พาไปรู้จัก คาร์โนทอรัส เจ้าวัวกินเนื้อแห่งยุคครีเทเซียส

คาร์โนทอรัส

คาร์โนทอรัส เป็นหนึ่งในไดโนเสาร์ประเภทกินเนื้อ หรืออีกชื่อเรียกว่า วัวกินเนื้อ ที่ดำรงชีวิตอยู่ในช่วงยุคครีเทเซียสตอนปลาย และเป็นไดโนเสาร์จากซีกโลกใต้ ที่มนุษย์รู้จักกันมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการรับชมผ่านทางภาพยนตร์ หรือการรับชมผ่านทางสารคดี เราจะพาผู้อ่านไปรู้จักไดโนเสาร์กินเนื้อสายพันธุ์นี้

ข้อมูล คาร์โนทอรัส ประวัติศาสตร์การค้นพบของเจ้าวัวกินเนื้อ

คาร์โนทอรัส (Carnoraurus) หนึ่งในสายพันธุ์ไดโนเสาร์กินเนื้อจากทางซีกโลกใต้ ซึ่งเป็นสายพันธุ์เดียวกับ Carnotaurus Sastrei มีการค้นพบซากโครงกระดูกที่มีความสมบูรณ์แบบกว่า 70% จึงทำให้นักบรรพชีวินวิทยาหลายท่าน มีความรู้เกี่ยวกับเจ้าไดโนเสาร์ตัวนี้ ส่วนใหญ่จะค้นพบที่รัฐชูบุต ประเทศอาร์เจนตินา ทวีปอเมริกาใต้

รีวิว การจัดตระกูลและลักษณะเด่นที่เห็นได้ชัด

การค้นที่ในปี 1984 ซึ่งถูกจัดในหมวดหิน La Colonia Formation ตระกูลไดโนเสาร์เทอโรพอตขนาดกลาง ไปจนถึงขนาดใหญ่ ซึ่งลักษณะเด่นของไดโนเสาร์ตระกูลนี้ จะมีขาหน้าที่เล็ก รูปร่างปราดเปรียวเหมาะสำหรับการออกวิ่ง แต่ด้วยลักษณะลำตัวที่สูงใหญ่และยาว จึงทำให้มันไม่สามารถเลี้ยวได้ทันที และอาจทำให้มันล้มลง

ลักษณะเด่นของเจ้าวัวกินเนื้อ จะมีความยาวของลำตัว 7.4-8 เมตร และมีน้ำหนักประมาณ 1.3-2.1 ตัน มีเขาสองข้างที่โดดเด่นอยู่บนหัว ซึ่งนักบรรพชีวินวิทยาหลายท่าน ได้ทำการศึกษาเขาของมัน แต่มีการสันนิษฐานว่า เขาของมันมีไว้เพื่อป้องกันตัว และใช้ในการหาคู่ และที่สำคัญคือพวกมันไม่มีขน [1]

สำหรับตระกูลของไดโนเสาร์นักล่า ไม่ได้มีแค่เจ้าไดโนเสาร์ตัวนี้เท่านั้น ทางผู้เขียนยังได้มีการเขียนบทความรีวิวไดโนเสาร์ประเภทนี้ สามารถคลิกเข้าไปดูบทความแนะนำได้ที่ ไดโนเสาร์กินเนื้อ

ข้อมูล ลักษณะทางกายภาพของคาร์โนทอรัส

  • กะโหลกศีรษะ : กะโหลกของมันมีความยาว 59.6 เซนติเมตร มีลักษณะที่สั้นและลึกกว่าไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ชนิดอื่น ปากกว้างแต่ไม่เรียวแหลม ขากรรไกรโค้งขึ้น และมีเขา 1 คู่ที่งอกออกมาอย่างโดดเด่น ซึ่งเขาคู่นี้ยื่นออกมาจากกระดูกหน้าผาก มีความหนาและเป็นทรงกรวย
  • กระดูกสันหลัง : ประกอบไปด้วยกระดูกส่วนหลังคอ 10 ชิ้น กระดูกส่วนหาง 12 ชิ้น และกระดูกเบนเหน็บ 6 ชิ้น กระดูกสันหลังและส่วนหางจะมีความโค้งเป็นรูปตัว S ส่วนใหญ่จะพบในตระกูลเทอโรพอตชนิดนี้ และยังมีความกว้างผิดปกติ โดยเฉพาะบริเวณฐาน
  • ขาหน้า : จะมีลักษณะสั้นกว่าไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่ชนิดอื่น ปลายแขนจะมีขนาดเพียงแค่หนึ่งในสี่ของต้นแขน ไม่มีกระดูกข้อมือ มีลักษณะนิ้วทั้งหมด 4 นิ้วแต่ติดกัน ไม่มีกรงเล็บ ไม่มีประโยชน์ในการจับเหยื่อ
  • ผิวหนัง : เป็นได้โนเสาร์เทอโรพอตตัวแรก ที่มีการค้นพบรอยประทับบนผิวหนัง ผิวหนังส่วนใหญ่จะมีความสอดคล้องกับส่วนหน้าของหาง ผิวหนังเป็นร่อง หลุม และช่องเปิดเล็กๆ ที่พบเห็นได้ตรงด้านข้างของลำตัว และด้านหน้าของจมูก มีเกล็ดแบนเหมือนผิวหนังของจระเข้
  • เกล็ดบนผิวหนัง : มีลักษณะเป็นเหลี่ยมไม่ทับซ้อนกัน มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-12 มิลลิเมตร เกล็ดเหล่านี้จะถูกแบ่งเป็นร่องบางๆ เกล็ดพวกนี้สามารถปกป้องพวกมันจากศัตรู มีข้อสันนิษฐานว่า เกล็ดพวกนี้ ไม่มีรูปร่างที่ชัดเจน มีทั้งรูปวงกลม ไปจนถึงรูปเลนส์ในบริเวณหน้าอก สะบัก และหาง

ที่มา: Carnotaurus [2]

คาร์โนทอรัส ไดโนเสาร์กินเนื้อสุดแปลก และการค้นพบซากฟอสซิล

คาร์โนทอรัส

สำหรับเจ้าวัวกินเนื้อ หรือ คาร์โนทอรัส เป็นไดโนเสาร์เทอโรพอตสกุลอะเบลิซอรัส ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว พวกมันอาศัยอยู่ในประเทศอาร์เจนตินา ในช่วงปลายยุคครีเทเซียส เป็นหนึ่งในประเภทไดโนเสาร์กินเนื้อสุดแปลก แต่อันตรายมากที่สุด เท่าที่มนุษย์ได้มีการค้นพบ เราจะพาผู้อ่านไปดูพฤติกรรม และการค้นพบซากฟอสซิล

ศึกษาพฤติกรรม และการเจริญเติบโตของเจ้าวิวกินเนื้อ

ระหว่างที่ภูเขาไฟปะทุ พวกมันแสดงพฤติกรรมที่ก้าวร้าว ซึ่งอาจจะเกิดจากความหิวในระดับที่สูง มีแนวโน้มที่พวกมันจะออกล่าอาหาร รวมไปถึงเนื้อของมนุษย์ ความหิวของมันสามารถโจมตีเหยื่อที่มีขนาดใหญ่ เช่น ซิโนเซอราทอปส์ แต่ก่อนที่มันจะกระโจนเข้าหาเหยื่อ มักจะระแวงนักล่าขนาดใหญ่กว่าพวกมันอยู่เสมอ [3]

หลังจากที่เพิ่งออกจากไข่ มันจะเริ่มต้นที่มีหัวขนาดที่ใหญ่ เมื่อเทียบกับลำตัวของมัน ขากรรไกรที่ยังไม่มีการพัฒนา ส่วนขามีความแข็งแรง สามารถออกวิ่งได้ตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ผิวหนังและเกล็ดที่ยังไม่มีความเด่นชัด ถึงแม้จะไม่ทราบอัตราการเติบโตที่แน่ชัด แต่มันใช้เวลา 9-10 ปี ในการพัฒนาร่างกายโตเต็มวัย

สำหรับการแบ่งเพศ จะมีความแตกต่างกัน 2 แบบ ตัวผู้จะมีสีผิวหนังเข้มกว่า ตัวเมียจะมีลวดลายที่อ่อนกว่า อาจจะเป็นไปได้ว่าไม่มีความแตกต่างทางเพศ เช่นเดียวกับเพนกวิน เพศผู้บางตัวจะมีสีคล้ายกับเพศเมีย ซึ่งทำให้พวกมันสามารถหลบหนีสายตาเพศผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่า และไม่ถูกตรวจสอบในช่วงฤดูผสมพันธุ์ [4]

ข้อมูล การค้นพบซากฟอสซิลไดโนเสาร์กินเนื้อมีเขา

ในปี พ.ศ. 2527 นักบรรพชีวินวิทยาชาวอาร์เจนตินา โฮเซ โบนาพาร์ต ได้มีการค้นพบซากฟอสซิลของได้โนเสาร์ชนิดหนึ่ง ในภูมิภาคปาตาโกเนีย จังหวัดซูบุต ซึ่งได้มีการตั้งชื่อซากฟอสซิลนี้ว่า Carnotaurus sastrei เพราะว่ามันมีลักษระที่แปลกของหัวกะโหลกศีรษะ ซึ่งมันมีนอขนาดใหญ่

ซากฟอสซิลของคาร์โนทอรัส พร้อมกับแผ่นหนังที่มีเกล็ดของมัน ถึงแม้ว่านักบรรพชีวินวิทยาจะรู้ว่า อาจจะเป็นไดโนเสาร์มีเกล็ดประเภทอื่น แต่นี่ก็คือซากฟอสซิลไดโนเสาร์กินเนื้อตัวแรก ที่มีการค้นพบซากกระดูกพร้อมกับผิวหนัง ทีมวิจัย ดร.คริสตอฟ เฮนดริกซ์ เผยว่า จากการดูผิวหนังของมัน พบว่ามีความหลากหลาย

ทีมวิจัยเผยว่า ไดโนเสาร์ชนิดนี้มีขนาดยาว 8 เมตร แตกต่างจากการค้นพบไดโนเสาร์มีขนเหมือนนกในจีน เพราะพวกมันมีเกล็ดทั้งตัว แต่ไม่มีหลักฐานที่ชี้ว่ามีขน พวกมันเป็นนักล่าที่ปราดเปรียว และผิวหนังที่เป็นเกล็ดของมัน ซึ่งมีความสำคัญต่อการควบคุมอุณหภูมิภายในร่างกาย เช่นเดียวกับสัตว์เลื้อยคลานในปัจจุบัน [5]

สรุป คาร์โนทอรัส

โดยรวมแล้ว ถือว่าเป็นไดโนเสาร์ที่มีความน่าสนใจ ในด้านของการศึกษาวิวัฒนาการ ของไดโนเสาร์กินเนื้อ นอกจากโครงสร้างที่มีความโดดเด่น แต่มันยังเป็นไดโนเสาร์ที่มีรูปลักษณ์พิเศษ และในปัจจุบัน ยังมีการนำมาใช้ในการสร้างภาพยนตร์ชื่อดัง และสื่อบันเทิงอีกมากมายหลายเรื่อง

Facebook
Twitter
Telegram
LinkedIn
ข้อมูลผู้เขียน

แหล่งอ้างอิง