ราชาซอรัส ไดโนเสาร์กินเนื้อจากยุคครีเทเชียสตอนปลาย ในประเทศอินเดีย เป็นได้โนเสาร์กินเนื้อประเภท Abelisaurid ซึ่งถูกค้นพบจากชั้นหิน Lameta ในรัฐคุชราต ทางตะวันตกของประเทศอินเดีย สำหรับท่านใดที่รู้จักไดโนเสาร์กินเนื้อชื่อดัง อย่าง ไทแรนโนซอรัส เจ้าราชากิ้งก่าตัวนี้ ก็มีความเท่ไม่แพ้กัน
ราชาซอรัส (Rajasaurus) ชื่อของมันแปลว่า กิ้งก่าราชา หรือกิ้งก่าเจ้าป่า ซึ่งเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ไดโนเสาร์กินเนื้อ ดำรงชีวิตอยู่ในช่วงยุคครีเทเชียสตอนปลาย และเป็นหนึ่งในสายพันธุ์เดียวกันกับ Rajasaurus narmadensis ซึ่งการค้นพบโครงกระดูก ขุดเจอในชั้นหินลาเมต้า ในรัฐ Gujarat ทางตะวันตกของประเทศอินเดีย
ไดโนเสาร์สายพันธุ์นี้อาศัยอยู่ในบริเวณหุบเขาแม่น้ำ Narmada โดยนักบรรพชีวินวิทยา เจฟฟรีย์ เอ. วิลสัน (Jeffrey A. Wilson) พร้อมกับเพื่อนร่วมงานของเขา ได้อธิบายการค้นพบโครงกระดูกอย่างเป็นทางการ ในปี 2003 ซึ่งประกอบไปด้วยโครงกระดูกส่วนกะโหลกศีรษะ, กระดูกสันหลัง, ขา, หาง และกระดูกสะโพก
ประเทศอินเดียในช่วงเวลานั้น ยังมีภูมิภาคเป็นเกาะ เนื่องจากการแตกตัวของมหาทวีป กอนด์ วานา ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะมีสัตว์ต่างๆ อาศัยอยู่ และยังพบร่องรอยการอพยพไปมาระหว่างทวีปใกล้เคียง และได้มีการสร้างตระกูลของสายพันธุ์ไดโนเสาร์ Majungasaurinae และยังมีการกำเนิดไดโนเสาร์อีกหลากหลายสายพันธุ์ [1]
สำหรับการค้นพบครั้งแรก ซึ่งถูกพบในชั้นหินลาเมต้า ในปี 1981 โดยนักธรณีวิทยา จากสำนักงานสำรวจธรณีวิทยาของประเทศอินเดีย (GSI) หลังจากที่ได้รับโครงสร้างของหินปูน ได้ยอมรับว่าเป็นไข่ของไดโนเสาร์ โดยมาจากการขุดเจอของคนงานเหมืองหินซีเมนต์ ในหมู่บ้าน Rahioli ซึ่งใกล้กับเมือง Balasinor
ซึ่งซากโครงกระดูกของไดโนเสาร์ ราชาซอรัส ถูกพบในชั้นหินปูนที่อุดมไปด้วยฟอสซิล นักธรณีวิทยา สุเรช ศรีวัทวา (Suresh Srivastava) ได้กำหนดเส้นทางการขุดสองทางแยกในปี 1985-1983 โครงการขุดหาซากฟอสซิลครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนจาก Panjab University และเข้าร่วมการศึกษาเพื่อสร้างซากที่ขุดขึ้นมาใหม่
สำหรับชื่อ Rajasaurus มาจากคำภาษาสันสกฤต ซึ่งคำว่า Raja หมายถึง “ราชา หัวหน้า หรือผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด” และคำว่า sauros โดยเป็นคำภาษากรีกโบราณ แปลว่า “กิ้งก่า” และไดโนเสาร์ของประเทศอินเดีย คาดว่าจะสูญพันธุ์ไปแล้วเมื่อประมาณ 350,000 ล้านปี ก่อนเหตุการณ์สูญพันธุ์ครั้งใหญ่ ในช่วงปลายยุคครีเทเชียส [2]
รายละเอียดเพิ่มเติม
ที่มา: Dinosaur Facts [3]
สำหรับการดำรงชีวิตของ ราชาซอรัส หรือกิ้งก่าเจ้าป่า พวกมันเป็นนักล่าที่น่าเกรงขามโดยกำเนิด ซึ่งพวกมันออกล่าเหยื่อ หรือไดโนเสาร์ชนิดอื่นๆ กินเป็นอาหาร ขากรรไกรอันทรงพลังของมัน พร้อมกับฟันที่แหลมคม เหมาะแก่การฉีกเนื้อ แถมพวกมันยังใช้ขาหลังและหาง เพื่อรักษาสมดุลในการเคลื่อนไหว และมีความรวดเร็ว
คาดว่าไดโนเสาร์สายพันธุ์นี้ มักจะมาอาศัยอยู่บริเวณพื้นที่ป่า และทุ่งหญ้า เพราะมีสัตว์หลากหลายชนิด ลำตัวที่แข็งแรง และขาที่มีพละกำลังยอดเยี่ยม บ่งบอกว่ามันสามารถวิ่งได้เร็ว ไล่ล่าเหยื่อได้เร็วในระยะเวลาอันสั้น และพวกมันอาจอยู่รวมกันเป็นฝูง หรือกลุ่มเล็กๆ เช่นเดียวกับไดโนเสาร์ตระกูลเดียวกัน อย่าง คาร์โนทอรัส
สำหรับรูปแบบการนอนของพวกมัน ยังไม่มีข้อมูลปรากฏที่แน่ชัด แต่เชื่อกันว่ามันนอนหลับในช่วงเวลากลางวัน หมายความว่าพวกมันตื่นตัวในช่วงเวลากลางคืน สมมติฐานมาจากดวงตาที่ค่อนข้างใหญ่ ซึ่งจะช่วยให้พวกมันมองเห็นได้ดี และพวกมันจะหลบในพุ่มไม้ที่หนาทึบ เพื่อพักผ่อนหรือปกป้องตัวเองจากนักล่า [4]
เชื่อว่าพวกมันมีวิวัฒนาการในพื้นที่ของประเทศอินเดีย ในยุคที่ทวีปยังไม่แยกออกจากกัน นักบรรพชีวินวิทยาหลายท่านจึงเชื่อว่า พวกมันมีความเกี่ยวข้องกับการวิวัฒนาการกับไดโนเสาร์ตระกูล Abelisauridae ในทวีปแอฟริกา เช่น มาจุงกาซอรัส จากมาดากัสการ์ และคาร์โนทอรัส จากอเมริกาใต้
สำหรับการค้นพบ ราชาซอรัส (Rajasaurus) มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะฟอสซิลไดโนเสาร์ในเอเชียใต้ ไม่ค่อยมีการค้นพบ หรือไม่ค่อยมีความสมบูรณ์มากนัก แต่นักวิทยาศาสตร์อินเดีย และชาวต่างชาติ สามารถร่วมมือกันในการศึกษาชิ้นส่วน ที่ขุดพบจากเขตคุชราต และในปี 2003 ยืนยันได้ว่าเป็นสปีชีส์ของไดโนเสาร์ตัวนี้
พวกมันเป็นไดโนเสาร์เนื้อ ที่อยู่บนจุดสูงสุดของห่วงโซ่อาหารในภูมิภาคเอเชียใต้ และยังเป็นตัวอย่างสำคัญ ที่ยืนยันการแพร่กระจายของไดโนเสาร์ตระกูล Abelisauridae ที่พบได้ทั้งในประเทศอินเดีย และแอฟริกา มันเป็นสายพันธุ์ไดโนเสาร์ที่น่าสนใจ ซึ่งมีข้อมูลเชิงลึกที่หลากหลาย และมีความซับซ้อน