ ทำให้พวกมันสามารถหาอาหารได้อย่างเพียงพอในการดำรงชีวิต
  • การป้องกันตัว : ด้วยขนาดใหญ่ของร่างกาย ทำให้พวกมันไม่ถูกเล็งเป็นเป้าในการล่า เพราะนักล่าหรือไดโนเสาร์ที่กินเนื้อ จะต้องใช้ความพยายามสูงในการล่าพวกมัน

ความสำคัญทางวิทยาศาสตร์ สำหรับการค้นพบไดโนเสาร์สายพันธุ์นี้ มีความสำคัญต่อการศึกษากลุ่มไดโนเสาร์ซอโรพอต เนื่องจากแสดงให้เห็นถึงการวิวัฒนาการของขนาด และความยาวของลำคอที่ยาว นอกจากนี้ยังเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจ ของการปรับตัวเพื่อเอาชีวิตรอด ในสภาพแวดล้อมที่มีพืชพรรณสูง

รีวิว การค้นพบเจ้าคอยาวจากสื่อ และการค้นพบในประเทศไทย

พวกมันปรากฏตัวในสารคดี Clash of the Dinosaurs ซึ่งแสดงให้เห็นฝูงไดโนเสาร์เดินระยะไกลเพื่อกินอาหารและวางไข่ มีการพูดถึงว่าพวกมันไม่ฉลาดเหมือนกับซอโรพอตทุกตัว และพวกมันไม่เลี้ยงลูกของตัวเอง และมันปรากฏในรายการMonsters Resurrectedภายใต้ชื่อเล่นว่า  Paluxysaurus และปรากฏในDinosaur Train [3]

สำหรับการค้นพบในประเทศไทย เกิดขึ้นจากการเปิดตัวที่ สวนนงนุชพัทยา จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ คณะเอกอัครราชทูตจาก 9 ประเทศทั่วโลกประจำประเทศไทย ได้ร่วมกับผู้อำนวยการสวนนงนุชพัทยา ได้เปิดตัวคู่ไดโนเสาร์ซอโรโพไซดอน ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และตั้งเด่นอยู่หน้าประตูสู่แหล่งเรียนรู้

นายกัมพล ได้เผยถึงการสร้างที่ยิ่งใหญ่ในครั้งนี้ ซึ่งเป็นปูนปั้นและลงสี ที่มีความวิจิตรศิลป์เหมือนจริง มีความสูงถึง 16 เมตร และมีความยาว 36 เมตร เฉพาะส่วนขาของมัน มีความใหญ่ถึงสองคนโอบ ถือว่าเป็นไดโนเสาร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และทุบสถิติที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกมาแล้ว [4]

สรุป ซอโรโพไซดอน

ถือว่าเป็นไดโนเสาร์ที่มีความน่าสนใจ นอกจากจะมีลักษณะลำคอที่ยาว ขนาดลำตัวที่ใหญ่ พวกมันยังมีการปรับตัว เพื่อให้มีชีวิตในสภาพแวดล้อมหลายช่วงเวลาได้ดี อีกทั้งยังปรากฏอยู่บนสื่อ หรือภาพยนตร์ชื่อดังต่างๆ อีกทั้งยังมีความสำคัญต่อการศึกษาทางวิทยาศาสตร์

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง