เหรียญกลุ่ม สเตเบิ้ล คริปโตที่คงมูลค่าไว้ที่ 1 ดอลลาร์เสมอ

เหรียญกลุ่ม สเตเบิ้ล

เหรียญกลุ่ม สเตเบิ้ล (stablecoin) หากแปลตรงตัวจะหมายความว่า เป็นเหรียญที่มีความมั่นคง ซึ่งจะสื่อถึงมูลค่าที่คงที่กับสินทรัพย์ต่างๆ ที่นำมาค้ำไว้ แต่จริงๆ แล้วในด้านของมูลค่าก็ไม่ได้คงที่เสมอไป สุดท้ายมันก็ถูกอ้างอิงมูลค่ากับสินทรัพย์ที่สามารถมีราคาที่ขึ้นลงได้ตลอดเวลา บทความนี้จึงพามาส่องความน่าสนใจของเหรียญนี้ และแนะนำเหรียญตัวอย่างที่มีการทำงานอันน่าสนใจ

ประเภทต่างๆ ของเหรียญกลุ่ม สเตเบิ้ล

โดยเหรียญในประเภทนี้ ถึงจะเป็นเหรียญที่มีจุดประสงค์เดียวกัน อย่างการคงมูลค่าไว้ที่ 1 ดอลลาร์ แต่ก็ยังมีการแบ่งแยกย่อยออกเป็นประเภทการทำงานต่างๆ อย่างการใช้สินทรัพย์ต่างๆ มาค้ำไม่ว่าจะเป็น เงินดอลลาร์ หยวน ทองคำ หรือแม้กระทั่งน้ำมัน หรือ หลายๆ สกุลเงินรวมกัน แถมยังมีเหรียญสเตเบิ้ล ที่ไม่จำเป็นต้องใช้อะไรมาค้ำเลย [1]

  • Fiat collateralized เหรียญที่รองรับด้วยสกุลเงินเงิน
  • Commodity collateralized การรองรับด้วยสินค้าโภคภัณฑ์
  • Crypto collateralized รองรับเหรียญด้วยคริปโตด้วยกันเอง
  • Non collateralized ไม่รองรับด้วยอะไรเลย ใช้ระบบจัดการเหรียญในระบบแทน

การนำเอาสิ่งมีมูลค่าตายตัวมากที่สุดมากำหนดมูลค่า และ Peg ให้ไม่มากไม่น้อยไปกว่านั้น และใช้แนวคิดน่าสนใจ ในการรักษามูลค่าด้วยการใช้ระบบอัลกอริทึมกำจัด และสร้างเหรียญมาทดแทน ให้มูลค่าคงที่ เหรียญกลุ่มนี้จึงถูกจับคู่หมวดย่อยเหล่านี้ และแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่มด้วย ตามวิธีการรักษามูลค่าเหรียญ ของแต่ละเหรียญได้ดังนี้

ประเภทของเหรียญที่ค้ำด้วยเงินหรือสินทรัพย์ต่างๆ

การสร้าง Stablecoin ด้วยเงิน Fiat หรือแม้กระทั่งการค้ำด้วยคริปโตด้วยกันเอง ซึ่งส่วนมากก็เป็น Bitcoin ซึ่งหลักการทำงานก็จะเป็นการฝากเงินหรือของมีมูลค่าไว้กับใครสักคนหนึ่ง (ผู้พัฒนาที่ออกเหรียญ) และออกเหรียญมาเป็นสกุลต่างๆ ที่อ้างอิงกับสินทรัพย์ที่นำมารองรับหรือฝากไว้ หลายเหรียญเก็บไว้ในระบบ และหลายเหรียญก็จะนำเงินส่วนนั้นก็นำไปหมุนเวียนอย่างกับ Ponzi scheme

โดย Commdity ก็คือการใช้สินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆ อย่างเช่น ทองคำ น้ำมัน ที่ดิน หรือแม้กระทั่งหุ้น หรือกองทุนต่างๆ วิธีนี้จะคล้ายคลึงกับ แบบแรก ที่ต้องมีหน่วยงานกลางมาออกเหรียญ และดูแลเหรียญเหล่านี้ ซึ่งสินทรัพย์ที่ใช้ในการรองรับนั้น ตอนนี้ยังไม่ค่อยเป็นที่นิยม และได้รับการยอมรับมากเท่าแบบอื่นๆ [2]

ประเภทที่รักษามูลค่าด้วยอัลกอริทึม ไม่ใช้อะไรค้ำ

เหรียญกลุ่ม สเตเบิ้ล ที่อาจฟังดูแปลกๆ แต่เป็นแนวคิดที่น่าสนใจ และสร้างสรรค์ ก็คือสเตเบิ้ลคอยน์ที่ไม่ได้รองรับด้วยอะไรเลย โดยที่น่าสนใจคือรูปแบบการทำงานที่คล้ายคลึงกับเงินปัจจุบัน อย่างวิธีการปรับเพิ่ม-ลดดอกเบี้ย และอัดฉีด หรือลดอุปทานของเงิน โดยเหรียญประเภทนี้ก็จะมีระบบการจัดการเหรียญส่วนเกินออกมาคือการเบิร์นเหรียญ หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็นการกำจัดเหรียญออกจากระบบ

โดยการเบิร์นก็จะสามารถจำกัดปริมาณของเหรียญได้ ไม่ให้เฟ้อในระบบมากเกินไป ทุกครั้งที่มีการใช้งานก็จะกำจัดออกไป หรือกลับกันหากมีมูลค่ามากกว่า 1 ดอลลาร์จะมีการซึ่งเหรียญเข้ามาเพิ่มให้ราคาปรับลดลงใกล้ 1 ดอลลาร์มากที่สุด ตัวอย่างเช่นเหรียญที่ล่มสลายไปอย่าง Luna หรือเหรียญ Basis ที่มีการปรับ Supply ของเหรียญล้วนๆ โดยไม่มีการซื้อเพิ่มโดยนำเงินมาเกี่ยวข้องเลย [2]

เหรียญกลุ่ม สเตเบิ้ล จุดกำเนิด และการทำงานหลักๆ

จุดกำเนิดของแนวคิดนี้ก็ได้มาจากหลัง Libra หนึ่งใน Crypto เปลี่ยนโลกของ Facebook หรือ Meta ในตอนนี้ ที่เปิดตัวในปี 2020 ซึ่งก็เป็นตัวกระตุ้นให้ทั่วโลกตื่นตัวกับ Stablecoin มากขึ้น ซึ่งก็มีโครงการผลิตเหรียญต่างๆ โดยฝากเงินให้กับผู้ออกเหรียญหลายที่และมี protocol ที่ดูแลโดยเฉพาะ เกิดเป็นเหรียญ USDT หรือ Tether ที่ใช้กันในปัจจุบัน เหรียญของแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนต่างๆ และอีกมากมาย

  • การทำงานของเหรียญกลุ่มนี้ ด้วยความเป็นเหรียญที่มูลค่าเท่ากับ 1 ดอลลาร์เสมอ มันจึงถูกนำไปเป็นตัวกลางระหว่างการแลกเปลี่ยนเงินสดมาเป็นคริปโตได้ง่ายๆ ซึ่งส่วนมากไม่เน้นเก็งกำไรเพราะมูลค่าจะไม่มีการโตไปมากกว่า 1 ดอลลาร์แล้ว
  • เหรียญนี้ยังสามารถนำไปฝากไว้กับแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนต่างๆ ได้ด้วย เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับแพลตฟอร์มนั้นๆ และสามารถให้กู้ยืมได้ด้วย และรับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย หรือค่าธรรมเนียมที่ผู้ใช้งานจ่าย ซึ่งก็จะมีตั้งแต่ 3% – 20% เลยซึ่งในส่วนของ 20% ก็เข้าไปแล้วก็ออกให้ไวๆ ไว้ก่อน เพราะอาจเป็น Ponzi scheme

เหรียญ เทเธอร์ คริปโตที่ได้รับความนิยมสูงสุด

เหรียญ เทเธอร์ (Tether) อีกเหรียญคริปโตที่มีความผันผวนในด้านราคาที่ต่ำมาก โดยมีการผูกมูลค่ากับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งยังได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบันจากการเป็นตัวกลางในการซึ่งจากเงินสดมาเป็นเทเธอร์ และนำไปแลกเป็นคริปโตอื่นๆ ได้ง่ายๆ และรวดเร็วสุด หรือการฝากเหรียญคู่ใน Pancake หรือ Uniswap ที่มีผลตอบแทนสูงอีกด้วยจากการที่คนมาใช้เยอะ

  • เหรียญเทเธอร์ ถูกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 2014 โดย Brock Pierce และผู้ร่วมอีก 2 คน โดยเดิมที มีโครงการชื่อว่า Realcoin ก่อนจะเปลี่ยนชื่อมาเป็น Tether หรือที่คนส่วนมากเรียกติดปากกันว่า USDT ในทุกวันนี้ 
  • จุดเด่นของเทเธอร์ คือการใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อยู่ในระบบในคลังด้วยอัตราส่วน 1:1 ต่อเหรียญที่ถูกสร้างขึ้นใหม่เสมอ มันจึงเป็นเหรียญที่มีความผันผวนน้อยกว่า Bitcoin และเหรียญคริปโตอื่นถึง 10 – 20% ต่อวัน

เหรียญ ได คริปโตที่ไม่ได้ผูกมูลค่ากับสกุลเงินใด

เหรียญ ได (Dai) อีกคอยน์ที่ไม่ได้ผูกมูลค่ากับสกุลเงินหรือสิ่งค้าโภคภัณฑ์ใดๆ แต่ใครหลายๆ คนรู้จักดีในโลกของ DeFi ซึ่งเป็นเหรียญที่ใช้หลบภัยในวันที่มีความผันผวนสูงๆ และยังถูกยอมรับจากนักเทรดรุ่นใหม่ได้พอๆ กับ Tether เลย ซึ่ง DAI เป็นคริปโตที่มีมูลค่าตลาดรวมสูงสุดเป็นอันดับ 4 ของโลกไปแล้ว [3]

  • ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี 2017 จาก Rune Christensen เจ้าของแพลตฟอร์ม DeFi อย่าง Maker หรือ MakerDAO โดยมีพื้นฐานการทำงานบนเครือข่ายของ Ethereum และกลายเป็นเหรียญที่นิยมกับในแอปการเงินกระจายอำนาจต่างๆ
  • ความน่าสนใจของเหรียญนี้คือ ควบคุมผ่านการทำงานของสัญญาอัจฉริยะหรือ เหรียญ สมาร์ทคอนแทกต์ เพื่อเพิ่มและลดของจำนวนเหรียญในระบบ ให้มูลค่าอยู่ที่ 1 ดอลลาร์ตลอดเวลา

เหรียญ เจอมินี่ ที่เปรียบตนเองเป็นเต่าที่เร็วที่สุด

เหรียญ เจอมินี่ (Germini) สเตเบิ้ลคอยน์ที่ได้ทำงานร่วมกับ Bitstamp, Bittrex และ bitFlyer USA ในขจัดการดำเนินการที่มีความไม่สุจริตต่างๆ อย่างการป้องกันการฉ้อโกง และการยักยอกต่างๆ โดยเป็นเหรียญที่ตรึงราคาโดยเงินดอลลาร์ และเป็นเหรียญแบบรวมศูนย์หรือ Centralized เป็นสเตเบิ้ลคอยน์รายแรกของโลก โดยมีการควบคุมจาก New York Department of Financial Services (NYDFS)

  • ถูกสร้างขึ้นโดย Gemini ในปี 2014 จากบริษัทแลกเปลี่ยนคริปโตที่ชื่อว่า Gemini และมีการออกตัวกลางในการใช้งานหรือแลกเปลี่ยนอย่าง GUSD ให้ซื้อขาย ได้อย่างสะดวก
  • จำนวนรวมของ GUSD ในระบบสามารถดูได้บนเครือข่ายได้อย่างโปร่งใสจากเทคโนโลยีบล็อกเชนที่ทำงานบน Ethereum ซึ่งจะมีการตรวจสอบโดย NYDFS เป็นประจำเพื่อความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และมีหน่วยงานรับผิดชอบ

ที่มา: What Is the Gemini Dollar (GUSD): The Ultimate Guide [4]

เหรียญ ดิจิกซ์โกลด์ คริปโตที่ค้ำด้วยทองคำ

เหรียญ ดิจิกซ์โกลด์ (Digix Gold) อีก Stablecoin น่าสนใจจากสิงคโปร์ ถึงแม้จะไม่ได้รับความสนใจมากก็ตาม โดยเป็นเหรียญที่อ้างอิงมูลค่าด้วยทองคำ มูลค่าของมันจึงอยู่ที่ 1 เหรียญต่อราคาทองคำ 1 กรัม และที่สำคัญผู้ที่ถึงเหรียญนี้หากมีการเก็บถึงขั้นต่ำก็สามารถนำไปแลกเป็นทองคำจริงๆ ได้ที่สิงคโปร์เลย

เหรียญกลุ่ม สเตเบิ้ลอื่นที่น่าจับตามอง

สรุป เหรียญกลุ่ม สเตเบิ้ล คริปโตที่มั่นคงมากที่สุด

เหรียญกลุ่ม สเตเบิ้ล

เหรียญที่นับว่ามีความผันผวนน้อยที่สุดในบรรดาเหรียญคริปโตทั้งหลาย และยังเป็นเหรียญที่ใช้เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนคริปโตมาเป็นเงิน หรือเป็นที่หลบภัย ในการโยกเปลี่ยนจากคริปโตอื่นๆ มาเป็นเหรียญกลุ่มนี้ได้อย่างรวดเร็วเวลาที่เหรียญนั้นๆ มีความผันผวนสูง โดยเหรียญกลุ่มนี้ก็ยังมีอีกหลายประเภทให้เลือกใช้งาน

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง