เหรียญ ส่งต่อมูลค่า คริปโตที่ออกมาเพื่อการแลกเปลี่ยน

เหรียญ ส่งต่อมูลค่า

เหรียญ ส่งต่อมูลค่า (Value Transfer) คือเหรียญที่ถูกออกแบบมา เพื่อการทำอย่างการทำธุรกรรมของเหรียญต่างๆ ที่ยังเร็วไม่พอ เพราะติดในเรื่องการปรับขนาด และมีค่าแก๊ส หรือค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่ามาก ซึ่งยิ่งเป็นการโอนเงินข้ามประเทศ หรือการแปลงสกุลเงิน ที่รวดเร็วและมีค่าธรรมเนียมต่ำ โดยมีทั้งการใช้เพื่อเชื่อมต่อระบบการเงินของธนาคาร และการใช้เครือข่ายของตนเอง

เหรียญ ส่งต่อมูลค่า ทำงานอย่างไร

ระบบของการถ่ายโอนมูลค่า ก็เป็นระบบที่มีมานานแล้ว ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการทำมูลค่าเทียบเท่าที่ชำระให้แก่สองฝ่าย ถึงแม้จะมีสกุลเงินไม่ตรงกันก็ตาม อย่างการถ่ายโอนมูลค่าของสกุลเงินต่างๆ ที่เอาไว้โอนเงินระหว่างประเทศ ซึ่งก็จะใช้เป็น Swift ที่ใช้กันอยู่ซึ่งจะใช้เวลาตั้งแต่ 1-3 วัน และมีค่าธรรมเนียมให้กับตัวกลาง [1]

ซึ่งเหรียญกลุ่มนี้ก็ออกมาเพื่อทำให้ การโอนเร็วขึ้นเพียงหลักวินาที ซึ่งอาจคล้ายๆ กับ เหรียญกลุ่ม Smart Contract และต่างกับ เหรียญ กลุ่มรักษามูลค่า พร้อมกับค่าธรรมเนียมที่ถูกกว่ามาก เพราะเป็นธุรกรรมเป็นการโอนระหว่าง 2 ฝ่ายคือผู้โอน และผู้รับ ไม่ต้องมีตัวกลางอย่างธนาคารหรือบริษัทการเงินทั่วไป มีเพียงค่า Gas ที่จะเป็นในส่วนของค่าธรรมเนียมให้กับผู้ตรวจสอบเครือข่าย ซึ่งเหรียญในกลุ่มนี้ก็จะมีค่าแก๊สที่ถูกมากที่สุด

เหรียญ ริปเปอร์ เครือข่ายที่ใช้งานร่วมกับสกุลเงินได้

เหรียญ ริปเปอร์ (Ripple) คือเหรียญที่เป็นชื่อของบริษัทร่วมทุนจากซานฟรานซิสโก ซึ่งได้มีการออกโทเคนขึ้นมา เพื่อการชำระเงินที่ใช้ Blockchain เป็นฐานในการตรวจสอบ และจัดเก็บข้อมูลได้ โดยมีโทเคนนี้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของมูลค่าของเงินที่นำมาเปลี่ยนเป็นริปเปอร์ และสามารถดำเนินธุรกรรมได้เลย ซึ่งก็มีรายละเอียดดังนี้

  • มีการพัฒนาขึ้นมาในช่วงปี 2015 – 2017 และบริษัทนี้เคยมีระบบการชำระเงินชื่อว่า RipplePay ขึ้นมาในปี 2004 ด้วย
  • Ripple สามารถรองรับธุรกรรมขนาดใหญ่ได้ พร้อมโปรเจกต์ที่เปิดโอกาสให้บริษัทต่างๆ รวมถึงธนาคาร สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการใช้งานในเครือข่ายได้
  • เหรียญนี้ไม่ได้ใช้ ระบบแบบบิตคอยน์หรือแบบอีเธอเรียม แต่เป็นระบบที่เรียกว่า XRP Ledger Consensus Protocol ซึ่งเป็นการเปิดให้ กลุ่มคนจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่มีส่วนร่วมในการยืนยันธุรกรรม โดยถูกจำกัดไว้สำหรับสถาบันการเงินขนาดใหญ่ที่มีสัมพันธ์กับทาง Ripple อาจดูไม่กระจายอำนาจ แต่ก็ทำให้ธุรกรรมเร็วมาก

ที่มา: Ripple คืออะไร และเหรียญ XRP คืออะไร : น่าลงทุนไหม? [2]

เหรียญ สเตล่า เครือข่ายอิสระที่ไม่ขึ้นตรงกับใคร

เหรียญ สเตล่า (Stellar) หรืออีกชื่อหนึ่ง Lumen คือสกุลเงินดิจิทัลที่มีเครือข่ายบล็อกเชนเป็นของตัวเอง ซึ่งออกเหรียญมาเพื่อใช้งานเป็นค่าแก๊สในการส่งต่อมูลค่าของเงินด้วยเหรียญคริปโตจากสกุลเงินต่างๆ ไปหาใครก็ได้ โดยผู้ใช้งานโทเคนนี้ก็เปรียบเสมือนเจ้าของร่วมกันในเครือข่าย การทำงานของเหรียญนี้จึงมีความกระจายอำนาจสูงมาก ซึ่งก็มีรายละเอียดที่ต่างจากเหรียญแรกดังนี้

  • เหรียญนี้ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 2014 ซึ่งผู้พัฒนา คืออดีตผู้สร้างเหรียญ Ripple ข้างต้น โดยเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร
  • จุดเด่นของเหรียญนี้ คือความเร็วในการทำธุรกรรมภายใน 5 วินาทีต่อธุรกรรม ซึ่งเหมาะกับการโอนเงินระหว่างประเทศ ให้กับการส่งเงินกลับไปให้ครอบครัวที่ประเทศบ้านเกิด โดยหักค่าธรรมเนียมที่เริ่มแค่ 0.00001 XLM เท่านั้น
  • เหรียญนี้มีระบบฉันทามติเป็นของตัวเองซึ่งมีชื่อว่า Stellar Consensus Protocol ที่มีผู้ตรวจสอบ และดูแลความถูกต้องของข้อมูลกว่า 100 คนทั่วโลก แถมผู้ใช้งานยังสามารถเข้ามาเป็นผู้ตรวจสอบได้ เพื่อความโปร่งใส และดูกระจายอำนาจได้สุดๆ 

ที่มา: Stellar (XLM) คืออะไร? [3]

ระบบการขุดที่เหรียญกลุ่มนี้ ส่วนมากนิยมใช้

ด้วยการเป็นเหรียญรุ่นใหม่ ที่ออกมาหลังจากอีเธอเรียม และออกมาในช่วงการเรียกร้องเกี่ยวกับการใช้พลังงานที่เยอะเกินไปในการขุด แบบที่ต้องใช้ฮาร์ดแวร์ ระบบในการขุดส่วนใหญ่ของเหรียญกลุ่มนี้ จึงเป็นแบบ PoS (Proof of stake) และ PoA (Proof of Authority) หรือจะเป็น 2 แบบข้างต้น ทั้งหมดเลย โดยทั้งสองระบบยอดนิยมก็มีการทำงานดังนี้ 

  • PoS คือกลไกในการเข้าไปตรวจสอบธุรกรรมที่ไม่ต้องใช้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์มาขุดแบบเหรียญเก่าๆ ซึ่งจะใช้การวางสินทรัพย์อย่างเหรียญนั้นๆ มาฝากเพื่อเป็นสิ่งค้ำประกันเพื่อรับสิทธิ์ในการตรวจสอบธุรกรรม และเมื่อเสร็จสิ้นก็สามารถรับเหรียญที่ฝากคืนพร้อมดอกเบี้ยเพิ่มเติมได้
  • PoA คือกลไกที่คล้ายกับแบบ PoS โดยเป็นการใช้ระบบของ “ชื่อเสียง” ของผู้ตรวจสอบเพื่อเป็นการการันตี หรือแสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือของระบบ โดยจะมีองค์กรหนึ่งที่ถูกตั้งขึ้นมาเป็นคัดเลือกผู้ตรวจสอบตามเกณฑ์ต่างๆ ให้คนที่ถูกคัดเลือกมามีความน่าเชื่อถือ และประหยัดพลังงานในการตรวจสอบยืนยันธุรกรรม

ที่มา: Proof of Authority คืออะไร? สำคัญอย่างไร? [4]

เปรียบเทียบจุดเด่นของ Stellar และ Ripple

โดยเหรียญตัวอย่างที่สองนี้ที่มีวัตถุประสงค์เดียวกัน คือเพื่อการโอนมูลค่าที่รวดเร็ว และมีค่าธรรมเนียมที่ถูก ซึ่งทั้งสองเหรียญนี้ก็จะมีจุดเด่นต่างๆ ที่จะมีความโดดเด่นในตัวของมันเอง ในฐานะเหรียญส่งต่อมูลค่า ซึ่งจุดเด่นหลักๆ ของ Stellar ก็คือการมีระบบการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ซึ่งจะมีการกระจายอำนาจที่สูงมาก

ในขณะที่เหรียญ Ripple จะมีการตรวจสอบที่ต่างกันคือ จะใช้กลุ่มคนที่ถูกคัดเลือกของทางเชน และสถาบันที่เกี่ยวข้องกันเหรียญนี้ มันจึงเป็นเหรียญที่มีการรวมศูนย์ หรือ centralize สูงในวงการที่ต้องการกระจายอำนาจมากกว่า แต่วิธีนี้ก็ช่วยให้ระบบธุรกรรมที่เร็วมากอยู่ที่เฉลี่ย 1,500 ธุรกรรมต่อวินาที และเหรียญสเตล่าอยู่ประมาณ 5 วินาทีต่อธุรกรรม 

จุดเด่น ของเหรียญคริปโตกลุ่มส่งต่อมูลค่า

โดยเหรียญกลุ่มนี้นอกจากจะใช้ได้ดี ในการโอนเงินข้ามพรมแดนโดยใช้แค่ระบบอินเทอร์เน็ต และมีความรวดเร็วของเวลาทำธุรกรรมแล้ว ยังมีการเก็บค่าธรรมเนียมที่ถูกมากๆ อีกด้วย โดยเหรียญกลุ่มนี้ยังมีจุดสำคัญอีกอย่างที่ไม่เหมือนกับเหรียญทั่วไปที่คำนึงถึงมูลค่าของเหรียญอยู่ตลอดเวลา ก็คือเป็นเหรียญที่ไม่สนใจเรื่องของมูลค่า

  • โดยเหรียญเหล่านี้ยังไม่มีการจำกัดปริมาณของอุปทาน หรือจำนวนเหรียญที่ผลิตขึ้นมาเรื่อยๆ โดยไม่มีการจำกัด แบบบิตคอยน์ อีเธอเรียม และอีกหลายๆ ตัว ที่จะมีการลดจำนวนการผลิต หรือพวก Stablecoin ที่จะมีระบบการเบิรน์เหรียญทั้ง และการ Peg มูลค่าของเหรียญให้เท่า 1 ดอลลาร์ตลอด 
  • เหรียญกลุ่มนี้ยังผลิตโทเคนออกมาได้เรื่อยๆ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจ่ายเป็นค่า Gas และเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนไปมาได้ ซึ่งมูลค่าของเหรียญนี้ก็จะเพิ่มหรือลด ก็อยู่ที่ความนิยมในการใช้งานล้วนๆ

เหรียญคริปโตในกลุ่มส่งต่อมูลค่าอื่นๆ ที่น่าสนใจ

สรุป เหรียญ ส่งต่อมูลค่า คริปโตที่เร็วและค่าธรรมเนียมถูก

เหรียญ ส่งต่อมูลค่า

เหรียญในกลุ่มที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางแทนธนาคารกลาง หรือพาณิชย์ต่างๆ ที่มีราคาค่าธรรมเนียมสูง และใช้เวลานานมากๆ ในการโอนแบบเก่าดั้งเดิม คริปโตกลุ่มนี้จึงเป็นตัวส่งมูลค่าของสินทรัพย์นั้นๆ โดยใช้เวลา และลดมูลค่าของสินทรัพย์นั้นๆ ได้น้อยมากที่สุด หรือผู้รับจะได้มูลค่าเกือบ 100% เลย

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง